ทีดีอาร์ไอ เสนอจัดทดสอบมาตรฐานระดับชาติรูปแบบใหม่ใช้แทนโอเน็ต แนะให้ประเมินวิทยฐานะครูทุก 5 ปี เน้นให้เกิดความรับผิดชอบผลการสอบของเด็ก พร้อมเสนอลดบทบาทประเมินภายนอกของ สมศ.เพราะไม่เกิดผลลัพธ์ที่แท้จริง
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ทีดีอาร์ไอได้สรุปผลโครงการจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ ซึ่งสนับสนุนการจัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยกำหนดหัวใจการปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาด้านการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ 1.สร้างระบบการศึกษาที่มีความรับผิดชอบในทุกระดับ โดยเฉพาะระดับกระทรวง ผู้บริหารและครูที่จะต้องมีส่วนร่วมกับผลคะแนนที่ตกต่ำของเด็ก 2.ต้องปฏิรูปหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และ 3.ปรับวิธีการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษา เพราะงบประมาณด้านการศึกษาของไทยมีจำนวนมากแต่บริหารจัดการไม่ถูกต้องทำให้ไม่เกิดประโยชน์ พร้อมกันนี้ได้จัดทำข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมเพื่อการปฏิรูปให้เกิดพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเสนอให้มีการปฏิรูประบบการทดสอบมาตรฐาน เป็นการสอบรูปแบบใหม่เรียกว่า ลิเทอเรซี เบส เทสต์ (Literacy-based test) ให้เป็นการสอบระดับประเทศ ใช้แทนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต โดยผลการสอบดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการประเมินผลงานครู ผู้บริหาร และสถานศึกษา เป็นหลัก ส่วนการประเมินเพื่อวัดความรู้นักเรียนให้เน้นการสอบวัดความรู้ระดับโรงเรียน และการประเมินผลจากแฟ้มผลงานหรือโครงงานของนักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดผลว่านักเรียนมีความรู้ในเรื่องที่เรียนมากน้อยเพียงใด
ดร.สมเกียรติ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ทีมวิจัยทีดีอาร์ไอเสนอให้ปรับระบบการประเมินรายได้และวิทยฐานะครู โดยการปรับขั้นเงินเดือนให้ขึ้นกับพัฒนาการของผลการสอบมาตรฐานของนักเรียน จากเดิมที่การพัฒนาการสอบของเด็กมีผลต่อการขึ้นเงินเดือนครู คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ซึ่งน้อยเกินไป ทีมวิจัยเสนอว่าสัดส่วนดังกล่าวควรมีน้ำหนักอย่างน้อยเป็นครึ่งหนึ่งขององค์ประกอบในการขึ้นเงินเดือน พร้อมกันนี้ได้เสนอเพิ่มการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ โดยอาจเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ทุก 5 ปี และให้ครูมีความรับผิดชอบในการพัฒนาเพื่อนครู พัฒนาการสอน และพัฒนาการของผลการสอบนักเรียน ส่วนการพัฒนาระบบการประเมินผลสถานศึกษา เสนอให้ยกเลิกการประเมินภายนอกที่จัดทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพราะเห็นว่าไม่ได้ให้ข้อมูลที่แท้จริง เนื่องจากสถานศึกษาเข้าใจหลักการประเมินก็จะจัดทำเอกสารตามความต้องการผู้ประเมิน แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่การเรียนการสอน นอกจากนี้คำแนะนำที่ได้จากการประเมินภายนอกก็เป็นเพียงคำแนะนำกว้างๆ ดังนั้นจึงเสนอให้ สมศ.ทำหน้าที่เปลี่ยนจากการประเมินภายนอก ให้เข้าไปตรวจสอบเฉพาะโรงเรียนกลุ่มเสี่ยง เช่น โรงเรียนที่มีผลการเรียนแย่ลง หรือกรณีโรงเรียนมีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้าไปใช้ สมศ.ควรไปศึกษาว่าได้ผลดีหรือไม่ เป็นต้น ทั้งนี้ให้ใช้การประเมินภายในเป็นหัวใจหลักของการประเมินสถานศึกษา
“นอกจากนี้เราเสนอการปรับระบบการจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างความรับผิดชอบ และลดความเหลื่อมล้ำเป็นหลัก โดยที่ผ่านมามีหลักฐานชัดเจนว่าผลการเรียนของเด็กจะขึ้นอยู่กับเศรษฐานะของครอบครัว ส่วนใหญ่ถ้ามาจากครอบครัวที่มีฐานะก็จะมีผลการเรียนดี ดังนั้นจึงเสนอให้รัฐบาลสำรวจและอุดหนุนงบฯ ให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ยากจนมากขึ้นเพื่อให้เกิดความทัดเทียมกัน จากนั้นหากจุดตั้งต้นเท่ากันแล้วผลการเรียนยังไม่เท่ากัน ก็ต้องให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ” ดร.สมเกียรติ กล่าว
ดร.ภูมิศรันย์ ทองเลี่ยมนาค นักวิจัยโครงการจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ทีมวิจัยเสนอรูปแบบการทดสอบมาตรฐานซึ่งเป็นการสอบโดยประยุกต์เนื้อหาหลากหลายวิชา และเน้นทักษะการนำไปใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น ต่างจากการสอบรูปแบบเดิมๆ ที่เน้นการท่องจำและทำตามบทเรียนแบบตายตัว ยกตัวอย่าง ข้อสอบแสดงแผนที่ทวีปหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จากนั้นให้นักเรียนทดลองคำนวนหาพื้นที่ทวีปหรือประเทศนั้น โดยไม่ได้ให้อุปกรณ์ใดๆ ดังนั้นนักเรียนได้ใช้ทักษะในการคำนวนรูปทรงที่แตกต่างกันและมีคำตอบที่ไม่เหมือนกัน โดยนักเรียนต้องสามารถอธิบายว่าแต่ละคนใช้วิธีการใด
“ทั้งนี้หน่วยงานที่ออกข้อสอบจะต้องปรับคุณภาพการออกข้อสอบ โดยเฉพาะผู้ออกข้อสอบต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญโดยตรงมากขึ้น หรือมีการระดมความคิดจากครูหรือผู้เชี่ยวชาญในหลักสูตรนั้นๆ นอกจากนี้จะต้องสนับสนุนการจัดทำธนาคารข้อสอบ เพื่อให้มีข้อสอบดีๆ เก็บไว้เยอะๆ สามารถนำมาใช้ได้ทันที ทั้งนี้การปฏิรูปตัวข้อสอบ ปฏิรูประบบข้อมูลการจัดทำข้อสอบ และปฏิรูปการรายงานผลการสอบ จะมีความสำคัญต่อการยกระดับคุณภาพการสอบและคุณภาพสถานศึกษาได้” ดร.ภูมิศรันย์ กล่าว
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ทีดีอาร์ไอได้สรุปผลโครงการจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ ซึ่งสนับสนุนการจัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยกำหนดหัวใจการปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาด้านการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ 1.สร้างระบบการศึกษาที่มีความรับผิดชอบในทุกระดับ โดยเฉพาะระดับกระทรวง ผู้บริหารและครูที่จะต้องมีส่วนร่วมกับผลคะแนนที่ตกต่ำของเด็ก 2.ต้องปฏิรูปหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และ 3.ปรับวิธีการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษา เพราะงบประมาณด้านการศึกษาของไทยมีจำนวนมากแต่บริหารจัดการไม่ถูกต้องทำให้ไม่เกิดประโยชน์ พร้อมกันนี้ได้จัดทำข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมเพื่อการปฏิรูปให้เกิดพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเสนอให้มีการปฏิรูประบบการทดสอบมาตรฐาน เป็นการสอบรูปแบบใหม่เรียกว่า ลิเทอเรซี เบส เทสต์ (Literacy-based test) ให้เป็นการสอบระดับประเทศ ใช้แทนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต โดยผลการสอบดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการประเมินผลงานครู ผู้บริหาร และสถานศึกษา เป็นหลัก ส่วนการประเมินเพื่อวัดความรู้นักเรียนให้เน้นการสอบวัดความรู้ระดับโรงเรียน และการประเมินผลจากแฟ้มผลงานหรือโครงงานของนักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดผลว่านักเรียนมีความรู้ในเรื่องที่เรียนมากน้อยเพียงใด
ดร.สมเกียรติ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ทีมวิจัยทีดีอาร์ไอเสนอให้ปรับระบบการประเมินรายได้และวิทยฐานะครู โดยการปรับขั้นเงินเดือนให้ขึ้นกับพัฒนาการของผลการสอบมาตรฐานของนักเรียน จากเดิมที่การพัฒนาการสอบของเด็กมีผลต่อการขึ้นเงินเดือนครู คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ซึ่งน้อยเกินไป ทีมวิจัยเสนอว่าสัดส่วนดังกล่าวควรมีน้ำหนักอย่างน้อยเป็นครึ่งหนึ่งขององค์ประกอบในการขึ้นเงินเดือน พร้อมกันนี้ได้เสนอเพิ่มการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ โดยอาจเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ทุก 5 ปี และให้ครูมีความรับผิดชอบในการพัฒนาเพื่อนครู พัฒนาการสอน และพัฒนาการของผลการสอบนักเรียน ส่วนการพัฒนาระบบการประเมินผลสถานศึกษา เสนอให้ยกเลิกการประเมินภายนอกที่จัดทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพราะเห็นว่าไม่ได้ให้ข้อมูลที่แท้จริง เนื่องจากสถานศึกษาเข้าใจหลักการประเมินก็จะจัดทำเอกสารตามความต้องการผู้ประเมิน แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่การเรียนการสอน นอกจากนี้คำแนะนำที่ได้จากการประเมินภายนอกก็เป็นเพียงคำแนะนำกว้างๆ ดังนั้นจึงเสนอให้ สมศ.ทำหน้าที่เปลี่ยนจากการประเมินภายนอก ให้เข้าไปตรวจสอบเฉพาะโรงเรียนกลุ่มเสี่ยง เช่น โรงเรียนที่มีผลการเรียนแย่ลง หรือกรณีโรงเรียนมีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้าไปใช้ สมศ.ควรไปศึกษาว่าได้ผลดีหรือไม่ เป็นต้น ทั้งนี้ให้ใช้การประเมินภายในเป็นหัวใจหลักของการประเมินสถานศึกษา
“นอกจากนี้เราเสนอการปรับระบบการจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างความรับผิดชอบ และลดความเหลื่อมล้ำเป็นหลัก โดยที่ผ่านมามีหลักฐานชัดเจนว่าผลการเรียนของเด็กจะขึ้นอยู่กับเศรษฐานะของครอบครัว ส่วนใหญ่ถ้ามาจากครอบครัวที่มีฐานะก็จะมีผลการเรียนดี ดังนั้นจึงเสนอให้รัฐบาลสำรวจและอุดหนุนงบฯ ให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ยากจนมากขึ้นเพื่อให้เกิดความทัดเทียมกัน จากนั้นหากจุดตั้งต้นเท่ากันแล้วผลการเรียนยังไม่เท่ากัน ก็ต้องให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ” ดร.สมเกียรติ กล่าว
ดร.ภูมิศรันย์ ทองเลี่ยมนาค นักวิจัยโครงการจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ทีมวิจัยเสนอรูปแบบการทดสอบมาตรฐานซึ่งเป็นการสอบโดยประยุกต์เนื้อหาหลากหลายวิชา และเน้นทักษะการนำไปใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น ต่างจากการสอบรูปแบบเดิมๆ ที่เน้นการท่องจำและทำตามบทเรียนแบบตายตัว ยกตัวอย่าง ข้อสอบแสดงแผนที่ทวีปหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จากนั้นให้นักเรียนทดลองคำนวนหาพื้นที่ทวีปหรือประเทศนั้น โดยไม่ได้ให้อุปกรณ์ใดๆ ดังนั้นนักเรียนได้ใช้ทักษะในการคำนวนรูปทรงที่แตกต่างกันและมีคำตอบที่ไม่เหมือนกัน โดยนักเรียนต้องสามารถอธิบายว่าแต่ละคนใช้วิธีการใด
“ทั้งนี้หน่วยงานที่ออกข้อสอบจะต้องปรับคุณภาพการออกข้อสอบ โดยเฉพาะผู้ออกข้อสอบต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญโดยตรงมากขึ้น หรือมีการระดมความคิดจากครูหรือผู้เชี่ยวชาญในหลักสูตรนั้นๆ นอกจากนี้จะต้องสนับสนุนการจัดทำธนาคารข้อสอบ เพื่อให้มีข้อสอบดีๆ เก็บไว้เยอะๆ สามารถนำมาใช้ได้ทันที ทั้งนี้การปฏิรูปตัวข้อสอบ ปฏิรูประบบข้อมูลการจัดทำข้อสอบ และปฏิรูปการรายงานผลการสอบ จะมีความสำคัญต่อการยกระดับคุณภาพการสอบและคุณภาพสถานศึกษาได้” ดร.ภูมิศรันย์ กล่าว