เคาะแล้ว! งบกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ กว่า 1.8 แสนล้านบาท หลังบอร์ด สปสช.มีมติรวมเงินเดือนและค่าตอบแทน รพ.สธ.เป็น 100% เตรียมเสนอ ครม.26 มี.ค.นี้ ยันไม่กระทบงบค่ารายหัวบัตรทอง ชี้ช่วยให้รู้ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง
วันนี้ (25 มี.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) พิจารณาเรื่องข้อเสนองบประมาณในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่า ที่ประชุมมีมติให้มีการเพิ่มรายการ “งบเพิ่มเติมด้านค่าแรงของหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข” ในข้อเสนองบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2557 เพิ่มอีก 3 รายการ ได้แก่ 1.เงินเดือนนอกระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัด สธ.จำนวน 29,186.98 ล้านบาท 2.เงินเดือนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของหน่วยบริการในสังกัดกรมอนามัย กรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต กรมควบคุมโรค (จำนวน 24 แห่ง จากทั้งสิ้น 60 แห่ง) 765.74 ล้านบาท และ 3.ค่าตอบแทนส่วนเพิ่มแทนประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 4 6 และ 7 หรือค่าตอบแทนตามภาระงาน (P4P : Pay for Performance) จำนวน 3,000 ล้านบาท รวมแล้ว 32,952.72 ล้านบาท ทำให้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2557 ที่เคยขอไว้ที่จำนวน 156,766.83 ล้านบาท กลายเป็น 189,719.55 ล้านบาท ซึ่งรวมสัดส่วนเดิมที่ สธ.เป็นผู้รับผิดชอบร้อยละ 40 และสปสช.อีกร้อยละ 60
“ในส่วนของค่าตอบแทน P4P และพื้นที่ทุรกันดาร จำนวน 3,000 ล้านบาท จะให้ สปสช.เสนอขอพ่วงกับงบกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ทุกปี เพราะเดิมทีเป็นงบที่จ่ายโดยโรงพยาบาลหรือเงินบำรุง ซึ่งหลายครั้งไม่เพียงพอ ทำให้ สธ.ต้องเสนอของบประมาณจากสำนักงบฯเพิ่มเติม ซึ่งดำเนินการขอมาแล้ว 3 ปี จึงเปลี่ยนให้นำงบค่าตอบแทนและงบเงินเดือนที่ สธ.เคยขอมารวมไว้กับ สปสช.ให้หมด ซึ่งจะช่วยให้การเสนอของบประมาณเป็นไปอย่างสะดวกและมีความมั่นคงต่อเนื่องทุกปี” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า การโอนงบเงินเดือนให้ สปสช.ดูแล 100% พ่วงกับงบค่าตอบแทนนั้นจะไม่ส่งผลกระทบต่องบเหมาจ่ายรายหัว เพราะเป็นคนละส่วนกับงบกองทุนสุขภาพฯ ซึ่งแบ่งเป็นงบเหมาจ่ายรายหัว งบบริการสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ งบผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง งบควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง และงบบริการเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยบริการ โดยงบเหมาจ่ายรายหัวที่จะเสนอในปี 2557 จะอยู่ที่ 2,956 บาทต่อคน เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ที่ได้รับ 2,756 บาทต่อคน โดยเพิ่มขึ้นตกหัวละ 200 บาท หรือร้อยละ 7.3 คาดว่าจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 26 มี.ค.นี้
วันนี้ (25 มี.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) พิจารณาเรื่องข้อเสนองบประมาณในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่า ที่ประชุมมีมติให้มีการเพิ่มรายการ “งบเพิ่มเติมด้านค่าแรงของหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข” ในข้อเสนองบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2557 เพิ่มอีก 3 รายการ ได้แก่ 1.เงินเดือนนอกระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัด สธ.จำนวน 29,186.98 ล้านบาท 2.เงินเดือนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของหน่วยบริการในสังกัดกรมอนามัย กรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต กรมควบคุมโรค (จำนวน 24 แห่ง จากทั้งสิ้น 60 แห่ง) 765.74 ล้านบาท และ 3.ค่าตอบแทนส่วนเพิ่มแทนประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 4 6 และ 7 หรือค่าตอบแทนตามภาระงาน (P4P : Pay for Performance) จำนวน 3,000 ล้านบาท รวมแล้ว 32,952.72 ล้านบาท ทำให้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2557 ที่เคยขอไว้ที่จำนวน 156,766.83 ล้านบาท กลายเป็น 189,719.55 ล้านบาท ซึ่งรวมสัดส่วนเดิมที่ สธ.เป็นผู้รับผิดชอบร้อยละ 40 และสปสช.อีกร้อยละ 60
“ในส่วนของค่าตอบแทน P4P และพื้นที่ทุรกันดาร จำนวน 3,000 ล้านบาท จะให้ สปสช.เสนอขอพ่วงกับงบกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ทุกปี เพราะเดิมทีเป็นงบที่จ่ายโดยโรงพยาบาลหรือเงินบำรุง ซึ่งหลายครั้งไม่เพียงพอ ทำให้ สธ.ต้องเสนอของบประมาณจากสำนักงบฯเพิ่มเติม ซึ่งดำเนินการขอมาแล้ว 3 ปี จึงเปลี่ยนให้นำงบค่าตอบแทนและงบเงินเดือนที่ สธ.เคยขอมารวมไว้กับ สปสช.ให้หมด ซึ่งจะช่วยให้การเสนอของบประมาณเป็นไปอย่างสะดวกและมีความมั่นคงต่อเนื่องทุกปี” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า การโอนงบเงินเดือนให้ สปสช.ดูแล 100% พ่วงกับงบค่าตอบแทนนั้นจะไม่ส่งผลกระทบต่องบเหมาจ่ายรายหัว เพราะเป็นคนละส่วนกับงบกองทุนสุขภาพฯ ซึ่งแบ่งเป็นงบเหมาจ่ายรายหัว งบบริการสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ งบผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง งบควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง และงบบริการเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยบริการ โดยงบเหมาจ่ายรายหัวที่จะเสนอในปี 2557 จะอยู่ที่ 2,956 บาทต่อคน เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ที่ได้รับ 2,756 บาทต่อคน โดยเพิ่มขึ้นตกหัวละ 200 บาท หรือร้อยละ 7.3 คาดว่าจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 26 มี.ค.นี้