คนไทยป่วย 5 โรคเรื้อรังเกือบ 15 ล้านคน สธ.ห่วงชนบทหลงเชื่อใช้ยาลูกกลอนสมุนไพรผสมสเตียรอยด์ ย้ำผู้ป่วยเบาหวาน ความดันห้ามกินบรรเทาอาการเด็ดขาด เสี่ยงตายไว ชี้สกัดฤทธิ์ยาควบคุมอาการของแพทย์ เอื้อร่างกายติดเชื้อ หยุดยากระทันหันอาจช็อกได้
วันนี้ (21 มี.ค.) ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กทม. นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดงานมหกรรมสุขภาพเครือข่ายบริการสุขภาพใน 8 จังหวัดภาคตะวันออก เพื่อพัฒนารูปแบบและนวัตกรรมการป้องกันและควบคุมจำนวนการป่วยจากโรคไม่ติดต่อ ว่า โรคไม่ติดต่อเป็นอุปสรรคในการพัฒนาระบบสุขภาพที่ต้องเร่งแก้ไข ซึ่งจากการตรวจสุขภาพคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปในปี 2551-2552 พบคนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 10 ล้านคน เบาหวาน 3.2 ล้านคน โรคหลอดเลือดหัวใจ 6.9 แสนคน โรคหลอดเลือดสมอง 7.3 แสนคน และโรคถุงลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง 2.7 แสนคน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมาก และหากควบคุมอาการไม่ได้จะเกิดโรคแทรกตามมา อาจร้ายแรงจนเสียชีวิตหรือพิการ โดยปี 2556 สธ.ได้พัฒนาระบบบริการสุขภาพทั่วประเทศ 4 ด้านคือ 1.จัดตั้งคลินิกโรคไม่ติดต่อในโรงพยาบาลทุกแห่ง พัฒนาคุณภาพเพื่อควบคุมอาการผู้ป่วย 2.จัดระบบตรวจคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และตรวจภาวะแทรกซ้อน เพื่อการรักษาที่เหมาะสม 3.ลดคิวรอคอย กระจายคลินิกบริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่คุมอาการได้ ให้ไปที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน และ 4.รณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง 4 เรื่องคือ การออกกำลังกาย การลดอาหารหวาน มัน เค็ม การลดอารมณ์ความเครียด และการงดดื่มสุราไม่สูบบุหรี่
ด้าน นพ.ธวัชชัย กมลธรรม ผู้ตรวจราชการ สธ.กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์โรคไม่ติดต่อในแถบ 8 จังหวัดภาคตะวันออกในปี 2554 มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลกว่า 1.4 แสนราย มากสุดคือโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีแนวโน้มพบในคนอายุน้อยลงเรื่อยๆ ที่น่าห่วงคือผู้ป่วยในชนบทมักตกเป็นเหยื่อการโฆษณายาลูกกลอนสมุนไพรที่ลักลอบขายในลักษณะรถเร่ หรือมีการแอบอ้างตัวว่าเป็นหมอพื้นบ้าน โดยยาจำพวกนี้มักใส่สารสเตียรอยด์ซึ่งเป็นสารห้ามใช้ และอ้างสรรพคุณเกินจริงว่าสามารถรักษาได้สารพัดโรค ทั้งเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง ปวดเมื่อย ทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือมีอาการปวดเรื้อรังรักษาไม่หาย ที่สำคัญในชนบทหากใครมีอาการป่วยเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน เมื่อไปกินยาแล้วอาการดีขึ้นจะมีความเชื่อ บอกต่อ และกินตามกัน ซึ่งถืออันตรายมาก เพราะเมื่อกินยาผสมสเตียรอยด์ระยะแรกอาการจะหายเร็ว แต่ที่จริงมีอันตรายสูง หากกินต่อเนื่องอาจทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้
“ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานห้ามกินยาลูกกลอนดังกล่าวเด็ดขาด เพราะจะทำให้อาการแย่ลง หรือถึงแก่ชีวิตได้ เนื่องจากสเตียรอยด์จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ยาที่แพทย์ให้ไปจะออกฤทธิ์ลดน้ำตาลได้น้อยหรือไม่ได้ผล ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาเร็วขึ้น เช่น ไตวาย โรคหัวใจ ส่วนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หากกินยาเข้าไปจะทำให้ปัสสาวะลดลง เกิดอาการบวมฉุตามอวัยวะต่างๆ เช่น ใบหน้าจะบวมเป็นรูปวงพระจันทร์ มีโหนกขึ้นที่หลัง ผิวหนังทั้งตัวบางลง เมื่อกินไปนานๆ จะทำให้มีแผลในกระเพาะอาหาร มีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือดสูง เพราะสเตียรอยด์กดภูมิต้านโรคในร่างกาย เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย หากกินต่อเนื่องเป็นเวลานานและหยุดยากระทันหันจะทำให้เกิดภาวะช็อก เพราะต่อมหมวกไตไม่ทำงาน ซึ่งปัญหานี้เคยมีรายงานที่กาฬสินธุ์แล้ว ขอเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อโฆษณา หากพบการจำหน่ายยาลูกกลอนสมุนไพรในหมู่บ้าน ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านหรือ อสม.” นพ.ธวัชชัย กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในงาน นพ.ชลน่าน ยังได้มอบรถเข็นผู้พิการพระราชทาน ในพระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต มูลนิธิพัฒนาการเด็กราชนครินทร์, องค์กรโจนี แอนด์ เฟรนด์ ยูเอสเอ (Joni and Friends USA ) และบริษัทไอ ซี ซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ให้แก่ผู้พิการ จำนวน 100 คน เพื่อให้สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้
วันนี้ (21 มี.ค.) ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กทม. นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดงานมหกรรมสุขภาพเครือข่ายบริการสุขภาพใน 8 จังหวัดภาคตะวันออก เพื่อพัฒนารูปแบบและนวัตกรรมการป้องกันและควบคุมจำนวนการป่วยจากโรคไม่ติดต่อ ว่า โรคไม่ติดต่อเป็นอุปสรรคในการพัฒนาระบบสุขภาพที่ต้องเร่งแก้ไข ซึ่งจากการตรวจสุขภาพคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปในปี 2551-2552 พบคนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 10 ล้านคน เบาหวาน 3.2 ล้านคน โรคหลอดเลือดหัวใจ 6.9 แสนคน โรคหลอดเลือดสมอง 7.3 แสนคน และโรคถุงลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง 2.7 แสนคน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมาก และหากควบคุมอาการไม่ได้จะเกิดโรคแทรกตามมา อาจร้ายแรงจนเสียชีวิตหรือพิการ โดยปี 2556 สธ.ได้พัฒนาระบบบริการสุขภาพทั่วประเทศ 4 ด้านคือ 1.จัดตั้งคลินิกโรคไม่ติดต่อในโรงพยาบาลทุกแห่ง พัฒนาคุณภาพเพื่อควบคุมอาการผู้ป่วย 2.จัดระบบตรวจคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และตรวจภาวะแทรกซ้อน เพื่อการรักษาที่เหมาะสม 3.ลดคิวรอคอย กระจายคลินิกบริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่คุมอาการได้ ให้ไปที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน และ 4.รณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง 4 เรื่องคือ การออกกำลังกาย การลดอาหารหวาน มัน เค็ม การลดอารมณ์ความเครียด และการงดดื่มสุราไม่สูบบุหรี่
ด้าน นพ.ธวัชชัย กมลธรรม ผู้ตรวจราชการ สธ.กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์โรคไม่ติดต่อในแถบ 8 จังหวัดภาคตะวันออกในปี 2554 มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลกว่า 1.4 แสนราย มากสุดคือโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีแนวโน้มพบในคนอายุน้อยลงเรื่อยๆ ที่น่าห่วงคือผู้ป่วยในชนบทมักตกเป็นเหยื่อการโฆษณายาลูกกลอนสมุนไพรที่ลักลอบขายในลักษณะรถเร่ หรือมีการแอบอ้างตัวว่าเป็นหมอพื้นบ้าน โดยยาจำพวกนี้มักใส่สารสเตียรอยด์ซึ่งเป็นสารห้ามใช้ และอ้างสรรพคุณเกินจริงว่าสามารถรักษาได้สารพัดโรค ทั้งเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง ปวดเมื่อย ทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือมีอาการปวดเรื้อรังรักษาไม่หาย ที่สำคัญในชนบทหากใครมีอาการป่วยเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน เมื่อไปกินยาแล้วอาการดีขึ้นจะมีความเชื่อ บอกต่อ และกินตามกัน ซึ่งถืออันตรายมาก เพราะเมื่อกินยาผสมสเตียรอยด์ระยะแรกอาการจะหายเร็ว แต่ที่จริงมีอันตรายสูง หากกินต่อเนื่องอาจทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้
“ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานห้ามกินยาลูกกลอนดังกล่าวเด็ดขาด เพราะจะทำให้อาการแย่ลง หรือถึงแก่ชีวิตได้ เนื่องจากสเตียรอยด์จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ยาที่แพทย์ให้ไปจะออกฤทธิ์ลดน้ำตาลได้น้อยหรือไม่ได้ผล ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาเร็วขึ้น เช่น ไตวาย โรคหัวใจ ส่วนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หากกินยาเข้าไปจะทำให้ปัสสาวะลดลง เกิดอาการบวมฉุตามอวัยวะต่างๆ เช่น ใบหน้าจะบวมเป็นรูปวงพระจันทร์ มีโหนกขึ้นที่หลัง ผิวหนังทั้งตัวบางลง เมื่อกินไปนานๆ จะทำให้มีแผลในกระเพาะอาหาร มีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือดสูง เพราะสเตียรอยด์กดภูมิต้านโรคในร่างกาย เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย หากกินต่อเนื่องเป็นเวลานานและหยุดยากระทันหันจะทำให้เกิดภาวะช็อก เพราะต่อมหมวกไตไม่ทำงาน ซึ่งปัญหานี้เคยมีรายงานที่กาฬสินธุ์แล้ว ขอเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อโฆษณา หากพบการจำหน่ายยาลูกกลอนสมุนไพรในหมู่บ้าน ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านหรือ อสม.” นพ.ธวัชชัย กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในงาน นพ.ชลน่าน ยังได้มอบรถเข็นผู้พิการพระราชทาน ในพระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต มูลนิธิพัฒนาการเด็กราชนครินทร์, องค์กรโจนี แอนด์ เฟรนด์ ยูเอสเอ (Joni and Friends USA ) และบริษัทไอ ซี ซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ให้แก่ผู้พิการ จำนวน 100 คน เพื่อให้สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้