มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคโต้ ห้างค้าปลีกชื่อดัง ยัน “ขนมปังไส้ถั่วแดง” ใส่สารกันบูดเกินมาตรฐานจริง ชี้แม้ใส่สารหลายตัวปริมาณรวมก็ต้องไม่เกิน 1,000 มก./กก.ไม่ใช่ดูสารแยกเป็นรายชนิด ด้าน อย.ย้ำเกณฑ์ตรวจดังกล่าวถูกต้อง แต่ใช้ดำเนินคดีไม่ได้ ขณะที่นักโภชนาการแนะเลือกซื้ออาหารปรุงเสร็จใหม่ๆ ลดเสี่ยงรับสารกันบูดจากอาหารสำเร็จรูป เผยรับสารมากๆ มีผลต่อไต ก่ออาการภูมิแพ้
วันนี้ (19 ก.พ.) เมื่อเวลา 14.00 น.ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นายพชร แก้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชน กล่าวในเวทีสื่อสารสาธารณะ “การใช้วัตถุกันเสียในอาหาร : จากกรณีพบวัตถุกันเสียเกินค่ามาตรฐานในขนมปังของห้างค้าปลีกชื่อดัง” ว่า ภายหลังที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลงข่าวพบสารกันบูดเกินมาตรฐานคือ 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในขนมปังไส้ถั่วแดงซึ่งพบถึง 1,656 มก./กก.แบ่งเป็นกรดซอร์บิก 650 มก./กก.และกรดโปรปิโอนิค 1,006 มก./กก.และขนมปังแซนด์วิชพบ 1,279 มก./กก.แบ่งเป็นกรดเบนโซอิก 17 มก./กก.และกรดโปรปิโอนิค 1,262 มก./กก.ของห้างค้าปลีกชื่อดัง เมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา ปรากฏว่าห้างค้าปลีกดังกล่าวได้ทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงกลับมาว่า การให้ข้อมูลของมูลนิธิไม่ถูกต้อง เพราะขนมปังไส้ถั่วแดงใส่สารกันบูดปริมาณต่ำกว่าที่ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 เรื่องวัตถุเจือปนอาหารกำหนดคือ กรดซอร์บิกไม่ควรเกิน 1,000 มก./กก.และกรดโปรปิโอนิค ไม่ควรเกิน 2,000 มก./กก.หรือในปริมาณที่เหมาะสม และการพิจารณาต้องพิจารณาทีละชนิด ไม่นำปริมาณมารวมกัน ส่วนขนมปังแซนด์วิชนั้นตามสูตรการผลิตไม่มีการใส่สารกันบูด แต่ที่ตรวจพบนั้นอาจเกิดจากสารที่อยู่ในส่วนผสมของขนมปัง เช่น แป้ง เนย ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบอย่างเร่งด่วน และได้งดจำหน่ายขนมปังแซนด์วิชเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้ข้อเท็จจริง
นายพชร กล่าวอีกว่า การชี้แจงของห้างค้าปลีกดังกล่าวน่าจะเป็นความเข้าใจผิดของทางห้างมากกว่า เพราะการให้ข้อมูลของมูลนิธิฯเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เรื่องข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ที่กำหนดว่า การใช้วัตถุเจือปนอาหารในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ต้องมีปริมาณรวมกันแล้วไม่เกินปริมาณของวัตถุเจือปนอาหารชนิดที่กำหนดให้ใช้น้อยที่สุด ซึ่งในขนมปังไส้ถั่วแดงต้องใช้กรดซอร์บิกไม่เกิน 1,000 มก./กก.เป็นเกณฑ์ แต่ที่ตรวจพบคือปริมาณรวมวัตถุกันเสียของขนมปังไส้ถั่วแดงเกินกว่ามาตรฐานจริง ส่วนคำชี้แจงที่ว่าสารกันบูดอาจอยู่ในส่วนผสมของขนมปังแซนด์วิชนั้นไม่เป็นเหตุผลที่ยอมรับได้ เพราะบริษัทมีมาตรฐานมากมายในการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ และเมื่อออกเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายก็ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน การอ้างว่าสารกันบูดอยู่ในวัตถุดิบจึงไม่ถูกต้อง จึงเรียกร้องให้ห้างค้าปลีกดังกล่าวขอโทษสาธารณะและปรับปรุงกระบวนการผลิตของตัวเอง
ผศ.ปรัญรัชต์ ธนวิยุธท์ภักดี ผู้แทนสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ทุกวันนี้ชีวิตประจำวันของคนไทยเปลี่ยนไป มีความเร่งรีบมากขึ้น ทำให้ต้องพึ่งพาอาหารแปรรูปพร้อมบริโภคมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มขนมอบ ขนมปัง ซึ่งปัญหาคือมีการใส่วัตถุเจือปนอาหาร วัตถุกันเสียมากขึ้น อาทิ กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก ซึ่งเป็นกลุ่มป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรค รา และยีสต์ เหมือนกันแต่มีวัตถุประสงค์การใช้ต่างกันเล็กน้อย ซึ่งการกำหนดปริมาณในการใช้ ตาม พ.ร.บ.อาหาร มีกำหนดอยู่แล้วว่าใช้ได้สูงสุดเท่าไร แต่ผลิตภัณฑ์สุดท้ายต้องเป็นปริมาณที่ต่ำสุด ทุกตัวรวมกันต้องไม่เกิน 1,000 มก./กก.
“วัตถุเจือปนทุกตัวที่ใช้เป็นกลุ่มที่อนุญาตให้ใช้ได้ เพราะมีการประเมินความปลอดภัย แต่ปริมาณที่ใช้ต้องไม่เกินมาตรฐานกำหนด ทางที่ดีผู้บริโภคควรเลือกอาหารที่ปรุงใหม่ๆ ก่อนเลือกบริโภคอาหารสำเร็จรูปหรือพร้อมบริโภคที่แปรรูปมาแล้ว เพราะมีโอกาสที่จะได้รับวัตถุกันเสียเยอะมาก ซึ่งอันตรายอาจเกิดขึ้นจากการได้รับสารกลุ่มนี้ในปริมาณมากๆ คือ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย หากรับประทานเป็นประจำไตจะทำงานหนักมากขึ้น เพราะต้องขับของเสียจากร่างกาย ที่สำคัญกรดเบนโซอิกมีข้อมูลเรื่องของการแพ้ได้ คนเป็นโรคภูมิแพ้ต้องระวัง” ผู้แทนสถาบันโภชนาการ กล่าว
ด้าน ดร.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักอาหาร อย. กล่าวว่า อย.ดำเนินการใช้ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 เป็นเครื่องมือในการออกกฎหมายมาตรฐานอาหาร เช่น มาตรฐานตัวสินค้าอาหาร มาตรฐานความปลอดภัยอาหาร และมาตรฐานกรรมวิธีการผลิตหรือจีเอ็มพี ซึ่งควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบ ถึงกระบวนการผลิต ทั้งสถานที่ บุคลากร ฯลฯ ไม่ให้มีการปนเปื้อน ซึ่งตรงนี้เรามีเกณฑ์กำหนดให้ผู้ประกอบการนำไปใช้ ในการตรวจสอบมาตรฐานอาหาร อย.ก็จะใช้เกณฑ์เหล่านี้ในตรวจการผู้ผลิต นอกจากนี้ ยังมีออกกฎหมายฉลากอาหารด้วย ซึ่งจะต้องแจ้งข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องชื่ออาหาร สถานที่ผลิต ชื่อที่ตั้ง สูตรส่วนประกอบ หากมีการใช้วัตถุกันเสียต้องแจ้งในฉลาก ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีอายุต่ำกว่า 90 วัน ต้องกำหนดวันหมดอายุ
ดร.ทิพย์วรรณ กล่าวอีกว่า ในเรื่องวัตถุกันเสีย อย.ก็ออกเกณฑ์ที่เรียกว่า วัตถุเจือปนอาหาร โดยหลักการจะใช้เรื่องหลักความปลอดภัย การจะกำหนดค่าวัตถุกันเสียเท่าไรนั้น ต้องดูค่าความปลอดภัยในมนุษย์ด้วย อย่างเช่นรับสารเข้าไปแล้วใน 120 ปี ต้องไม่ตายหรือเป็นมะเร็ง ซึ่งตามประกาศนั้นได้กำหนดปริมาณของวัตถุกันเสียหรือวัตถุเจือปนต้องไม่เกินปริมาณสูงสุดที่ใช้ได้ แต่ถ้าใส่วัตถุเจือปนอาหารมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไป แต่เป็นสารกลุ่มหน้าที่เดียวกัน ปริมาณรวมกันแล้วต้องไม่เกินปริมาณของวัตถุเจือปนอาหารชนิดที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุด
“กรณีขนมปังไส้ถั่วแดงมีการใส่วัตถุเจือปน 2 ชนิด คือกรดซอร์บิก และกรดโปรปิโอนิค ซึ่งเป็นสารกลุ่มหน้าที่เดียวกัน ทั้งสองชนิดปริมาณรวมกันแล้วต้องไม่เกินปริมาณวัตถุเจือปนชนิดที่กำหนดให้ใช้น้อยที่สุด ในที่นี้คือกรดซอร์บิกที่กำหนดไม่เกิน 1,000 มก./กก.ดังนั้น เมื่อรวมปริมาณวัตถุเจือปนทั้ง 2 ชนิดแล้ว จึงต้องไม่เกิน1,000 มก./กก.ตามที่กำหนด” ผอ.สำนักอาหาร อย.กล่าว
ดร.ทิพย์วรรณ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม การที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคไปสุ่มตรวจนั้นเป็นเพียงการเฝ้าระวัง อย.ไม่สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ดำเนินคดีกับห้างค้าปลีกได้ เพราะการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์นั้นต้องดำเนินการโดย เจ้าหน้าที่จาก อย.มีการแสดงบัตรเจ้าหน้าที่ ที่สำคัญผู้ประกอบการต้องให้ความร่วมมือในการตรวจผลิตภัณฑ์ด้วย หากผู้ประกอบการไม่ให้ความร่วมมือจึงค่อยขอหมายศาลในการตรวจค้น เพราะ อย.ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ยกเว้นกรณีมีผู้บริโภคร้องเรียนสามารถดำเนินการตรวจสอบได้ทันที เพราะถือว่าเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค แต่การสุ่มตรวจนั้นไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีต้นเหตุหรือเจ้าทุกข์มาร้องเรียน
“อย่างกรณีห้างค้าปลีกดังกล่าว อย.ก็ต้องแจ้งผู้ประกอบการก่อนเข้าไปตรวจ ซึ่งขณะนี้ได้นำตัวอย่างส่งไปตรวจยังกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้ว นอกจากนี้ อย.ยังต้องไปตรวจโรงงานที่ผลิตในต่างจังหวัดด้วยว่า ผลิตได้มาตรฐานจีเอ็มพีหรือไม่ เพื่อดูว่าความผิดพลาดเกิดจากขั้นตอนใด เพราะกรณีที่ห้างค้าปลีกอ้างว่า สารกันบูดอาจอยู่ในส่วนผสมของวัตถุดิบคือ แป้งและเนยนั้น ตาม พ.ร.บ.อาหารนั้น ไม่อนุญาตให้แป้งและเนยมีการใส่วัตถุกันเสีย” ดร.ทิพย์วรรณ กล่าว
วันนี้ (19 ก.พ.) เมื่อเวลา 14.00 น.ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นายพชร แก้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชน กล่าวในเวทีสื่อสารสาธารณะ “การใช้วัตถุกันเสียในอาหาร : จากกรณีพบวัตถุกันเสียเกินค่ามาตรฐานในขนมปังของห้างค้าปลีกชื่อดัง” ว่า ภายหลังที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลงข่าวพบสารกันบูดเกินมาตรฐานคือ 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในขนมปังไส้ถั่วแดงซึ่งพบถึง 1,656 มก./กก.แบ่งเป็นกรดซอร์บิก 650 มก./กก.และกรดโปรปิโอนิค 1,006 มก./กก.และขนมปังแซนด์วิชพบ 1,279 มก./กก.แบ่งเป็นกรดเบนโซอิก 17 มก./กก.และกรดโปรปิโอนิค 1,262 มก./กก.ของห้างค้าปลีกชื่อดัง เมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา ปรากฏว่าห้างค้าปลีกดังกล่าวได้ทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงกลับมาว่า การให้ข้อมูลของมูลนิธิไม่ถูกต้อง เพราะขนมปังไส้ถั่วแดงใส่สารกันบูดปริมาณต่ำกว่าที่ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 เรื่องวัตถุเจือปนอาหารกำหนดคือ กรดซอร์บิกไม่ควรเกิน 1,000 มก./กก.และกรดโปรปิโอนิค ไม่ควรเกิน 2,000 มก./กก.หรือในปริมาณที่เหมาะสม และการพิจารณาต้องพิจารณาทีละชนิด ไม่นำปริมาณมารวมกัน ส่วนขนมปังแซนด์วิชนั้นตามสูตรการผลิตไม่มีการใส่สารกันบูด แต่ที่ตรวจพบนั้นอาจเกิดจากสารที่อยู่ในส่วนผสมของขนมปัง เช่น แป้ง เนย ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบอย่างเร่งด่วน และได้งดจำหน่ายขนมปังแซนด์วิชเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้ข้อเท็จจริง
นายพชร กล่าวอีกว่า การชี้แจงของห้างค้าปลีกดังกล่าวน่าจะเป็นความเข้าใจผิดของทางห้างมากกว่า เพราะการให้ข้อมูลของมูลนิธิฯเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เรื่องข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ที่กำหนดว่า การใช้วัตถุเจือปนอาหารในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ต้องมีปริมาณรวมกันแล้วไม่เกินปริมาณของวัตถุเจือปนอาหารชนิดที่กำหนดให้ใช้น้อยที่สุด ซึ่งในขนมปังไส้ถั่วแดงต้องใช้กรดซอร์บิกไม่เกิน 1,000 มก./กก.เป็นเกณฑ์ แต่ที่ตรวจพบคือปริมาณรวมวัตถุกันเสียของขนมปังไส้ถั่วแดงเกินกว่ามาตรฐานจริง ส่วนคำชี้แจงที่ว่าสารกันบูดอาจอยู่ในส่วนผสมของขนมปังแซนด์วิชนั้นไม่เป็นเหตุผลที่ยอมรับได้ เพราะบริษัทมีมาตรฐานมากมายในการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ และเมื่อออกเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายก็ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน การอ้างว่าสารกันบูดอยู่ในวัตถุดิบจึงไม่ถูกต้อง จึงเรียกร้องให้ห้างค้าปลีกดังกล่าวขอโทษสาธารณะและปรับปรุงกระบวนการผลิตของตัวเอง
ผศ.ปรัญรัชต์ ธนวิยุธท์ภักดี ผู้แทนสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ทุกวันนี้ชีวิตประจำวันของคนไทยเปลี่ยนไป มีความเร่งรีบมากขึ้น ทำให้ต้องพึ่งพาอาหารแปรรูปพร้อมบริโภคมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มขนมอบ ขนมปัง ซึ่งปัญหาคือมีการใส่วัตถุเจือปนอาหาร วัตถุกันเสียมากขึ้น อาทิ กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก ซึ่งเป็นกลุ่มป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรค รา และยีสต์ เหมือนกันแต่มีวัตถุประสงค์การใช้ต่างกันเล็กน้อย ซึ่งการกำหนดปริมาณในการใช้ ตาม พ.ร.บ.อาหาร มีกำหนดอยู่แล้วว่าใช้ได้สูงสุดเท่าไร แต่ผลิตภัณฑ์สุดท้ายต้องเป็นปริมาณที่ต่ำสุด ทุกตัวรวมกันต้องไม่เกิน 1,000 มก./กก.
“วัตถุเจือปนทุกตัวที่ใช้เป็นกลุ่มที่อนุญาตให้ใช้ได้ เพราะมีการประเมินความปลอดภัย แต่ปริมาณที่ใช้ต้องไม่เกินมาตรฐานกำหนด ทางที่ดีผู้บริโภคควรเลือกอาหารที่ปรุงใหม่ๆ ก่อนเลือกบริโภคอาหารสำเร็จรูปหรือพร้อมบริโภคที่แปรรูปมาแล้ว เพราะมีโอกาสที่จะได้รับวัตถุกันเสียเยอะมาก ซึ่งอันตรายอาจเกิดขึ้นจากการได้รับสารกลุ่มนี้ในปริมาณมากๆ คือ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย หากรับประทานเป็นประจำไตจะทำงานหนักมากขึ้น เพราะต้องขับของเสียจากร่างกาย ที่สำคัญกรดเบนโซอิกมีข้อมูลเรื่องของการแพ้ได้ คนเป็นโรคภูมิแพ้ต้องระวัง” ผู้แทนสถาบันโภชนาการ กล่าว
ด้าน ดร.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักอาหาร อย. กล่าวว่า อย.ดำเนินการใช้ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 เป็นเครื่องมือในการออกกฎหมายมาตรฐานอาหาร เช่น มาตรฐานตัวสินค้าอาหาร มาตรฐานความปลอดภัยอาหาร และมาตรฐานกรรมวิธีการผลิตหรือจีเอ็มพี ซึ่งควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบ ถึงกระบวนการผลิต ทั้งสถานที่ บุคลากร ฯลฯ ไม่ให้มีการปนเปื้อน ซึ่งตรงนี้เรามีเกณฑ์กำหนดให้ผู้ประกอบการนำไปใช้ ในการตรวจสอบมาตรฐานอาหาร อย.ก็จะใช้เกณฑ์เหล่านี้ในตรวจการผู้ผลิต นอกจากนี้ ยังมีออกกฎหมายฉลากอาหารด้วย ซึ่งจะต้องแจ้งข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องชื่ออาหาร สถานที่ผลิต ชื่อที่ตั้ง สูตรส่วนประกอบ หากมีการใช้วัตถุกันเสียต้องแจ้งในฉลาก ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีอายุต่ำกว่า 90 วัน ต้องกำหนดวันหมดอายุ
ดร.ทิพย์วรรณ กล่าวอีกว่า ในเรื่องวัตถุกันเสีย อย.ก็ออกเกณฑ์ที่เรียกว่า วัตถุเจือปนอาหาร โดยหลักการจะใช้เรื่องหลักความปลอดภัย การจะกำหนดค่าวัตถุกันเสียเท่าไรนั้น ต้องดูค่าความปลอดภัยในมนุษย์ด้วย อย่างเช่นรับสารเข้าไปแล้วใน 120 ปี ต้องไม่ตายหรือเป็นมะเร็ง ซึ่งตามประกาศนั้นได้กำหนดปริมาณของวัตถุกันเสียหรือวัตถุเจือปนต้องไม่เกินปริมาณสูงสุดที่ใช้ได้ แต่ถ้าใส่วัตถุเจือปนอาหารมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไป แต่เป็นสารกลุ่มหน้าที่เดียวกัน ปริมาณรวมกันแล้วต้องไม่เกินปริมาณของวัตถุเจือปนอาหารชนิดที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุด
“กรณีขนมปังไส้ถั่วแดงมีการใส่วัตถุเจือปน 2 ชนิด คือกรดซอร์บิก และกรดโปรปิโอนิค ซึ่งเป็นสารกลุ่มหน้าที่เดียวกัน ทั้งสองชนิดปริมาณรวมกันแล้วต้องไม่เกินปริมาณวัตถุเจือปนชนิดที่กำหนดให้ใช้น้อยที่สุด ในที่นี้คือกรดซอร์บิกที่กำหนดไม่เกิน 1,000 มก./กก.ดังนั้น เมื่อรวมปริมาณวัตถุเจือปนทั้ง 2 ชนิดแล้ว จึงต้องไม่เกิน1,000 มก./กก.ตามที่กำหนด” ผอ.สำนักอาหาร อย.กล่าว
ดร.ทิพย์วรรณ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม การที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคไปสุ่มตรวจนั้นเป็นเพียงการเฝ้าระวัง อย.ไม่สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ดำเนินคดีกับห้างค้าปลีกได้ เพราะการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์นั้นต้องดำเนินการโดย เจ้าหน้าที่จาก อย.มีการแสดงบัตรเจ้าหน้าที่ ที่สำคัญผู้ประกอบการต้องให้ความร่วมมือในการตรวจผลิตภัณฑ์ด้วย หากผู้ประกอบการไม่ให้ความร่วมมือจึงค่อยขอหมายศาลในการตรวจค้น เพราะ อย.ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ยกเว้นกรณีมีผู้บริโภคร้องเรียนสามารถดำเนินการตรวจสอบได้ทันที เพราะถือว่าเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค แต่การสุ่มตรวจนั้นไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีต้นเหตุหรือเจ้าทุกข์มาร้องเรียน
“อย่างกรณีห้างค้าปลีกดังกล่าว อย.ก็ต้องแจ้งผู้ประกอบการก่อนเข้าไปตรวจ ซึ่งขณะนี้ได้นำตัวอย่างส่งไปตรวจยังกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้ว นอกจากนี้ อย.ยังต้องไปตรวจโรงงานที่ผลิตในต่างจังหวัดด้วยว่า ผลิตได้มาตรฐานจีเอ็มพีหรือไม่ เพื่อดูว่าความผิดพลาดเกิดจากขั้นตอนใด เพราะกรณีที่ห้างค้าปลีกอ้างว่า สารกันบูดอาจอยู่ในส่วนผสมของวัตถุดิบคือ แป้งและเนยนั้น ตาม พ.ร.บ.อาหารนั้น ไม่อนุญาตให้แป้งและเนยมีการใส่วัตถุกันเสีย” ดร.ทิพย์วรรณ กล่าว