กรมวิทย์เดินหน้าโครงการอาหารปลอดภัยในชุมชนเมือง เน้น กทม.ให้เป็นเมืองอาหารปลอดภัย เล็งส่งเสริมความรู้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะน้ำมันทอดซ้ำ หวังส่งเสริมการท่องเที่ยว ตั้งเป้าไปครัวของโลกตามนโยบายนายกฯปู
นพ.นิพนธ์ โพธิพัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวภายหลังเปิดโครงการ “พัฒนาตลาดสดไทย เพื่อผู้บริโภคมั่นใจความปลอดภัยอาหาร (Mega Store To Fresh Market)” ว่า หลังจากดำเนินการโครงการความปลอดภัยด้านอาหารในตลาดค้าส่งทั่วประเทศ โดยสนับสนุนให้ตลาดกลางค้าส่งมีห้องปฏิบัติการตรวจสอบสารกำจัดศัตรูพืช และสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งเพาะปลูกหากตรวจพบสารพิษได้แล้ว ในปีนี้จึงจัดทำโครงการพัฒนาตลาดสดไทยฯ โดยเน้นให้ผู้ประกอบการตลาดสดมีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหาร และคัดเลือกสินค้าจากแหล่งจำหน่ายสินค้าที่มีการควบคุมคุณภาพของอาหารมาขายต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งมีตลาดสดในเกือบทุกชุมชน ประกอบกับอาหารไทยหลายเมนูเป็นที่รู้จักและชื่นชอบของชาวต่างชาติ การจัดหาวัตถุดิบที่มีความสด สะอาด ปลอดสารปนเปื้อน กระบวนการประกอบอาหารที่สะอาด ถูกหลักอนามัย จึงเป็นสิ่งสำคัญ โครงการดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้ประกอบการตลาดสดทั่ว กทม.มีความรู้ความเข้าใจและสามารถเลือกซื้อวัตถุดิบจากแหล่งที่ปลอดภัยและผ่านการตรวจคัดกรองคุณภาพของวัตถุดิบ จนกลายเป็นเมืองอาหารปลอดภัย สอดรับกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนให้ครัวไทยกลายเป็นครัวของโลก
นางลัดดาวัลย์ โรจนพรรณทิพย์ ผอ.สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กล่าวว่า โครงการดังกล่าวนอกจากจะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องสารพิษตกค้างในอาหารแล้ว ยังได้ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องอันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำอีกด้วย ซึ่งเป็นภัยใกล้ตัว เพราะน้ำมันที่ผ่านการทอดซ้ำหลายๆ ครั้งจะเสื่อมสภาพลง และเกิดสารโพลาร์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งผู้ปรุงอาหารและผู้บริโภค ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2555 ได้เห็นชอบตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ และกระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศกระทรวง (ฉบับที่ 347) พ.ศ. 2555 กำหนดให้ผู้ผลิตอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำในการผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย ต้องใช้น้ำมันทอดซ้ำที่มีสารโพลาร์ในอาหารได้ไม่เกิน 25% หากมีสารโพลาร์เกินกำหนดถือเป็นการจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐานตาม พ.ร.บ.อาหาร ระวางโทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
นพ.นิพนธ์ โพธิพัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวภายหลังเปิดโครงการ “พัฒนาตลาดสดไทย เพื่อผู้บริโภคมั่นใจความปลอดภัยอาหาร (Mega Store To Fresh Market)” ว่า หลังจากดำเนินการโครงการความปลอดภัยด้านอาหารในตลาดค้าส่งทั่วประเทศ โดยสนับสนุนให้ตลาดกลางค้าส่งมีห้องปฏิบัติการตรวจสอบสารกำจัดศัตรูพืช และสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งเพาะปลูกหากตรวจพบสารพิษได้แล้ว ในปีนี้จึงจัดทำโครงการพัฒนาตลาดสดไทยฯ โดยเน้นให้ผู้ประกอบการตลาดสดมีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหาร และคัดเลือกสินค้าจากแหล่งจำหน่ายสินค้าที่มีการควบคุมคุณภาพของอาหารมาขายต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งมีตลาดสดในเกือบทุกชุมชน ประกอบกับอาหารไทยหลายเมนูเป็นที่รู้จักและชื่นชอบของชาวต่างชาติ การจัดหาวัตถุดิบที่มีความสด สะอาด ปลอดสารปนเปื้อน กระบวนการประกอบอาหารที่สะอาด ถูกหลักอนามัย จึงเป็นสิ่งสำคัญ โครงการดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้ประกอบการตลาดสดทั่ว กทม.มีความรู้ความเข้าใจและสามารถเลือกซื้อวัตถุดิบจากแหล่งที่ปลอดภัยและผ่านการตรวจคัดกรองคุณภาพของวัตถุดิบ จนกลายเป็นเมืองอาหารปลอดภัย สอดรับกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนให้ครัวไทยกลายเป็นครัวของโลก
นางลัดดาวัลย์ โรจนพรรณทิพย์ ผอ.สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กล่าวว่า โครงการดังกล่าวนอกจากจะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องสารพิษตกค้างในอาหารแล้ว ยังได้ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องอันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำอีกด้วย ซึ่งเป็นภัยใกล้ตัว เพราะน้ำมันที่ผ่านการทอดซ้ำหลายๆ ครั้งจะเสื่อมสภาพลง และเกิดสารโพลาร์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งผู้ปรุงอาหารและผู้บริโภค ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2555 ได้เห็นชอบตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ และกระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศกระทรวง (ฉบับที่ 347) พ.ศ. 2555 กำหนดให้ผู้ผลิตอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำในการผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย ต้องใช้น้ำมันทอดซ้ำที่มีสารโพลาร์ในอาหารได้ไม่เกิน 25% หากมีสารโพลาร์เกินกำหนดถือเป็นการจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐานตาม พ.ร.บ.อาหาร ระวางโทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท