พบคนไทยกินเค็มเกินต้องการ 2 เท่า เสี่ยงเป็นความดัน หัวใจ ไต อัมพฤกษ์ อัมพาต เหตุชอบใส่น้ำปลา ซีอิ๊ว ปรุงรสเพิ่ม แนะกินไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา ด้าน ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ จับมือ สธ.-สสส.-เครือข่ายลดบริโภคเค็ม เร่งรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนปรับพฤติกรรมการกิน
วันนี้ (16 ต.ค.) ที่อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ซอยศูนย์วิจัย กทม. นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “รณรงค์ลดการบริโภคเกลือในประเทศไทย” ว่า การบริโภคเกลือในปริมาณที่เหมาะสมจะเป็นผลดีต่อร่างกายคือบริโภคเกลือประมาณวันละ 5 กรัม ถ้าเทียบเป็นปริมาณโซเดียมก็ไม่ควรเกินวันละ 2,400 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา แต่จากการสำรวจพบว่า คนไทยบริโภคเกลือหรือโซเดียมมากกว่าปริมาณที่แนะนำถึง 2 เท่า หรือประมาณ 10.8 กรัม หรือ 5,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งการบริโภคเกลือหรือโซเดียมมากเกินไปเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ และอัมพาต
“จากสถิติปี 2554 พบคนไทยป่วยโรคความดันโลหิตสูง 11.5 ล้านคน มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มปีละ 8 แสนคน เทียบเท่าจำนวนเด็กเกิดใหม่ในแต่ละปี ป่วยโรคไต 7.6 ล้านคน โรคหัวใจขาดเลือด 7.5 แสนคน โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต 5 แสนคน นอกจากนี้ โรคหัวใจขาดเลือดยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตถึง 1 ใน 3 ของการเสียชีวิตทั้งหมด และกว่าร้อยละ 40 เป็นการเสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี ทั้งนี้ โรคดังกล่าวเป็นตัวบั่นทอนคุณภาพชีวิต ทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่ารักษาพยาบาลประมาณแสนล้านบาทต่อปี” รองปลัด สธ.กล่าว
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า สธ.ได้ขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย (2550-2559) โดยลงนามความร่วมมือกับ 7 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อลดปัญหาโรควิถีชีวิต 5 โรค ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง
“นอกจากนี้ สธ.จะรณรงค์สร้างกระแสกินรสจืดยืดชีวิต พร้อมขยายความร่วมมือกับอีก 12 หน่วยงาน และให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมด้านโภชนาการ โดยการปรุงอาหารต้องไม่ใช้วัตถุดิบที่เป็นอาหารหมักดองเค็ม หรืออาหารที่มีรสเค็มจัด รวมไปถึงขอความร่วมมือให้สมาคมภัตตาคารไทย สมาคมผู้ประกอบการร้านอาหาร สมาคมผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยแห่งประเทศไทย ผลิตและจำหน่ายอาหารเมนูสุขภาพที่ลดการปรุงอาหารด้วยผงชูรส เครื่องปรุงรส เป็นทางเลือกให้กับประชาชนในการดูแลสุขภาพ” รองปลัด สธ.กล่าว
ศ.นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ เป็นองค์กรทางวิชาการ ซึ่งที่ผ่านมาเน้นการให้ความรู้แก่แพทย์เท่านั้น แต่ขณะนี้มีการตั้งคณะอนุกรรมการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนด้วย เนื่องจากหากประชาชนไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง ต่อให้แพทย์มีความสามารถมากแค่ไหนก็ไม่มีประโยชน์ เมื่อประชาชนไม่รู้จักป้องกันตัวเองก่อน ซึ่งโครงการ “ลดเค็มครึ่งหนึ่ง คนไทยห่างไกลโรค” เป็นหนึ่งในโครงการความร่วมมือของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย สธ สสส.ฯลฯ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการบริโภคอาหารรสเค็ม
ด้าน ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารมื้อหลักของคนไทย พบว่า ประชาชนร้อยละ 70 ซื้ออาหารกลางวันนอกบ้าน ประเภทอาหารที่ทานบ่อย คือ ข้าวราดแกง อาหารจานเดียว/อาหารตามสั่ง และก๋วยเตี๋ยว มีพฤติกรรมการปรุงเพิ่ม โดยเติมเครื่องปรุงรสเป็นนิสัย ทำให้คนไทยได้รับโซเดียมจากการกินอาหารในแต่ละมื้อโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะน้ำปลา ซีอิ๊วขาว เกลือ กะปิ และซอสหอยนางรม เมื่อเทียบจะพบว่าเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 6,000 มิลลิกรัม น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 1,160-1,420 มิลลิกรัม ซีอิ๊ว 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 960-1420 มิลลิกรัม ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะมีปริมาณโซเดียม 1,150 มิลลิกรัม กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 1,430-1,490 มิลลิกรัม ซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 420-490 มิลลิกรัม
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า การบริโภคเพื่อลดเค็ม สามารถทำได้โดย 1.หลีกเลี่ยงการใช้เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสต่างๆ และผงชูรส 2.หลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุงในอาหารจานเดียว 3.หลีกเลี่ยงอาหารประเภทดองเค็ม อาหารแปรรูป 4.เลือกรับประทานอาหารที่มีหลายรสชาติ เช่น แกงส้ม ต้มยำ เพื่อทดแทนรสชาติเค็ม 5.น้ำซุปต่างๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ควรรับประทานแต่น้อยหรือเทน้ำซุปออกบางส่วนแล้วเติมน้ำเพื่อเจือจางลง และ 6.สังเกตปริมาณโซเดียมที่ฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งอาหารสำเร็จรูป และขนมถุง ก่อนรับประทาน
“การปรับพฤติกรรมลดการกินเค็มต้องค่อยๆ ลดทีละน้อย เนื่องจากลิ้นมีความคุ้นเคยกับรสชาติ ซึ่งกว่าจะลดลงได้ครึ่งหนึ่งอาจใช้เวลาหลายปี ขณะนี้ตั้งเป้าที่จะลดกี่บริโภคเกลือหรือโซเดียมให้ได้ 30% ในเวลา 10 ปี หรือปีละประมาณ 3-5% โดยพยายามรณรงค์ให้ลดการกินเค็มตั้งแต่เด็ก เพราะเด็กจะติดรสเค็มและเมื่อเป็นผู้ใหญ่จะมีโรคก่อนวันอันควร” ปธ.เครือข่ายลดเค็ม กล่าว
วันนี้ (16 ต.ค.) ที่อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ซอยศูนย์วิจัย กทม. นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “รณรงค์ลดการบริโภคเกลือในประเทศไทย” ว่า การบริโภคเกลือในปริมาณที่เหมาะสมจะเป็นผลดีต่อร่างกายคือบริโภคเกลือประมาณวันละ 5 กรัม ถ้าเทียบเป็นปริมาณโซเดียมก็ไม่ควรเกินวันละ 2,400 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา แต่จากการสำรวจพบว่า คนไทยบริโภคเกลือหรือโซเดียมมากกว่าปริมาณที่แนะนำถึง 2 เท่า หรือประมาณ 10.8 กรัม หรือ 5,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งการบริโภคเกลือหรือโซเดียมมากเกินไปเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ และอัมพาต
“จากสถิติปี 2554 พบคนไทยป่วยโรคความดันโลหิตสูง 11.5 ล้านคน มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มปีละ 8 แสนคน เทียบเท่าจำนวนเด็กเกิดใหม่ในแต่ละปี ป่วยโรคไต 7.6 ล้านคน โรคหัวใจขาดเลือด 7.5 แสนคน โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต 5 แสนคน นอกจากนี้ โรคหัวใจขาดเลือดยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตถึง 1 ใน 3 ของการเสียชีวิตทั้งหมด และกว่าร้อยละ 40 เป็นการเสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี ทั้งนี้ โรคดังกล่าวเป็นตัวบั่นทอนคุณภาพชีวิต ทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่ารักษาพยาบาลประมาณแสนล้านบาทต่อปี” รองปลัด สธ.กล่าว
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า สธ.ได้ขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย (2550-2559) โดยลงนามความร่วมมือกับ 7 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อลดปัญหาโรควิถีชีวิต 5 โรค ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง
“นอกจากนี้ สธ.จะรณรงค์สร้างกระแสกินรสจืดยืดชีวิต พร้อมขยายความร่วมมือกับอีก 12 หน่วยงาน และให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมด้านโภชนาการ โดยการปรุงอาหารต้องไม่ใช้วัตถุดิบที่เป็นอาหารหมักดองเค็ม หรืออาหารที่มีรสเค็มจัด รวมไปถึงขอความร่วมมือให้สมาคมภัตตาคารไทย สมาคมผู้ประกอบการร้านอาหาร สมาคมผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยแห่งประเทศไทย ผลิตและจำหน่ายอาหารเมนูสุขภาพที่ลดการปรุงอาหารด้วยผงชูรส เครื่องปรุงรส เป็นทางเลือกให้กับประชาชนในการดูแลสุขภาพ” รองปลัด สธ.กล่าว
ศ.นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ เป็นองค์กรทางวิชาการ ซึ่งที่ผ่านมาเน้นการให้ความรู้แก่แพทย์เท่านั้น แต่ขณะนี้มีการตั้งคณะอนุกรรมการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนด้วย เนื่องจากหากประชาชนไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง ต่อให้แพทย์มีความสามารถมากแค่ไหนก็ไม่มีประโยชน์ เมื่อประชาชนไม่รู้จักป้องกันตัวเองก่อน ซึ่งโครงการ “ลดเค็มครึ่งหนึ่ง คนไทยห่างไกลโรค” เป็นหนึ่งในโครงการความร่วมมือของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย สธ สสส.ฯลฯ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการบริโภคอาหารรสเค็ม
ด้าน ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารมื้อหลักของคนไทย พบว่า ประชาชนร้อยละ 70 ซื้ออาหารกลางวันนอกบ้าน ประเภทอาหารที่ทานบ่อย คือ ข้าวราดแกง อาหารจานเดียว/อาหารตามสั่ง และก๋วยเตี๋ยว มีพฤติกรรมการปรุงเพิ่ม โดยเติมเครื่องปรุงรสเป็นนิสัย ทำให้คนไทยได้รับโซเดียมจากการกินอาหารในแต่ละมื้อโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะน้ำปลา ซีอิ๊วขาว เกลือ กะปิ และซอสหอยนางรม เมื่อเทียบจะพบว่าเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 6,000 มิลลิกรัม น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 1,160-1,420 มิลลิกรัม ซีอิ๊ว 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 960-1420 มิลลิกรัม ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะมีปริมาณโซเดียม 1,150 มิลลิกรัม กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 1,430-1,490 มิลลิกรัม ซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 420-490 มิลลิกรัม
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า การบริโภคเพื่อลดเค็ม สามารถทำได้โดย 1.หลีกเลี่ยงการใช้เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสต่างๆ และผงชูรส 2.หลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุงในอาหารจานเดียว 3.หลีกเลี่ยงอาหารประเภทดองเค็ม อาหารแปรรูป 4.เลือกรับประทานอาหารที่มีหลายรสชาติ เช่น แกงส้ม ต้มยำ เพื่อทดแทนรสชาติเค็ม 5.น้ำซุปต่างๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ควรรับประทานแต่น้อยหรือเทน้ำซุปออกบางส่วนแล้วเติมน้ำเพื่อเจือจางลง และ 6.สังเกตปริมาณโซเดียมที่ฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งอาหารสำเร็จรูป และขนมถุง ก่อนรับประทาน
“การปรับพฤติกรรมลดการกินเค็มต้องค่อยๆ ลดทีละน้อย เนื่องจากลิ้นมีความคุ้นเคยกับรสชาติ ซึ่งกว่าจะลดลงได้ครึ่งหนึ่งอาจใช้เวลาหลายปี ขณะนี้ตั้งเป้าที่จะลดกี่บริโภคเกลือหรือโซเดียมให้ได้ 30% ในเวลา 10 ปี หรือปีละประมาณ 3-5% โดยพยายามรณรงค์ให้ลดการกินเค็มตั้งแต่เด็ก เพราะเด็กจะติดรสเค็มและเมื่อเป็นผู้ใหญ่จะมีโรคก่อนวันอันควร” ปธ.เครือข่ายลดเค็ม กล่าว