พบคนไทยกินเค็มจัด เกินกว่าร่างกายควรรับถึง 2 เท่า เสี่ยงความดันสูง ไต หัวใจวาย อัมพฤกษ์ อัมพาต แนะลดเค็มลงครึ่งหนึ่ง เลี่ยงเกลือ น้ำปลา ผงชูรส
วันนี้ (18 ก.พ.) ที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ซอยศูนย์วิจัย ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวในการแถลงข่าว “การจัดงานสัปดาห์วันไตโลก ลดเค็มครึ่งหนึ่ง” ซึ่งจัดโดยสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ว่า จากการสำรวจการบริโภคเกลือของคนไทยโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า คนไทยบริโภคเกลือและโซเดียมสูงถึง 10.8 กรัม (โซเดียม 5,000 มิลลิกรัม) ซึ่งสูงเป็น 2 เท่าของที่ร่างกายควรได้รับต่อวันคือ ไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน (โซเดียม 2,400 มิลลิกรัม) โดย 71% มาจากการเติมเครื่องปรุงรสระหว่างการประกอบอาหาร ที่นิยมใช้มาก 5 ลำดับแรก คือ น้ำปลา ซีอิ๊วขาว เกลือ กะปิ และซอสหอยนางรม เมื่อเปรียบเทียบจะพบว่า เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียมสูงสุดคือ 6,000 มิลลิกรัม รองลงมาคือน้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 1,160-1,420 มิลลิกรัม และซีอิ๊ว 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 960-1420 มิลลิกรัม ตามลำดับ ส่วนอาหารถุงปรุงสำเร็จ มีปริมาณโซเดียมเฉลี่ยต่อถุง 815-3,527 มิลลิกรัม เช่น ไข่พะโล้ แกงไตปลา คั่วกลิ้ง เป็นต้น ส่วนอาหารจานเดียว มีปริมาณโซเดียม 1,000-2,000 มิลลิกรัมต่อ 1 จาน อาทิ ข้าวหน้าเป็ด ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู และข้าวคลุกกะปิ เป็นต้น
“การรับประทานอาหารรสเค็มจัด จะส่งผลให้ความดันโลหิตสูง เพิ่มการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ และยังมีผลเสียต่อไตโดยตรง ทำให้หัวใจทำงานหนักก่อให้เกิดภาวะหัวใจวาย และความดันโลหิตสูง ความดันในสมองเพิ่มขึ้น มีโอกาสเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ จึงควรสร้างนิสัยการรับประทานอาหารอ่อนเค็ม เพื่อสุขภาพที่ดี เริ่มจากการการลดเค็มลงครึ่งหนึ่ง จะช่วยคนไทยห่างไกลโรค” ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าว
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า การลดปริมาณโซเดียมที่รับประทานทำได้โดยหลีกเลี่ยงการใช้เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสต่างๆ และผงชูรส (แม้ไม่เค็มแต่มีโซเดียมสูง) ในการปรุงอาหาร หลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุง อาหารดองเค็ม อาหารแปรรูป เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาแดดเดียว ปลาส้มแหนม ไส้กรอก กุนเชียง หมูหยอง เป็นต้น และเลือกรับประทานอาหารที่มีหลายรสชาติ เช่น แกงส้ม ต้มยำ เพื่อทดแทนรสชาติเค็ม หรือน้ำซุปต่างๆ มักมีปริมาณโซเดียมสูง ควรรับประทานแต่น้อย หรือเทน้ำซุปออกบางส่วนแล้วเติมน้ำเพื่อเจือจาง รวมไปถึงตรวจดูปริมาณโซเดียมต่อหน่วยบริโภคบนฉลากของซอสปรุงรส อาหารสำเร็จรูป และขนมถุง เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง
นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ กล่าวว่า การจัดงานสัปดาห์วันไตโลก ลดเค็มครี่งหนึ่ง ถือเป็นความสำคัญที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯให้การสนับสนุนในเรื่องการรณรงค์ลดเค็มอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้คนไทยเป็นโรคต่างๆ สูงขึ้น โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง ที่มีผู้ป่วยถึง 11.5 ล้านคน โรคไต 7.6 ล้านคน โรคหัวใจขาดเลือด 7.5 แสนคน และโรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต 5 แสนคน โรคกลุ่มนี้เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้องของประชาชน ซึ่งชื่นชอบอาหารรสชาติเค็ม ที่มีอาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมสูง และถือเป็นภัยเงียบที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพอย่างคาดไม่ถึง
ด้าน นาวาอากาศเอก นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในเดือนมีนาคมของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรมวันไตโลก ซึ่งปีนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-17 มี.ค.2556 ส่วนภูมิภาคจัดที่โรงพยาบาลภาครัฐทุกแห่งทั่วประเทศ และส่วนกลางจัดงานวันไตโลก ในวันอาทิตย์ที่ 17 มี.ค.2556 ตั้งแต่เวลา 10.00-21.00 น.ที่โซนอีเดน ชั้น 1 ภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต่างๆ และการป้องกันโรคอย่างเหมาะสม กิจกรรมภายในงาน อาทิ การให้ความรู้เรื่องโรคทั่วไป การสาธิตโภชนาการและผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหารลดเค็มเพื่อผู้บริโภค การเปิดรับบริจาคไต การตรวจสุขภาพ การเสวนาทางการแพทย์ และการแสดงบนเวที โดยกลุ่มศิลปิน นักแสดง ดาราต่างๆ มากมาย สามารถดูรายละเอียดได้ที่ เว็บไซต์ www.nephrothai.org หรือเว็บไซต์ www.lowsaltthailand.org ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
วันนี้ (18 ก.พ.) ที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ซอยศูนย์วิจัย ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวในการแถลงข่าว “การจัดงานสัปดาห์วันไตโลก ลดเค็มครึ่งหนึ่ง” ซึ่งจัดโดยสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ว่า จากการสำรวจการบริโภคเกลือของคนไทยโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า คนไทยบริโภคเกลือและโซเดียมสูงถึง 10.8 กรัม (โซเดียม 5,000 มิลลิกรัม) ซึ่งสูงเป็น 2 เท่าของที่ร่างกายควรได้รับต่อวันคือ ไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน (โซเดียม 2,400 มิลลิกรัม) โดย 71% มาจากการเติมเครื่องปรุงรสระหว่างการประกอบอาหาร ที่นิยมใช้มาก 5 ลำดับแรก คือ น้ำปลา ซีอิ๊วขาว เกลือ กะปิ และซอสหอยนางรม เมื่อเปรียบเทียบจะพบว่า เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียมสูงสุดคือ 6,000 มิลลิกรัม รองลงมาคือน้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 1,160-1,420 มิลลิกรัม และซีอิ๊ว 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 960-1420 มิลลิกรัม ตามลำดับ ส่วนอาหารถุงปรุงสำเร็จ มีปริมาณโซเดียมเฉลี่ยต่อถุง 815-3,527 มิลลิกรัม เช่น ไข่พะโล้ แกงไตปลา คั่วกลิ้ง เป็นต้น ส่วนอาหารจานเดียว มีปริมาณโซเดียม 1,000-2,000 มิลลิกรัมต่อ 1 จาน อาทิ ข้าวหน้าเป็ด ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู และข้าวคลุกกะปิ เป็นต้น
“การรับประทานอาหารรสเค็มจัด จะส่งผลให้ความดันโลหิตสูง เพิ่มการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ และยังมีผลเสียต่อไตโดยตรง ทำให้หัวใจทำงานหนักก่อให้เกิดภาวะหัวใจวาย และความดันโลหิตสูง ความดันในสมองเพิ่มขึ้น มีโอกาสเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ จึงควรสร้างนิสัยการรับประทานอาหารอ่อนเค็ม เพื่อสุขภาพที่ดี เริ่มจากการการลดเค็มลงครึ่งหนึ่ง จะช่วยคนไทยห่างไกลโรค” ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าว
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า การลดปริมาณโซเดียมที่รับประทานทำได้โดยหลีกเลี่ยงการใช้เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสต่างๆ และผงชูรส (แม้ไม่เค็มแต่มีโซเดียมสูง) ในการปรุงอาหาร หลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุง อาหารดองเค็ม อาหารแปรรูป เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาแดดเดียว ปลาส้มแหนม ไส้กรอก กุนเชียง หมูหยอง เป็นต้น และเลือกรับประทานอาหารที่มีหลายรสชาติ เช่น แกงส้ม ต้มยำ เพื่อทดแทนรสชาติเค็ม หรือน้ำซุปต่างๆ มักมีปริมาณโซเดียมสูง ควรรับประทานแต่น้อย หรือเทน้ำซุปออกบางส่วนแล้วเติมน้ำเพื่อเจือจาง รวมไปถึงตรวจดูปริมาณโซเดียมต่อหน่วยบริโภคบนฉลากของซอสปรุงรส อาหารสำเร็จรูป และขนมถุง เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง
นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ กล่าวว่า การจัดงานสัปดาห์วันไตโลก ลดเค็มครี่งหนึ่ง ถือเป็นความสำคัญที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯให้การสนับสนุนในเรื่องการรณรงค์ลดเค็มอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้คนไทยเป็นโรคต่างๆ สูงขึ้น โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง ที่มีผู้ป่วยถึง 11.5 ล้านคน โรคไต 7.6 ล้านคน โรคหัวใจขาดเลือด 7.5 แสนคน และโรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต 5 แสนคน โรคกลุ่มนี้เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้องของประชาชน ซึ่งชื่นชอบอาหารรสชาติเค็ม ที่มีอาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมสูง และถือเป็นภัยเงียบที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพอย่างคาดไม่ถึง
ด้าน นาวาอากาศเอก นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในเดือนมีนาคมของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรมวันไตโลก ซึ่งปีนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-17 มี.ค.2556 ส่วนภูมิภาคจัดที่โรงพยาบาลภาครัฐทุกแห่งทั่วประเทศ และส่วนกลางจัดงานวันไตโลก ในวันอาทิตย์ที่ 17 มี.ค.2556 ตั้งแต่เวลา 10.00-21.00 น.ที่โซนอีเดน ชั้น 1 ภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต่างๆ และการป้องกันโรคอย่างเหมาะสม กิจกรรมภายในงาน อาทิ การให้ความรู้เรื่องโรคทั่วไป การสาธิตโภชนาการและผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหารลดเค็มเพื่อผู้บริโภค การเปิดรับบริจาคไต การตรวจสุขภาพ การเสวนาทางการแพทย์ และการแสดงบนเวที โดยกลุ่มศิลปิน นักแสดง ดาราต่างๆ มากมาย สามารถดูรายละเอียดได้ที่ เว็บไซต์ www.nephrothai.org หรือเว็บไซต์ www.lowsaltthailand.org ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น