แพทย์ชนบทแฉรัฐมนตรีสาธารณสุขมวยวัด ทั้งที่ มีงานวิจัยล่าสุด ต้นแบบ P4P ในอังกฤษล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท แฉรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ที่จบจากฮาวาร์ด กลับตัดสินใจเชิงนโยบาย โดยไม่อาศัยหลักวิชาการ แสดงเจตนาทุจริตเชิงนโยบาย กระทบต่องบประมาณของประเทศ โดยไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า P4P ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาวะของประชากรอย่างชัดเจนและประหยัดงบประมาณในการรักษาพยาบาลได้
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า จากการทบทวนเอกสารต่างประเทศ 1.โดยเฉพาะงานของ Bruin และคณะที่ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อดูผลกระทบของ P4P ต่อคุณภาพและประสิทธิภาพ (ผลกระทบต่อต้นทุน) ของการรักษาพยาบาล ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่พบว่าไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า P4P ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาวะของประชากรอย่างชัดเจนและประหยัดงบประมาณในการรักษาพยาบาลได้ 2.มีงานวิจัยล่าสุดในอังกฤษซึ่งทำ P4P อย่างจริงจังที่สุดในโลก (ใช้เงินเป็นหลักพันล้านปอนด์ต่อปี) โดย Fleetcroft และคณะก็ยืนยันว่า P4P ในอังกฤษล้มเหลว การจ่ายเงินช่วยให้สุขภาวะของประชากรดีขึ้นเพียงเล็กน้อย ทั้งที่มีความพยายามในการแก้ไข ปรับปรุง ตัวชี้วัดในการจ่ายเงินให้ตรงกับผลลัพท์ทางสุขภาพมาหลายครั้งและหลายปีแล้วก็ตาม
โดยสรุปคิดว่าเรื่องนี้ต้องการวิชาการ งานวิจัยและการทดลองทำในระดับโครงการวิจัยเล็กๆดูก่อน เพราะหากทำใน scale ใหญ่แล้วไม่ได้ผลจะเกิดผลเสียมาก ยกเลิกก็ไม่ได้ ดังเช่นที่อังกฤษที่ทำเรื่องนี้มากว่า 10 ปี แพทย์หลายคนบอกว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออก หากเลือกได้เค้าไม่อยากให้เริ่มตั้งแต่แรก ดังนั้นเราคิดทีหลังน่าจะต้องระมัดระวังบทเรียนของอังกฤษให้มาก
ดังนั้นการที่นายประดิษฐ์ สั่งการให้ใช้ทั้งประเทศในทันที ทั้งที่ยังไม่มีรายละเอียดและเทคนิค วิธีการ และกระบวนการที่ชัดเจนแต่อย่างใด จึงอาจทำให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาวะและระบบงบประมาณของประเทศอย่างร้ายแรง และประเทศไทยจะต้องขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ในชนบท สร้างผลประโยชน์ให้กับเอกชน อาจมองได้ว่ามีเจตนาเป็นการทุจริตเชิงนโยบาย เพื่อเอื้อต่อพรรค และพวกได้ หรือไม่ก็ถือว่าเป็นนักวิชาการฮาวาร์ด ที่ตัดสินใจเชิงนโยบายแบบมวยวัด ดังนั้นจึงขอให้สำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนที่จะตกเป็นเครื่องมือของนายประดิษฐ แบบกลืนไม่เข้าคายไม่ออก และเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบแทน ในฐานะที่เป็นระเบียบของกระทรวงการคลัง
อนึ่ง โรงพยาบาลชุมชนได้รับฟังคำชี้แจงของกระทรวงสาธารณสุขผ่าน Teleconference แล้ว เกือบทั้งหมดไม่เห็นด้วยกับกระทรวงสาธารณสุข และได้ยื่นหนังสือคัดค้านไปที่สำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลางในสัปดาห์หน้า เพื่อแสดงว่ากระทรวงสาธารณสุขยังไม่สามารถทำความเข้าใจกับโรงพยาบาลชุมชนได้ และแกนนำทั่วประเทศจะนัดกันมาประชุมเพื่อกำหนดท่าทีในการเคลื่อนไหวใหญ่ เพื่อให้เปลี่ยนรัฐมนตรีสาธารณสุข ที่ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคลากรในชนบท ว่าการรับค่าเบี้ยเลี้ยงกันดาร ถือว่าไม่ทำงาน ไร้ศักดิ์ศรี และไม่มีน้ำใจ โดยเร็วในสัปดาห์หน้าต่อไป
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท แฉรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ที่จบจากฮาวาร์ด กลับตัดสินใจเชิงนโยบาย โดยไม่อาศัยหลักวิชาการ แสดงเจตนาทุจริตเชิงนโยบาย กระทบต่องบประมาณของประเทศ โดยไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า P4P ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาวะของประชากรอย่างชัดเจนและประหยัดงบประมาณในการรักษาพยาบาลได้
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า จากการทบทวนเอกสารต่างประเทศ 1.โดยเฉพาะงานของ Bruin และคณะที่ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อดูผลกระทบของ P4P ต่อคุณภาพและประสิทธิภาพ (ผลกระทบต่อต้นทุน) ของการรักษาพยาบาล ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่พบว่าไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า P4P ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาวะของประชากรอย่างชัดเจนและประหยัดงบประมาณในการรักษาพยาบาลได้ 2.มีงานวิจัยล่าสุดในอังกฤษซึ่งทำ P4P อย่างจริงจังที่สุดในโลก (ใช้เงินเป็นหลักพันล้านปอนด์ต่อปี) โดย Fleetcroft และคณะก็ยืนยันว่า P4P ในอังกฤษล้มเหลว การจ่ายเงินช่วยให้สุขภาวะของประชากรดีขึ้นเพียงเล็กน้อย ทั้งที่มีความพยายามในการแก้ไข ปรับปรุง ตัวชี้วัดในการจ่ายเงินให้ตรงกับผลลัพท์ทางสุขภาพมาหลายครั้งและหลายปีแล้วก็ตาม
โดยสรุปคิดว่าเรื่องนี้ต้องการวิชาการ งานวิจัยและการทดลองทำในระดับโครงการวิจัยเล็กๆดูก่อน เพราะหากทำใน scale ใหญ่แล้วไม่ได้ผลจะเกิดผลเสียมาก ยกเลิกก็ไม่ได้ ดังเช่นที่อังกฤษที่ทำเรื่องนี้มากว่า 10 ปี แพทย์หลายคนบอกว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออก หากเลือกได้เค้าไม่อยากให้เริ่มตั้งแต่แรก ดังนั้นเราคิดทีหลังน่าจะต้องระมัดระวังบทเรียนของอังกฤษให้มาก
ดังนั้นการที่นายประดิษฐ์ สั่งการให้ใช้ทั้งประเทศในทันที ทั้งที่ยังไม่มีรายละเอียดและเทคนิค วิธีการ และกระบวนการที่ชัดเจนแต่อย่างใด จึงอาจทำให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาวะและระบบงบประมาณของประเทศอย่างร้ายแรง และประเทศไทยจะต้องขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ในชนบท สร้างผลประโยชน์ให้กับเอกชน อาจมองได้ว่ามีเจตนาเป็นการทุจริตเชิงนโยบาย เพื่อเอื้อต่อพรรค และพวกได้ หรือไม่ก็ถือว่าเป็นนักวิชาการฮาวาร์ด ที่ตัดสินใจเชิงนโยบายแบบมวยวัด ดังนั้นจึงขอให้สำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนที่จะตกเป็นเครื่องมือของนายประดิษฐ แบบกลืนไม่เข้าคายไม่ออก และเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบแทน ในฐานะที่เป็นระเบียบของกระทรวงการคลัง
อนึ่ง โรงพยาบาลชุมชนได้รับฟังคำชี้แจงของกระทรวงสาธารณสุขผ่าน Teleconference แล้ว เกือบทั้งหมดไม่เห็นด้วยกับกระทรวงสาธารณสุข และได้ยื่นหนังสือคัดค้านไปที่สำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลางในสัปดาห์หน้า เพื่อแสดงว่ากระทรวงสาธารณสุขยังไม่สามารถทำความเข้าใจกับโรงพยาบาลชุมชนได้ และแกนนำทั่วประเทศจะนัดกันมาประชุมเพื่อกำหนดท่าทีในการเคลื่อนไหวใหญ่ เพื่อให้เปลี่ยนรัฐมนตรีสาธารณสุข ที่ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคลากรในชนบท ว่าการรับค่าเบี้ยเลี้ยงกันดาร ถือว่าไม่ทำงาน ไร้ศักดิ์ศรี และไม่มีน้ำใจ โดยเร็วในสัปดาห์หน้าต่อไป