สกอ.รับจนปัญญา แก้ปมสภาวิชาชีพเหตุแต่ละวิชาชีพต่างยึดเกณฑ์ มาตรฐานตัวเอง แม้ปัจจุบันส่วนใหญ่จะยอมผ่อนคลายข้อกำหนดเพื่อเปิดทางมหา’ลัยมากขึ้น “กำจร” ชี้ควรกำหนดใน กม.ชัดเจนว่าสภาวิชาชีพสามารถเอี่ยวกับมหา’ลัยในการเปิดหลักสูตรเรื่องใดบ้าง เพื่อไม่เกิดปัญหาเปิดสอนก่อนสุดท้ายหลักสูตรไม่ผ่านรับรอง
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ขอให้สภาวิชาชีพ ทั้ง 13สาขา ไปทำข้อตกลง เพื่อแก้ปัญหาสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งไปเปิดรับนักศึกษา ก่อนที่สภาวิชาชีพจะรับรองหลักสูตร ทำให้เมื่อจบหลักสูตรแล้วนักศึกษาไม่สามารถไปขอใบประกอบวิชาชีพได้ ว่า ยอมรับว่าการแก้ปัญหาดังกล่าว ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ เนื่องจากสภาวิชาชีพแต่ละแห่งต่างยึดตามหลักเกณฑ์มาตรฐานของตัวเอง โดยเฉพาะสัตวแพทยสภา และสภาเทคนิคการแพทย์ ที่ยังไม่ยอมปรับรายละเอียดขั้นตอนในการรับรองหลักสูตร อาทิ สัตวแพทยสภา กำหนดว่า มหาวิทยาลัยที่จะเปิดหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยจะต้องเปิดโรงพยาบาลก่อน จึงจะเปิดสอนได้ เพื่อรองรับการฝึกงานของนักศึกษา ทั้งที่ไม่จำเป็นเพราะมหาวิทยาลัยสามารถทำข้อตกลงกับโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญและส่งเด็กไปฝึกสอนได้ ขณะที่สภาเทคนิคการแพทย์ จะเข้ามากำหนดเรื่องคุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน ทั้งที่เป็นหน้าที่ของ สกอ.เป็นต้น ขณะเดียวกันยังมีเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรับรองหลักสูตรเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเท่าที่ทราบ การออกไปตรวจรับรองแต่ละครั้ง มหาวิทยาลัยจะต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งค่าเดินทาง ค่าตรวจเยี่ยม ร่วมถึงค่ารับรองหลักสูตร ซึ่งบางสภาวิชาชีพเรียกเก็บค่ารับรองหลักสูตรในแต่ละรอบ เกือบ 1 แสนบาท ทั้งที่เงินจำนวนดังกล่าวมหาวิทยาลัยไม่ควรต้องจ่าย
อย่างไรก็ตาม จากการหารือเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่ผ่านมา ก็ทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น และสภาวิชาชีพส่วนใหญ่ ยอมผ่อนคลายข้อกำหนดต่าง ๆ ให้มหาวิทยาลัยสามารถเปิดการเรียนการสอนได้สะดวกขึ้น แต่ส่วนตัวยังเห็นว่า หากจะแก้ปัญหาเรื่องนี้จริงๆ ควรจะต้องกำหนดลงไปในกฎหมายให้ชัดเจนว่า สภาวิชาชีพ มีอำนาจเข้ามาเกี่ยวข้องอะไรในการเปิดหลักสูตรของมหาวิทยาลัยได้บ้าง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาว่า มหาวิทยาลัยไปเปิดสอน ก่อนที่จะได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพ ซึ่งขณะนี้ที่น่าห่วงคือขณะนี้ มีมหาวิทยาลัยบางแห่ง ไปเปิดสอนหลักสูตรที่ต้องได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพ โดยทำข้อตกลงกับนักศึกษาให้ยอมรับไว้ก่อนว่า เมื่อจบแล้วอาจจะไม่ได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพ ซึ่งเท่ากับว่านักศึกษาเองเป็นผู้เสียประโยชน์
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ขอให้สภาวิชาชีพ ทั้ง 13สาขา ไปทำข้อตกลง เพื่อแก้ปัญหาสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งไปเปิดรับนักศึกษา ก่อนที่สภาวิชาชีพจะรับรองหลักสูตร ทำให้เมื่อจบหลักสูตรแล้วนักศึกษาไม่สามารถไปขอใบประกอบวิชาชีพได้ ว่า ยอมรับว่าการแก้ปัญหาดังกล่าว ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ เนื่องจากสภาวิชาชีพแต่ละแห่งต่างยึดตามหลักเกณฑ์มาตรฐานของตัวเอง โดยเฉพาะสัตวแพทยสภา และสภาเทคนิคการแพทย์ ที่ยังไม่ยอมปรับรายละเอียดขั้นตอนในการรับรองหลักสูตร อาทิ สัตวแพทยสภา กำหนดว่า มหาวิทยาลัยที่จะเปิดหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยจะต้องเปิดโรงพยาบาลก่อน จึงจะเปิดสอนได้ เพื่อรองรับการฝึกงานของนักศึกษา ทั้งที่ไม่จำเป็นเพราะมหาวิทยาลัยสามารถทำข้อตกลงกับโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญและส่งเด็กไปฝึกสอนได้ ขณะที่สภาเทคนิคการแพทย์ จะเข้ามากำหนดเรื่องคุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน ทั้งที่เป็นหน้าที่ของ สกอ.เป็นต้น ขณะเดียวกันยังมีเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรับรองหลักสูตรเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเท่าที่ทราบ การออกไปตรวจรับรองแต่ละครั้ง มหาวิทยาลัยจะต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งค่าเดินทาง ค่าตรวจเยี่ยม ร่วมถึงค่ารับรองหลักสูตร ซึ่งบางสภาวิชาชีพเรียกเก็บค่ารับรองหลักสูตรในแต่ละรอบ เกือบ 1 แสนบาท ทั้งที่เงินจำนวนดังกล่าวมหาวิทยาลัยไม่ควรต้องจ่าย
อย่างไรก็ตาม จากการหารือเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่ผ่านมา ก็ทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น และสภาวิชาชีพส่วนใหญ่ ยอมผ่อนคลายข้อกำหนดต่าง ๆ ให้มหาวิทยาลัยสามารถเปิดการเรียนการสอนได้สะดวกขึ้น แต่ส่วนตัวยังเห็นว่า หากจะแก้ปัญหาเรื่องนี้จริงๆ ควรจะต้องกำหนดลงไปในกฎหมายให้ชัดเจนว่า สภาวิชาชีพ มีอำนาจเข้ามาเกี่ยวข้องอะไรในการเปิดหลักสูตรของมหาวิทยาลัยได้บ้าง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาว่า มหาวิทยาลัยไปเปิดสอน ก่อนที่จะได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพ ซึ่งขณะนี้ที่น่าห่วงคือขณะนี้ มีมหาวิทยาลัยบางแห่ง ไปเปิดสอนหลักสูตรที่ต้องได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพ โดยทำข้อตกลงกับนักศึกษาให้ยอมรับไว้ก่อนว่า เมื่อจบแล้วอาจจะไม่ได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพ ซึ่งเท่ากับว่านักศึกษาเองเป็นผู้เสียประโยชน์