แพทย์ชนบทชี้ “หมอประดิษฐ” เล็งตั้ง คกก.พัฒนานโยบายสสาธารณสุขแห่งชาติ เป็นการครอบงำการทำงานขององค์กรอิสระตระกูล ส.ทั้ง สสส. สปสช. สพฉ. สช.จวกมีพฤติกรรมล้มโครงสร้างกระทรวง และทำร้ายประชาชน ด้าน รมช.สธ.ป้องเป็นการปรับให้เข้าที่เข้าทาง ชี้ทำหน้าที่คล้าย ครม.เศรษฐกิจ เอื้ให้คลอดนโยบายได้เร็วกว่า คสช. เพราะทำหน้าที่แทน ครม.
วันนี้ (14 มี.ค.) นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวถึงกรณี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้า เพื่อตั้งคณะกรรมการพัฒนานโยบายสาธารณสุขแห่งชาติ ที่จะมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในการกำหนดทิศทางนโยบาย สธ.และกลั่นกรองเรื่องต่างๆ ทั้งจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ซึ่ง นพ.ประดิษฐ ย้ำว่าไม่มีการยุบรวมแน่นอน แต่จะทำให้มีทิศทางมากขึ้นว่า ว่า การตั้งคณะกรรมการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพในอนาคตอย่างแน่นอน เพราะเดิมที สช. สปสช. สสส. ฯลฯ ล้วนทำงานอย่างเป็นอิสระและมีกฎหมายเป็นของตัวเอง ที่สำคัญแต่ละองค์กรมีหน้าที่แตกต่างกัน เป็นการทำงานเสริม สธ.ที่เดิมไม่สามารถทำได้ แต่เมื่อมีการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมา เป็นคณะกรรมการใหญ่ที่ครอบการทำงานขององค์กรอิสระเหล่านี้ จึงเป็นการรุกคืบของการแทรกแซงอำนาจหน้าที่ อีกทั้งมีแนวโน้มจะมอบให้รองปลัด สธ.มาดูแลเรื่องนี้ หรือพูดง่ายๆ คือ คณะกรรมการชุดดังกล่าว เปรียบเสมือน สธ. ส่วนองค์กรอิสระ ทั้ง สสส. สปสช.ฯลฯ ต้องอยู่ภายใต้คณะกรรมการชุดนี้ ทำให้จากนี้ไปการจะออกมาตรการ หรือแนวคิดเพื่อสิทธิประโยชน์ของประชาชน หรือแนวทางส่งเสริมสุขภาพต่างๆ จะไม่เป็นอิสระอีก เพราะหากคณะกรรมการฯไม่เห็นด้วย ทุกอย่างก็จบ
“การทำลักษณะนี้เป็นการเตรียมการตลอด ทั้งการเพิ่มตำแหน่งรองเลขาธิการ สปสช.อีก 2 อัตรา ทั้งที่แทบไม่จำเป็น ที่สำคัญเป็นการดึงคนนอกเข้ามา ทำลายธรรมาภิบาลองค์กร ที่สำคัญยังมีการวางคนไว้มากมาย ทั้งคนหนึ่งกำลังอยู่ในการสรุปคดีกับป.ป.ช.เรื่องคอมพิวเตอร์ 900 ล้านบาท อีกคนก็มีปัญหาถูกมหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงเรื่องการลอกวิทยานิพนธ์ จากพฤติกรรม นพ.ประดิษฐ จึงส่อไปในทางล้มโครงสร้างของกระทรวง และทำร้ายประชาชน เช่น สั่งเก็บเงิน 30 บาทรักษาโรค และเพิ่มราคาค่าบริการสาธารณสุข” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การตั้งคณะกรรมการดังกล่าวทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่า รมว.สาธารณสุข จะยุบตระกูล ส. แต่จริงๆ แล้วต้องการปรับให้ทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง เนื่องจากข้อเท็จจริงองค์กรอิสะต่างๆ ที่ตั้งขึ้นมาจะมี พ.ร.บ.เป็นของตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์ ส่งเสริมการทำงานให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ไม่ใช่เป็นอิสระแบบอยากทำอะไรก็ทำ ส่วนที่หลายคนมองว่า การตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่จะซ้ำคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ข้อเท็จจริงแตกต่างกันมาก โดยคสช. เป็นเหมือนคณะกรรมการที่ให้คำปรึกษา มีข้อเสนอก็ส่งต่อครม. ซึ่งกว่าจะผ่านค่อนข้างใช้เวลา บางครั้งก็ไม่เห็นผล แต่คณะกรรมการใหม่จะตัดปัญหานี้ และทำหน้าที่พิจารณาแทน ครม. โดยจะทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น เรียกว่าทำหน้าที่คล้ายๆ ครม.เศรษฐกิจนั่นเอง
วันนี้ (14 มี.ค.) นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวถึงกรณี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้า เพื่อตั้งคณะกรรมการพัฒนานโยบายสาธารณสุขแห่งชาติ ที่จะมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในการกำหนดทิศทางนโยบาย สธ.และกลั่นกรองเรื่องต่างๆ ทั้งจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ซึ่ง นพ.ประดิษฐ ย้ำว่าไม่มีการยุบรวมแน่นอน แต่จะทำให้มีทิศทางมากขึ้นว่า ว่า การตั้งคณะกรรมการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพในอนาคตอย่างแน่นอน เพราะเดิมที สช. สปสช. สสส. ฯลฯ ล้วนทำงานอย่างเป็นอิสระและมีกฎหมายเป็นของตัวเอง ที่สำคัญแต่ละองค์กรมีหน้าที่แตกต่างกัน เป็นการทำงานเสริม สธ.ที่เดิมไม่สามารถทำได้ แต่เมื่อมีการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมา เป็นคณะกรรมการใหญ่ที่ครอบการทำงานขององค์กรอิสระเหล่านี้ จึงเป็นการรุกคืบของการแทรกแซงอำนาจหน้าที่ อีกทั้งมีแนวโน้มจะมอบให้รองปลัด สธ.มาดูแลเรื่องนี้ หรือพูดง่ายๆ คือ คณะกรรมการชุดดังกล่าว เปรียบเสมือน สธ. ส่วนองค์กรอิสระ ทั้ง สสส. สปสช.ฯลฯ ต้องอยู่ภายใต้คณะกรรมการชุดนี้ ทำให้จากนี้ไปการจะออกมาตรการ หรือแนวคิดเพื่อสิทธิประโยชน์ของประชาชน หรือแนวทางส่งเสริมสุขภาพต่างๆ จะไม่เป็นอิสระอีก เพราะหากคณะกรรมการฯไม่เห็นด้วย ทุกอย่างก็จบ
“การทำลักษณะนี้เป็นการเตรียมการตลอด ทั้งการเพิ่มตำแหน่งรองเลขาธิการ สปสช.อีก 2 อัตรา ทั้งที่แทบไม่จำเป็น ที่สำคัญเป็นการดึงคนนอกเข้ามา ทำลายธรรมาภิบาลองค์กร ที่สำคัญยังมีการวางคนไว้มากมาย ทั้งคนหนึ่งกำลังอยู่ในการสรุปคดีกับป.ป.ช.เรื่องคอมพิวเตอร์ 900 ล้านบาท อีกคนก็มีปัญหาถูกมหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงเรื่องการลอกวิทยานิพนธ์ จากพฤติกรรม นพ.ประดิษฐ จึงส่อไปในทางล้มโครงสร้างของกระทรวง และทำร้ายประชาชน เช่น สั่งเก็บเงิน 30 บาทรักษาโรค และเพิ่มราคาค่าบริการสาธารณสุข” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การตั้งคณะกรรมการดังกล่าวทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่า รมว.สาธารณสุข จะยุบตระกูล ส. แต่จริงๆ แล้วต้องการปรับให้ทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง เนื่องจากข้อเท็จจริงองค์กรอิสะต่างๆ ที่ตั้งขึ้นมาจะมี พ.ร.บ.เป็นของตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์ ส่งเสริมการทำงานให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ไม่ใช่เป็นอิสระแบบอยากทำอะไรก็ทำ ส่วนที่หลายคนมองว่า การตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่จะซ้ำคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ข้อเท็จจริงแตกต่างกันมาก โดยคสช. เป็นเหมือนคณะกรรมการที่ให้คำปรึกษา มีข้อเสนอก็ส่งต่อครม. ซึ่งกว่าจะผ่านค่อนข้างใช้เวลา บางครั้งก็ไม่เห็นผล แต่คณะกรรมการใหม่จะตัดปัญหานี้ และทำหน้าที่พิจารณาแทน ครม. โดยจะทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น เรียกว่าทำหน้าที่คล้ายๆ ครม.เศรษฐกิจนั่นเอง