สพฐ.เตรียมกำหนดมาตรฐานการเรียนของ กลุ่ม ร.ร.อินเตอร์ ให้ชัดเจนขึ้น คาด เด็กที่จบ ร.ร.ในกลุ่มดังกล่าวต้องได้วุฒิการศึกษา 2 ใบทั้งไทยและเทศ ที่ ร.ร.ไปร่วมมือเพื่อโอกาสการเรียนต่อในอนาคต หวังรองรับการเป็นฮับทางการศึกษา
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ว่า สพฐ.เตรียมการยกเครื่องโรงเรียนที่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นโรงเรียนศูนย์กลางทางการศึกษาอาเซียน หรือ Education Hub เพราะไทยมีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางการศึกษาเพื่อรองรับนักเรียน นักศึกษาจากต่างประเทศหรือประเทศเพื่อนบ้าน โดยที่ผ่านมา สพฐ.ได้คัดเลือกโรงเรียนไว้จำนวนหนึ่งและดำเนินการมาเข้าสู่ปีที่ 3 แล้วจึงถึงเวลาที่ สพฐ.จะต้องติดตามและส่งเสริมด้านวิชาการให้โรงเรียนเหล่านี้ได้มาตรฐานมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม โรงเรียนดังกล่าวแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มโรงเรียนที่อยู่ในพื้นชายแดนใกล้กับประเทศเพื่อนบ้าน มีจำนวน 14 โรง สอนโดยใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่จะเสริมเรื่องภาษาและวัฒนธรรม เพื่อรองรับนักเรียนจากประเทศเพื่อนบ้านเดินทางเข้ามาเรียนในประเทศไทย รวมทั้งนักเรียนไทยจะได้เรียนรู้ภาษาของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อที่ในวันข้างหน้านักเรียนเหล่านี้อาจจะได้ไปเรียนต่อหรือไปประกอบกิจการกับประเทศเพื่อนบ้านเหล่านั้น และกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มโรงเรียน International Program ซึ่งจะตั้งอยู่ตามเมืองใหญ่ ปัจจุบันมีอยู่ 8 โรงทั่วประเทศ ได้แก่ โรงเรียนโยธินบูรณะ จ.กรุงเทพฯ, โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่, โรงเรียนนารีนุกูล จ.อุบลราชธานี, โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จ.หนองคาย, โรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร จ.ชลบุรี, โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร จ.ระนอง, โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ จ.สงขลา และโรงเรียนสตรีภูเก็ต จ.ภูเก็ต โดยเปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษ
นายชินภัทร กล่าวต่อว่า โรงเรียนกลุ่มนนี้จะเน้นรองรับบุตรหลานของชาวต่างชาติ ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย รวมทั้งนักเรียนไทยด้วย จึงเปิดสอนในรูปแบบต่างๆ เช่น โรงเรียนโยธินบูรณะ ที่ได้ไปร่วมกับทางมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์พัฒนาหลักสูตรขึ้นมาผสมผสานระหว่างหลักสูตรนานาชาติ กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่สอนในหลักสูตร English Program (EP) และ Mini English Program (MEP) เป็นต้น ซึ่งจากที่ได้เริ่มโครงการนี้มาได้ 3 ปี โรงเรียนแต่ละแห่งก็ได้พัฒนาไปตามวิถีทางและศักยภาพของตนเอง จนเกิดความหลากหลาย เพราะฉะนั้น เพื่อรักษาสิทธิ์นักเรียน สพฐ.จึงจะเข้าไปช่วยสร้างความเข้มแข็งให้มากขึ้นโดยเฉพาะทางวิชาการจะเริ่มมีการกำหนดมาตรฐานของหลักสูตรต่างๆ ให้มีความชัดเจนมากขึ้น พร้อมจะให้มีการประเมินความพร้อม
ของโรงเรียนที่จะเข้าโปรแกรมนี้ด้วย นอกจากนั้น สพฐ.จะกำหนดให้นักเรียนที่จบจากโปรแกรมนี้ ต้องได้วุฒิการศึกษาของไทยและต่างประเทศด้วย เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกเรียนต่อในประเทศและต่างประเทศได้โดยไม่เสียโอกาส
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ว่า สพฐ.เตรียมการยกเครื่องโรงเรียนที่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นโรงเรียนศูนย์กลางทางการศึกษาอาเซียน หรือ Education Hub เพราะไทยมีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางการศึกษาเพื่อรองรับนักเรียน นักศึกษาจากต่างประเทศหรือประเทศเพื่อนบ้าน โดยที่ผ่านมา สพฐ.ได้คัดเลือกโรงเรียนไว้จำนวนหนึ่งและดำเนินการมาเข้าสู่ปีที่ 3 แล้วจึงถึงเวลาที่ สพฐ.จะต้องติดตามและส่งเสริมด้านวิชาการให้โรงเรียนเหล่านี้ได้มาตรฐานมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม โรงเรียนดังกล่าวแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มโรงเรียนที่อยู่ในพื้นชายแดนใกล้กับประเทศเพื่อนบ้าน มีจำนวน 14 โรง สอนโดยใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่จะเสริมเรื่องภาษาและวัฒนธรรม เพื่อรองรับนักเรียนจากประเทศเพื่อนบ้านเดินทางเข้ามาเรียนในประเทศไทย รวมทั้งนักเรียนไทยจะได้เรียนรู้ภาษาของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อที่ในวันข้างหน้านักเรียนเหล่านี้อาจจะได้ไปเรียนต่อหรือไปประกอบกิจการกับประเทศเพื่อนบ้านเหล่านั้น และกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มโรงเรียน International Program ซึ่งจะตั้งอยู่ตามเมืองใหญ่ ปัจจุบันมีอยู่ 8 โรงทั่วประเทศ ได้แก่ โรงเรียนโยธินบูรณะ จ.กรุงเทพฯ, โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่, โรงเรียนนารีนุกูล จ.อุบลราชธานี, โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จ.หนองคาย, โรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร จ.ชลบุรี, โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร จ.ระนอง, โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ จ.สงขลา และโรงเรียนสตรีภูเก็ต จ.ภูเก็ต โดยเปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษ
นายชินภัทร กล่าวต่อว่า โรงเรียนกลุ่มนนี้จะเน้นรองรับบุตรหลานของชาวต่างชาติ ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย รวมทั้งนักเรียนไทยด้วย จึงเปิดสอนในรูปแบบต่างๆ เช่น โรงเรียนโยธินบูรณะ ที่ได้ไปร่วมกับทางมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์พัฒนาหลักสูตรขึ้นมาผสมผสานระหว่างหลักสูตรนานาชาติ กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่สอนในหลักสูตร English Program (EP) และ Mini English Program (MEP) เป็นต้น ซึ่งจากที่ได้เริ่มโครงการนี้มาได้ 3 ปี โรงเรียนแต่ละแห่งก็ได้พัฒนาไปตามวิถีทางและศักยภาพของตนเอง จนเกิดความหลากหลาย เพราะฉะนั้น เพื่อรักษาสิทธิ์นักเรียน สพฐ.จึงจะเข้าไปช่วยสร้างความเข้มแข็งให้มากขึ้นโดยเฉพาะทางวิชาการจะเริ่มมีการกำหนดมาตรฐานของหลักสูตรต่างๆ ให้มีความชัดเจนมากขึ้น พร้อมจะให้มีการประเมินความพร้อม
ของโรงเรียนที่จะเข้าโปรแกรมนี้ด้วย นอกจากนั้น สพฐ.จะกำหนดให้นักเรียนที่จบจากโปรแกรมนี้ ต้องได้วุฒิการศึกษาของไทยและต่างประเทศด้วย เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกเรียนต่อในประเทศและต่างประเทศได้โดยไม่เสียโอกาส