สธ.เตรียมเสนอ ครม.เห็นชอบโครงการ 4 ปี รณรงค์ประชาชนใช้โถส้วมแบบนั่งราบห้อยขา แทนส้วมแบบนั่งยอง ป้องกันปัญหาโรคข้อเข่าเสื่อม ชี้ ผลเสียการนั่งยองงอเข่า ทำให้ผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก เร่งข้อเข่าเสื่อมเร็ว ตั้งเป้าภายในปี 2559 บ้านเรือนร้อยละ 50 สถานที่สาธารณะ 12 ประเภท อาทิ สถานที่ท่องเที่ยว ตลาดร้อยละ 90 จะมีส้วมชนิดนั่งราบห้อยขาใช้ เผย สถานการณ์ล่าสุดพบคนไทยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมกว่า 6 ล้านคน พบทั้งผู้สูงอายุและวัยกลางคนมากขึ้น ขณะที่บ้านเรือนยังใช้ส้วมนั่งยองมากถึงร้อยละ 86
นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี พ.ศ.2553 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุจำนวน 7.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 11.3 ของประชากรทั้งหมด และจากสถิติของผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อในไทยของมูลนิธิโรคข้อ พบว่า ในปี 2549 ไทยมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมกว่า 6 ล้านคน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกทุกๆ ปี โดยในอดีตโรคข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ แต่ทุกวันนี้พบในอายุน้อยลง ในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี ผู้ชายจะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิง ในกลุ่มอายุมากกว่า 45 ปี ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย และยังพบอีกว่า ทั้งชายและหญิงที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป จะป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าร้อยละ 80-90 ทั้งนี้เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยเสริมหลายๆ อย่างประกอบกัน เช่น อ้วน อายุมาก การนั่งยองๆ หรือนั่งพับเพียบบ่อยๆนานๆ กระทำติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี หรือการได้รับบาดเจ็บที่บริเวณข้อเข่า เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมเร็ว และชะลอภาวะข้อเข่าเสื่อมของประชาชน ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุขได้มอบให้กรมอนามัยจัดทำโครงการ “ปลดทุกข์ด้วยรอยยิ้ม โถห้อยขาเสริมสุขผู้สูงวัย พ.ศ.2556-2559” เพื่อรณรงค์และส่งเสริมให้ประชาชนไทยทุกครัวเรือน พร้อมใจกันเปลี่ยนโถส้วมจากชนิดนั่งยองๆ หรือที่เรียกว่า ส้วมซึม หันมาใช้โถส้วมแบบนั่งราบห้อยขา หรือที่เรียกกันติดปากว่าส้วมชักโครก ให้ได้ร้อยละ 50 ภายในปี 2559 ส่วนสถานที่สาธารณะที่ประชาชนใช้บริการเป็นประจำ 12 แห่ง ได้แก่ 1.สถานที่ท่องเที่ยว 2.ตลาด 3.ร้านอาหาร 4.สถานศึกษา 5.สถานที่ราชการ 6.โรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข 7.ศาสนสถาน 8.ห้างสรรพสินค้า 9.สถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง 10.ส้วมริมทาง 11.สถานีขนส่ง และ12.สวนสาธารณะ จะรณรงค์ให้ทุกแห่งปรับเปลี่ยนและเพิ่มโถส้วมแบบนั่งราบห้อยขาอย่างน้อย 1 ที่ ภายในปี 2559 และมีระบบการดูแลความสะอาด เพื่อให้เป็นส้วมที่ได้มาตรฐานความสะอาด ปลอดภัยทุกแห่ง โดยจะเสนอโครงการนี้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบ
ทั้งนี้ ผลสำรวจล่าสุด ขณะนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่ยังนิยมการใช้โถส้วมชนิดนั่งยองสูงถึงร้อยละ 86 มีโถส้วมชนิดนั่งราบห้อยขาเพียงร้อยละ 13 และผลการสำรวจสถานที่สาธารณะต่างๆ เช่น ห้องอาหาร ปั๊มน้ำมัน ในปี 2554 พบว่า มีส้วมแบบนั่งราบห้อยขาแล้วร้อยละ 55 เท่านั้น การใช้โถส้วมชนิดนั่งราบห้อยขาจะลดผลกระทบต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อม แต่การใช้ส้วมนั่งยองจะทำให้ผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก เพราะข้อเข่าต้องงอชิดกันมาก ทำให้ข้อเข่าค่อยๆเสื่อมลงไปเรื่อยๆโดยไม่รู้ตัว และการนั่งงอเข่าจะทำให้เส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงขาถูกกดทับ ทำให้เกิดอาการขาชา ขาอ่อนแรง และอาจหน้ามืด เกิดอุบัติเหตุ ทำให้เป็นอัมพาต พิการ หรือเสียชีวิตได้ ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเข้ารักษาในแต่ละโรงพยาบาลมากกว่า 70 รายต่อปี ผู้ป่วยบางรายเสียค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเป็นเงินจำนวนมาก และยังไม่สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าว
นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี พ.ศ.2553 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุจำนวน 7.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 11.3 ของประชากรทั้งหมด และจากสถิติของผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อในไทยของมูลนิธิโรคข้อ พบว่า ในปี 2549 ไทยมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมกว่า 6 ล้านคน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกทุกๆ ปี โดยในอดีตโรคข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ แต่ทุกวันนี้พบในอายุน้อยลง ในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี ผู้ชายจะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิง ในกลุ่มอายุมากกว่า 45 ปี ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย และยังพบอีกว่า ทั้งชายและหญิงที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป จะป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าร้อยละ 80-90 ทั้งนี้เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยเสริมหลายๆ อย่างประกอบกัน เช่น อ้วน อายุมาก การนั่งยองๆ หรือนั่งพับเพียบบ่อยๆนานๆ กระทำติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี หรือการได้รับบาดเจ็บที่บริเวณข้อเข่า เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมเร็ว และชะลอภาวะข้อเข่าเสื่อมของประชาชน ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุขได้มอบให้กรมอนามัยจัดทำโครงการ “ปลดทุกข์ด้วยรอยยิ้ม โถห้อยขาเสริมสุขผู้สูงวัย พ.ศ.2556-2559” เพื่อรณรงค์และส่งเสริมให้ประชาชนไทยทุกครัวเรือน พร้อมใจกันเปลี่ยนโถส้วมจากชนิดนั่งยองๆ หรือที่เรียกว่า ส้วมซึม หันมาใช้โถส้วมแบบนั่งราบห้อยขา หรือที่เรียกกันติดปากว่าส้วมชักโครก ให้ได้ร้อยละ 50 ภายในปี 2559 ส่วนสถานที่สาธารณะที่ประชาชนใช้บริการเป็นประจำ 12 แห่ง ได้แก่ 1.สถานที่ท่องเที่ยว 2.ตลาด 3.ร้านอาหาร 4.สถานศึกษา 5.สถานที่ราชการ 6.โรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข 7.ศาสนสถาน 8.ห้างสรรพสินค้า 9.สถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง 10.ส้วมริมทาง 11.สถานีขนส่ง และ12.สวนสาธารณะ จะรณรงค์ให้ทุกแห่งปรับเปลี่ยนและเพิ่มโถส้วมแบบนั่งราบห้อยขาอย่างน้อย 1 ที่ ภายในปี 2559 และมีระบบการดูแลความสะอาด เพื่อให้เป็นส้วมที่ได้มาตรฐานความสะอาด ปลอดภัยทุกแห่ง โดยจะเสนอโครงการนี้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบ
ทั้งนี้ ผลสำรวจล่าสุด ขณะนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่ยังนิยมการใช้โถส้วมชนิดนั่งยองสูงถึงร้อยละ 86 มีโถส้วมชนิดนั่งราบห้อยขาเพียงร้อยละ 13 และผลการสำรวจสถานที่สาธารณะต่างๆ เช่น ห้องอาหาร ปั๊มน้ำมัน ในปี 2554 พบว่า มีส้วมแบบนั่งราบห้อยขาแล้วร้อยละ 55 เท่านั้น การใช้โถส้วมชนิดนั่งราบห้อยขาจะลดผลกระทบต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อม แต่การใช้ส้วมนั่งยองจะทำให้ผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก เพราะข้อเข่าต้องงอชิดกันมาก ทำให้ข้อเข่าค่อยๆเสื่อมลงไปเรื่อยๆโดยไม่รู้ตัว และการนั่งงอเข่าจะทำให้เส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงขาถูกกดทับ ทำให้เกิดอาการขาชา ขาอ่อนแรง และอาจหน้ามืด เกิดอุบัติเหตุ ทำให้เป็นอัมพาต พิการ หรือเสียชีวิตได้ ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเข้ารักษาในแต่ละโรงพยาบาลมากกว่า 70 รายต่อปี ผู้ป่วยบางรายเสียค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเป็นเงินจำนวนมาก และยังไม่สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าว