xs
xsm
sm
md
lg

วาระส้วมแห่งชาติ! สธ.เล็งชง ครม.เปลี่ยนส้วมซึมเป็นชักโครกทั่วประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วาระส้วมระดับชาติ! สธ.เตรียมเสนอ ครม. เปลี่ยนส้วมซึมแบบนั่งยองเป็นชักโครกทั่วประเทศ หวังลดความเสี่ยงการเกิดข้อเข่าเสื่อม หลังพบคนไทยป่วยมากกว่า 6 ล้านคน แนะ ปชช.ลดน้ำหนัก บริหารข้อป้องกันโรค
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ในปี 2556 กรมอนามัย สธ.จะเดินหน้ารณรงค์ให้คนไทยหันมาใช้ส้วมห้อยขาแทนส้วมนั่งยอง เนื่องจากการใช้ส้วมนั่งยองมีผลเสียต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเตรียมเสนอแผนแม่บทการพัฒนาส้วมไทย ระยะที่ 3 ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 20 ก.พ.นี้ เพื่อพิจารณาเห็นชอบในหลักการให้ทุกหน่วยงานเปลี่ยนส้วมนั่งยองเป็นส้วมโถชักโครกแทน โดยตั้งเป้าภายในปี 2559 ทุกครัวเรือนต้องมีส้วมโถชักโครกร้อยละ 90 โดยแผนแม่บทดังกล่าวเป็นการพัฒนาต่อเนื่อง จากแผนเดิมระยะที่ 1 และ 2 จะเน้นการรณรงค์ขอความร่วมมือ แต่ครั้งนี้จะขอเป็นมติ ครม.ให้กลายเป็นวาระแห่งชาติให้ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหันมาร่วมมือกันเพื่อใส่ใจสุขภาพมากยิ่งขึ้น โดยงบประมาณจะเป็นในส่วนของแต่ละหน่วยงานจัดสรร ภายหลัง ครม.มีมติแล้ว

การใช้ส้วมนั่งยองติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี เป็นสาเหตุสำคัญอาจก่อให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อมอายุสูงขึ้นได้ เพราะเวลาขับถ่ายแบบนั่งยองๆ ทำให้ผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก เมื่อเป็นโรคนี้แล้วจะทุกข์ทรมาน รักษาไม่หายขาด ลุกนั่งเดินลำบาก ที่สำคัญนอกจากผู้สูงอายุแล้ว ยังพบว่าคนวัยทำงานมีภาวะข้อเสื่อมด้วย รวมแล้วพบคนไทยป่วยโรคข้อเสื่อมกว่า 6 ล้านคน สอดคล้องกับพฤติกรรมการขับถ่ายของคนไทยที่พบว่า มีบ้านที่ใช้ส้วมนั่งยองร้อยละ 86.0 มีการใช้ส้วมนั่งราบหรือส้วมห้อยขาร้อยละ 10.1 และมีบ้านที่ใช้ทั้งส้วมนั่งยองและส้วมห้อยขาร้อยละ 3.1 ของครัวเรือนทั้งหมดในปี 2553 แสดงว่าปัจจุบันประชากรไทยส่วนใหญ่นิยมใช้ส้วมนั่งยอง” รมช.สาธารณสุขกล่าว

นพ.ชลน่านกล่าวอีกว่า ผลกระทบจากการใช้ส้วมที่ต้องนั่งยองนานๆ ก่อให้เกิดการเสื่อมของข้อเข่าเมื่ออายุสูงขึ้นได้ ประกอบกับปัจจัยทางสังคมที่สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุยังขาดแคลน การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในปัจจุบันแต่ละโรงพยาบาลจะมีผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมเข้ารับการรักษาจำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้ การกินยาแก้ปวด หรือการผ่าตัด ถือว่าเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ โดยค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดครั้งละประมาณ 85,000-150,000 บาทต่อราย

ผู้ป่วยต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันและบริหารข้อเข่า ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายน้อย และสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตนเอง คือ การลดน้ำหนัก การบริหารข้อ การนั่งบนเก้าอี้ที่สูงระดับเข่า และเวลาขับถ่ายควรนั่งถ่ายแบบห้อยขา ไม่ควรนั่งยองๆ เพราะทำให้ผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขา ถูกกดทับ เลือดจะไปเลี้ยงขาได้ไม่ดี ทำให้ขาชา และมีอาการอ่อนแรง หน้ามืด อาจหกล้มศีรษะฟาดฟื้นห้องส้วมเป็นอัมพาตหรือพิการหรือเสียชีวิตได้ และควรทำที่จับยึดบริเวณด้านข้างโถส้วม เพื่อใช้จับพยุงตัว เวลาจะนั่งหรือจะลุกขึ้นยืน” รมช.สาธารณสุขกล่าว
ไทยสู่ยุค “คนชราเต็มเมือง” จี้รัฐกันเงินก้อนโตไว้ดูแล  หมอแนะผู้สูงวัยตุนเงิน “3 ล้านบาท” ไว้รักษา 2 โรคยอดฮิต!
ไทยสู่ยุค “คนชราเต็มเมือง” จี้รัฐกันเงินก้อนโตไว้ดูแล หมอแนะผู้สูงวัยตุนเงิน “3 ล้านบาท” ไว้รักษา 2 โรคยอดฮิต!
ประเทศไทยใกล้เข้าสู่ภาวะคนชราเต็มเมือง แพทย์ชี้โรคหัวใจ-มะเร็ง ผลาญงบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอ่วม แนะว่าที่ “คนแก่” ต้องเตรียมเงินค่ารักษาตัวโรคละ 1.5 ล้านบาท พร้อมเตรียมใจรับสภาพปัญหาขาดแคลนผู้ดูแลระดับวิกฤต สังคมตกที่นั่งลำบาก “เตี้ยอุ้มค่อม” ด้าน ม.มหิดล ของบพันล้านสร้างศูนย์ต้นแบบดูแลผู้สูงอายุครบวงจร วางรากขยายผลทั่วประเทศ กรมอนามัยเผย 3 แผนยุทธศาสตร์พัฒนาผู้สูงอายุ-บริการรัฐ-ชุมชนท้องถิ่น แนะรัฐสร้างระบบสวัสดิการผู้สูงวัย ด้าน กทม.เทงบ 3 พันล้านสร้างโรงพยาบาลผู้สูงอายุ
กำลังโหลดความคิดเห็น