เครือข่ายลดเค็มจับมือสถาบันวิจัยอาหาร เร่งวิจัยเกลือที่ไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ (Smart Salt) ชี้ ปริมาณโซเดียมลดลง แต่ความเค็มเท่าเดิม คาด 1 ปีสำเร็จ ช่วยคนชอบกินเค็มไม่เสี่ยงโรคความดันสูง หัวใจ และไตอีกต่อไป ย้ำผู้ป่วยโรคไตห้ามใช้สมุนไพรรักษาโรค เหตุเสี่ยงไตวาย
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวในงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “รณรงค์ลดการบริโภคเกลือในประเทศไทย” ว่า การบริโภคเกลือ (โซเดียม) หรืออาหารที่มีรสเค็มมากเกินไปนั้นส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจ ฯลฯ ซึ่งการลดการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มนั้น นอกจากลดการบริโภคเกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว และซอสหอยนางรมแล้ว ยังต้องลดการบริโภคอาหารที่มีเกลือแฝงอยู่ด้วย อาทิ ผงชูรส ผงฟูที่ใช้ทำเบเกอรี หรือสารถนอมอาหารในอาหารกระป๋อง เป็นต้น เนื่องจากมีส่วนประกอบที่เป็นโซเดียมเหมือนกัน
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า การบริโภคหวาน หรือมันมากจนเกินไป จะทำให้เกิดแคลอรีสะสมในร่างกายจำนวนมาก ส่งผลให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคไตได้เช่นกัน นอกจากนี้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตไม่แนะนำให้ใช้สมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆ เนื่องจากสมุนไพรมีสารสเตียรอยด์ การรับประทานมากๆจะเป็นการกระตุ้นให้ไตเสื่อมมากยิ่งขึ้น
“อย่างสมุนไพรแห้มของอีสาน เมื่อใช้มากๆ ก็สามารถทำให้เป็นโรคไตได้ และคนที่เป็นโรคไตอยู่แล้วก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการไตวายได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม สมุนไพรมีคุณประโยชน์ในการรักษาโรค แต่เป็นการนำสมุนไพรหลายๆชนิดมาผสมกัน ทำให้ไม่รู้ว่าเมื่อผสมกันแล้วจะเกิดสารเคมีใดขึ้นบ้าง ไม่เหมือนการรักษาด้วยยาที่เรารู้สารตั้งต้น เมื่อนำมาผสมกันแล้วเกิดเป็นสารอะไร ดังนั้น จึงต้องมีการตีขลุมไปก่อนว่าผู้เป็นโรคไตไม่ควรใช้สมุนไพรในการรักษา เนื่องจากอาจทำให้ไตเสื่อมไวขึ้นหรือถึงขั้นไตวายได้” ปธ.เครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าว
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้พยายามเร่งรณรงค์ให้คนลดการบริโภคอาหารรสเค็ม เพราะหากประชาชนมีค่านิยมในการกินเค็มน้อยลง ผู้ประกอบอาหาร หรือผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป หรือขนมขบเคี้ยวต่างๆ ก็จะมีความตื่นตัว ผลิตอาหารที่มีความเค็มน้อยลงตามความต้องการของผู้บริโภค ส่วนการปรับพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นต้องค่อยๆลดการกินเค็มลง โดยเฉพาะในเด็ก พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีการจิ้มซอส ปรับลิ้นให้ทานจืดมากขึ้นก็สามารถช่วยได้
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับผู้ที่ติดอาหารรสเค็ม ขณะนี้ทางเครือข่ายฯกำลังวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลิตเกลือที่ไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ (Smart Salt) โดยใช้โพแทสเซียมและแมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบแทนโซเดียม โดยพยายามปรับสูตรเพื่อให้ได้รสชาติเหมือนกับโซเดียม แต่สูตรผสมยังไม่ลงตัว คาดว่า อีกประมาณ 1 ปี จึงจะผลิตออกมาได้สำเร็จ
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวในงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “รณรงค์ลดการบริโภคเกลือในประเทศไทย” ว่า การบริโภคเกลือ (โซเดียม) หรืออาหารที่มีรสเค็มมากเกินไปนั้นส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจ ฯลฯ ซึ่งการลดการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มนั้น นอกจากลดการบริโภคเกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว และซอสหอยนางรมแล้ว ยังต้องลดการบริโภคอาหารที่มีเกลือแฝงอยู่ด้วย อาทิ ผงชูรส ผงฟูที่ใช้ทำเบเกอรี หรือสารถนอมอาหารในอาหารกระป๋อง เป็นต้น เนื่องจากมีส่วนประกอบที่เป็นโซเดียมเหมือนกัน
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า การบริโภคหวาน หรือมันมากจนเกินไป จะทำให้เกิดแคลอรีสะสมในร่างกายจำนวนมาก ส่งผลให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคไตได้เช่นกัน นอกจากนี้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตไม่แนะนำให้ใช้สมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆ เนื่องจากสมุนไพรมีสารสเตียรอยด์ การรับประทานมากๆจะเป็นการกระตุ้นให้ไตเสื่อมมากยิ่งขึ้น
“อย่างสมุนไพรแห้มของอีสาน เมื่อใช้มากๆ ก็สามารถทำให้เป็นโรคไตได้ และคนที่เป็นโรคไตอยู่แล้วก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการไตวายได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม สมุนไพรมีคุณประโยชน์ในการรักษาโรค แต่เป็นการนำสมุนไพรหลายๆชนิดมาผสมกัน ทำให้ไม่รู้ว่าเมื่อผสมกันแล้วจะเกิดสารเคมีใดขึ้นบ้าง ไม่เหมือนการรักษาด้วยยาที่เรารู้สารตั้งต้น เมื่อนำมาผสมกันแล้วเกิดเป็นสารอะไร ดังนั้น จึงต้องมีการตีขลุมไปก่อนว่าผู้เป็นโรคไตไม่ควรใช้สมุนไพรในการรักษา เนื่องจากอาจทำให้ไตเสื่อมไวขึ้นหรือถึงขั้นไตวายได้” ปธ.เครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าว
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้พยายามเร่งรณรงค์ให้คนลดการบริโภคอาหารรสเค็ม เพราะหากประชาชนมีค่านิยมในการกินเค็มน้อยลง ผู้ประกอบอาหาร หรือผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป หรือขนมขบเคี้ยวต่างๆ ก็จะมีความตื่นตัว ผลิตอาหารที่มีความเค็มน้อยลงตามความต้องการของผู้บริโภค ส่วนการปรับพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นต้องค่อยๆลดการกินเค็มลง โดยเฉพาะในเด็ก พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีการจิ้มซอส ปรับลิ้นให้ทานจืดมากขึ้นก็สามารถช่วยได้
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับผู้ที่ติดอาหารรสเค็ม ขณะนี้ทางเครือข่ายฯกำลังวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลิตเกลือที่ไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ (Smart Salt) โดยใช้โพแทสเซียมและแมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบแทนโซเดียม โดยพยายามปรับสูตรเพื่อให้ได้รสชาติเหมือนกับโซเดียม แต่สูตรผสมยังไม่ลงตัว คาดว่า อีกประมาณ 1 ปี จึงจะผลิตออกมาได้สำเร็จ