กทม.ผุดโรงบำบัดน้ำเสียอีก 5 แห่งเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำในเมืองกรุง ชุบชีวิตโครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย เผยแล้วเสร็จภายใน 8 ปี ช่วย กทม.บำบัดน้ำเสียรวม 1,765,000 ลบ.ม.ต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 50 ของปริมาณน้ำเสียที่คาดในปี 2563
นางสุทธิมล เกษสมบูรณ์ หัวหน้ากลุ่มงานโครงการและจัดการตะกอน สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ สำนักการระบายน้ำ (สนน.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า กทม.มีแผนก่อสร้างโครงการบำบัดน้ำเสียอีก 4 แห่ง ได้แก่ 1.โครงการบำบัดน้ำเสียมีนบุรี ตั้งอยู่ในพื้นที่ของ กทม.บริเวณประตูระบายน้ำคลองแสนแสบ ติดกับโรงเรียนสารนิเทศมีนบุรี มีพื้นที่ให้บริการ 4.43 ตารางกิโลเมตร (ตร.กม.) ครอบคลุมพื้นที่ แขวงมีนบุรี และแขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 10,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวัน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการกำหนดร่าง TOR คาดว่า จะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างปี 2556-2558 วงเงินงบประมาณ 470 ล้านบาท 2.โครงการบำบัดน้ำเสียธนบุรี ตั้งอยู่ในพื้นที่กรมธนารักษ์มีพื้นที่ให้บริการ 29.48 ตร.กม.ครอบคลุมพื้นที่เขตบางพลัด เขตบางกอกใหญ่ และเขตบางกอกน้อย สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 148,000 ลบ.ม.ต่อวัน โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเสนอขอความเห็นชอบดำเนินจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดในปี 2556 ซึ่งกรมธนารักษ์ให้ กทม.ออกแบบให้ระบบบัดน้ำเสียกับสวนสาธารณะรวมอยู่ในที่เดียวกัน จึงจะอนุญาตให้ใช้พื้นที่ได้ 3.โครงการบำบัดน้ำเสียบึงหนองบอน ตั้งอยู่ในพื้นบึงหนองบอนมีพื้นที่ 63 ตร.กม.ครอบคลุมเขตประเวศ และบางส่วนของเขตบางนาและสวนหลวง สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 135,000 ลบ.ม.ต่อวัน ซึ่งโครงการนี้ได้ทาง กทม.ได้ร่วมมือกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมด้านการเงินและการคลังของการบริหารจัดการน้ำและโครงการบำบัดน้ำเสียบึงหนองบอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว
นางสุทธิมล กล่าวอีกว่า และ 4.โครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตยตั้งอยู่ในพื้นที่บริษัท ไม้อัดไทย (เดิม) ซึ่ง กทม.ได้จัดซื้อมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ กทม.เรียบร้อยแล้ว มีพื้นที่ให้บริการ 56 ตร.กม.ครอบคลุมพื้นที่เขตบางนา พระโขนง ประเวศ สวนหลวง ห้วยขวาง รัชดาฯ และคลองเตย บำบัดน้ำเสียได้ 360,000 ลบ.ม.ต่อวัน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างทบทวนความเหมาะสมก่อนเสนอขออนุมัติโครงการต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) เนื่องจากก่อนหน้านี้ กทม.ได้ศึกษาว่าจะใช้วิธีอนุมัติจ้างเหมาออกแบบก่อสร้างแบบเบ็ดเสร็จ (เทิร์นคีย์) แต่เพราะสภาพสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปมีการก่อสร้างรถไฟฟ้า คอนโดต่างๆ จึงทำให้กทม.ต้องกลับมาทบทวนอีกครั้งโดยให้ที่ปรึกษารายเดิมเป็นผู้ดำเนินการ นอกจากนี้ ยังมีอีก 1 แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ โครงการศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บางซื่อ อย่างไรก็ตาม โครงการบำบัดน้ำเสียทั้ง 5 แห่งจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2563 ซึ่งเมื่อรวมกับโรงบำบัดน้ำเสียอีก 7 แห่งที่เปิดดำเนินการแล้วจะมีความสามารถในการบำบัดน้ำเสียรวม 1,765,000 ลบ.ม.ต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 50 ของปริมาณน้ำเสียที่คาดในปี 2563
นางสุทธิมล เกษสมบูรณ์ หัวหน้ากลุ่มงานโครงการและจัดการตะกอน สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ สำนักการระบายน้ำ (สนน.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า กทม.มีแผนก่อสร้างโครงการบำบัดน้ำเสียอีก 4 แห่ง ได้แก่ 1.โครงการบำบัดน้ำเสียมีนบุรี ตั้งอยู่ในพื้นที่ของ กทม.บริเวณประตูระบายน้ำคลองแสนแสบ ติดกับโรงเรียนสารนิเทศมีนบุรี มีพื้นที่ให้บริการ 4.43 ตารางกิโลเมตร (ตร.กม.) ครอบคลุมพื้นที่ แขวงมีนบุรี และแขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 10,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวัน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการกำหนดร่าง TOR คาดว่า จะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างปี 2556-2558 วงเงินงบประมาณ 470 ล้านบาท 2.โครงการบำบัดน้ำเสียธนบุรี ตั้งอยู่ในพื้นที่กรมธนารักษ์มีพื้นที่ให้บริการ 29.48 ตร.กม.ครอบคลุมพื้นที่เขตบางพลัด เขตบางกอกใหญ่ และเขตบางกอกน้อย สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 148,000 ลบ.ม.ต่อวัน โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเสนอขอความเห็นชอบดำเนินจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดในปี 2556 ซึ่งกรมธนารักษ์ให้ กทม.ออกแบบให้ระบบบัดน้ำเสียกับสวนสาธารณะรวมอยู่ในที่เดียวกัน จึงจะอนุญาตให้ใช้พื้นที่ได้ 3.โครงการบำบัดน้ำเสียบึงหนองบอน ตั้งอยู่ในพื้นบึงหนองบอนมีพื้นที่ 63 ตร.กม.ครอบคลุมเขตประเวศ และบางส่วนของเขตบางนาและสวนหลวง สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 135,000 ลบ.ม.ต่อวัน ซึ่งโครงการนี้ได้ทาง กทม.ได้ร่วมมือกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมด้านการเงินและการคลังของการบริหารจัดการน้ำและโครงการบำบัดน้ำเสียบึงหนองบอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว
นางสุทธิมล กล่าวอีกว่า และ 4.โครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตยตั้งอยู่ในพื้นที่บริษัท ไม้อัดไทย (เดิม) ซึ่ง กทม.ได้จัดซื้อมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ กทม.เรียบร้อยแล้ว มีพื้นที่ให้บริการ 56 ตร.กม.ครอบคลุมพื้นที่เขตบางนา พระโขนง ประเวศ สวนหลวง ห้วยขวาง รัชดาฯ และคลองเตย บำบัดน้ำเสียได้ 360,000 ลบ.ม.ต่อวัน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างทบทวนความเหมาะสมก่อนเสนอขออนุมัติโครงการต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) เนื่องจากก่อนหน้านี้ กทม.ได้ศึกษาว่าจะใช้วิธีอนุมัติจ้างเหมาออกแบบก่อสร้างแบบเบ็ดเสร็จ (เทิร์นคีย์) แต่เพราะสภาพสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปมีการก่อสร้างรถไฟฟ้า คอนโดต่างๆ จึงทำให้กทม.ต้องกลับมาทบทวนอีกครั้งโดยให้ที่ปรึกษารายเดิมเป็นผู้ดำเนินการ นอกจากนี้ ยังมีอีก 1 แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ โครงการศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บางซื่อ อย่างไรก็ตาม โครงการบำบัดน้ำเสียทั้ง 5 แห่งจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2563 ซึ่งเมื่อรวมกับโรงบำบัดน้ำเสียอีก 7 แห่งที่เปิดดำเนินการแล้วจะมีความสามารถในการบำบัดน้ำเสียรวม 1,765,000 ลบ.ม.ต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 50 ของปริมาณน้ำเสียที่คาดในปี 2563