xs
xsm
sm
md
lg

“โอฬาร” รับปากก่อน-หลังเจรจาเอฟทีเอ ไทย-อียู ปชช.ต้องได้รับรู้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เครือข่ายภาคประชาชนนับ 1,000 บุกทำเนียบ จี้รัฐบาลพิจารณากรอบเจรจา FTA ไทย-อียู ให้รอบคอบ “เครือข่ายต้านเหล้า” วอนดึงน้ำเมาพ้นกรอบเจรจา ขณะที่ “โอฬาร” รับปาก ก่อนและหลังเจรจา ประชาชนต้องมีส่วนร่วมรับรู้ ยันคำนึงถึงผลประโยชน์คนไทยเป็นหลัก

วันนี้ (28 ก.พ.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เวลา 09.00 น. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตกาค้าเสรีภาคประชาชน (FTA WACTH) 28 องค์กร อาทิ เครือข่ายผู้ติดเชื้อ HIV เอดส์ ประเทศไทย เครือข่ายองค์กรงดเหล้า เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ เครือข่ายชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากแอลกอฮอล์ เครือข่ายชุมชนเฝ้าระวังภัยแอลกอฮอล์ กทม.เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายสมัชขาคนจน และเครือข่ายสลัม 4 ภาค กว่า 1,500คน รวมตัวเข้าร้องเรียน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายโอฬาร ไชยประวัติ ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาเอฟทีเอ กรณี นายกรัฐมนตรีและคณะ จะเดินไปกรุงบัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ในวันที่ 6-7 มี.ค.เพื่อเจรจาการค้าเสรีระหว่างไทยและสหภาพยุโรป (อียู)

น.ส.กรรณิการ์ กิตติเวชกุล กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) กล่าวว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีและคณะจะเดินทางไปกรุงบรัสเซลล์ ในวันที่ 6-7 มีนาคมนี้ เพื่อเปิดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยและสหภาพยุโรป รอบแรก และได้กำหนดระยะเวลาว่าจะเร่งเจรจาอย่างเร่งด่วนให้เสร็จสิ้นในการเจรจาเพียง 10 รอบ ใช้เวลา 1 ปีครึ่งจากนั้นจะมาเข้าสู่กระบวนการเห็นชอบของรัฐสภาเพื่อให้ทันการต่อสิทธิพิเศษทางการค้าที่จะหมดในสิ้นปี2557 นั้น ทางเครือข่ายที่มาวันนี้ ติดตามการเจรจาการค้าเสรี ได้พยายามให้ข้อเสนอแนะ และข้อท้วงติงรัฐบาลมาโดยตลอดว่า เอฟทีเอกับสหภาพยุโรปไทยต้องเจรจาในหลายประเด็นที่ไม่เคยเจรจาเปิดเสรีมาก่อนในเอฟทีเออื่นๆ ทั้งเป็นประเด็นที่มีผลกระทบสูง เช่น ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยา ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ การคุ้มครองการลงทุนที่เปิดโอกาสให้ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน และสินค้าทำลายสุขภาพเช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ ดังนั้นจึงต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาและดำเนินตามขั้นตอนมาตรา 190 อย่างเคร่งครัด

“ที่ผ่านมา การรับฟังความคิดเห็น การเตรียมการเจรจา การร่างกรอบเจรจาฯ และการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา ล้วนมีความบกพร่องทั้งกระบวนการและเนื้อหา-ข้อห่วงใยหลายเรื่องซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศและสังคมทุกภาคส่วนในระยะยาวซึ่งจะมีผลกระทบกับงบประมาณแผ่นดินมากกว่าแสนล้านบาทถูกละเลยไม่ให้ความสำคัญ แต่หันไปให้ความสำคัญกับสิทธิพิเศษทางการค้าที่จะเสียไปทั้งที่เป็นผลประโยชน์ระยะสั้น ได้ผลประโยชน์เพียงไม่กี่กลุ่มธุรกิจส่งออก โดยมูลค่าความเสียหายประมาณ 80,000 ล้านบาทเท่านั้น” น.ส.กรรณิการ์ กล่าว
นายโอฬาร ไชยประวัติ (ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)
ทั้งนี้ขอเรียกร้องของเครือข่าย ต่อ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายโอฬาร ไชยประวัติ หัวหน้าคณะเจรจา โดยขอให้คำมั่นต่อสัญญาประชาคมและมอบนโยบายและจุดยืนที่ชัดเจนแก่คณะผู้เจรจา ดังนี้ 1.ต้องไม่ยอมรับเนื้อหาการเจรจาที่เกินไปกว่าข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาของ WTO (ไม่ยอมรับทริปส์พลัส) 2.การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชนในบทว่าด้วยการลงทุน ต้องไม่มีผลให้มีการนำข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการลงทุนสาธารณะ, การออกนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์สาธารณะ, การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม, ด้านสาธารณสุข, สาธารณูปโภคพื้นฐาน และความมั่นคง เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ 3.ไม่เปิดเสรีการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การทำนา ทำสวนทำไร่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การปลูกป่า การเพาะและขยายพันธุ์พืช ตลอดจนการลงทุนที่สร้างผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร 4.ถอนสินค้าเหล้า บุหรี่ ออกจากการเจรจาสินค้า และ 5.ให้มีการจัดหารือผู้มีส่วนได้เสียครบทุกภาคส่วนทั้งก่อนและหลังการเจรจาในแต่ละรอบโดยให้มีการชี้แจงท่าทีของคณะเจรจา รายงานความคืบหน้า พร้อมรับฟังและดำเนินการตามข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียอย่างสมดุล

ด้านนายชูวิทย์ จันทรส เลขานุการเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ปัญหาจากน้ำเมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา จากสถิติคนตาย7 วันอันตรายที่เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้ว นั่นหมายความว่ามาตรการต่างเอาไม่อยู่ อีกทั้งคนตายจากน้ำเมาปีละกว่า 25,000 ราย ในจำนวนนี้เป็นอุบัติเหตุจราจรทางบกที่มีสาเหตุจากน้ำเมา กว่า 13,000 ราย ในขณะที่มูลค่าความสูญเสียโดยรวมสูงถึง 150,000 ล้านบาท ที่เจ็บปวดคือจำนวนนักดื่มหน้าใหม่มีมากถึง 250,000 ราย และอายุน้อยลงเรื่อยๆ นอกจากนี้ 60% ของเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนก่อคดี

“ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่ถูกจัดการเพียงผิวเผินและกำลังถูกซ้ำเติมปัญหาให้รุนแรงขึ้นจากการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป ซึ่งมีสัดส่วนนำเข้าน้ำเมามากเกือบ 80% ของปริมาณทั้งหมดมูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท ปัญหาจากราคาที่ถูกเพราะภาษีเหลือ 0% จะทำให้เกิดภาวะขายมากมอมเมามากและสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตคือมาตรการทางกฎหมายจะถูกแก้ไข หรือยกเลิก และไม่สามารถสร้างมาตรการใหม่ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้ด้วยข้ออ้างว่าเป็นการกีดกันทางการค้า” นายชูวิทย์ กล่าว

นายชูวิทย์ กล่าวอีกว่า มีความเห็นตรงกันว่าไม่ควรนำสุราและบุหรี่ไปร่วมการเจรจาการค้าเสรีใดๆ เพราะไม่ใช่สินค้าธรรมดาแต่ทำร้ายสุขภาพฆ่าคนไทยตายไปจำนวนมาก จึงอยากให้รัฐบาลมีความชัดเจนไม่ใช่มองเพียงกลุ่มธุรกิจส่งออกที่ได้ผลประโยชเครือข่ายฯยังคงยืนยันจุดยืนเดิม คือขอให้รัฐบาลถอดบัญชีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ออกจากการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี เพื่อคุ้มครองสุขภาพของคนไทย อีกทั้งกระทรวงพาณิชย์เคยตั้งคณะกรรมการไปรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคของประเทศต่างเห็น์ทับซ้อนเพียงคนเดียวสามารถมาลบความเห็นของประชาชนจากทั่วประเทศได้ เพราะนั่นถือเป็นการแสดงให้เห็นว่า กระทรวงพาณิชย์เห็นความสำคัญของความรวยของคนกลุ่มเล็กๆสำคัญกว่าชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่หรือไม่

จากนั้นเวลา 15.00 น. นายโอฬาร ไชยประวัติ ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาเอฟทีเอ ได้เดินทางมารับข้อเรียกร้องจากเครือข่ายภาคประชาชน พร้อมกล่าวว่า สำหรับขั้นตอนการเจรจา จะมีคณะกรรมการของแต่ละประเด็น ประกอบด้วยทีมงานจากเครือข่ายภาคประชาชนร่วมด้วย เพื่อนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาสะท้อน รวมถึงหามาตรการป้องกัน ทั้งนี้ก่อนการเจรจาและหลังเจรจาจะมีการหารือร่วมกันอย่างใกล้ชิดต่อประเด็นนั้นๆเพื่อรับฟังข้อมูลให้รอบด้าน โดยเฉพาะผลกระทบต่างๆ เพื่อให้ทราบข้อมูลและระวังเรื่องต่างๆ ก่อนนำไปใช้ในการเจรจา ซึ่งคงต้องดูในรายละเอียดว่าอะไรทำได้หรือไม่ได้อย่างไร ทั้งนี้ในส่วนของประเด็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยากให้ภาคประชาชนเสนอข้อมูลที่เป็นปัญหาและอุปสรรค รวมถึงมาตรการป้องกัน ซึ่งเราต้องมีคนทำงานที่เข้ามาหารือร่วมกันอย่างใกล้ชิด และรัฐบาลยืนยันว่า จะให้ความสำคัญและดูแลผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ
กำลังโหลดความคิดเห็น