สพฐ.หวังเวิร์กชอปพัฒนาวิทยฐานะแนวทางใหม่ นำสู่การกำหนดหลักสูตรกลุ่มสาระ การตีกรอบคุณภาพผู้เรียน
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เมื่อเร็วๆ นี้ หารือถึงการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกัน คุณภาพผู้เรียน (NT) ซึ่งขณะนี้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากได้เดินทางไปศึกษาแนวทางของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ประเทศนิวซีแลนด์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งได้พบว่า นิวซีแลนด์ประเมินสมรรถนะของผู้เรียนโดยให้ความสำคัญกับเรื่องของการอ่านออกเขียนได้ และสมรรถนะด้านการคิดคำนวณเลข อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ประเมินของนักเรียนในประเทศไทย สพฐ.พบว่า จำเป็นต้องเพิ่มเติมในเรื่องความสามารถด้านเหตุผลเข้าไปด้วย ดังนั้น ที่ประชุมจึงมอบหมายภารกิจให้สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ตลอดจนสำนักทดสอบทางการศึกษา ไปนิยามความหมายและขอบเขตของการประเมินทั้ง 3 ด้านต่อไป
นอกจากนี้ ได้เตรียมการเรื่องการพัฒนาระบบการวิทยฐานะแนวทางใหม่ซึ่งจะมีประชุมเชิงปฏิบัติการวันที่ 4-7 พ.ย.นี้ ซึ่งระบบที่จะพัฒนาต้องการมุ่งเน้นยกระดับพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอน และคาดหวังว่า การประชุมดังกล่าวที่จะมีผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่างๆ มาร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะแก่ สพฐ.นั้น จะสามารถกำหนดมาตรฐานหลักสูตรของครูผู้สอนในระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูงทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการที่จะนำมาใช้กำหนดแนวทางการประเมินได้ ซึ่งการกำหนดมาตรฐานหลักสูตรและการกำหนดหลักเกณฑ์นี้ ก็เพื่อให้เป็นไปตามมติสำนักงานคณะกรรมการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) ที่ให้ความเห็นชอบเอาไว้
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เมื่อเร็วๆ นี้ หารือถึงการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกัน คุณภาพผู้เรียน (NT) ซึ่งขณะนี้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากได้เดินทางไปศึกษาแนวทางของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ประเทศนิวซีแลนด์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งได้พบว่า นิวซีแลนด์ประเมินสมรรถนะของผู้เรียนโดยให้ความสำคัญกับเรื่องของการอ่านออกเขียนได้ และสมรรถนะด้านการคิดคำนวณเลข อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ประเมินของนักเรียนในประเทศไทย สพฐ.พบว่า จำเป็นต้องเพิ่มเติมในเรื่องความสามารถด้านเหตุผลเข้าไปด้วย ดังนั้น ที่ประชุมจึงมอบหมายภารกิจให้สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ตลอดจนสำนักทดสอบทางการศึกษา ไปนิยามความหมายและขอบเขตของการประเมินทั้ง 3 ด้านต่อไป
นอกจากนี้ ได้เตรียมการเรื่องการพัฒนาระบบการวิทยฐานะแนวทางใหม่ซึ่งจะมีประชุมเชิงปฏิบัติการวันที่ 4-7 พ.ย.นี้ ซึ่งระบบที่จะพัฒนาต้องการมุ่งเน้นยกระดับพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอน และคาดหวังว่า การประชุมดังกล่าวที่จะมีผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่างๆ มาร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะแก่ สพฐ.นั้น จะสามารถกำหนดมาตรฐานหลักสูตรของครูผู้สอนในระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูงทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการที่จะนำมาใช้กำหนดแนวทางการประเมินได้ ซึ่งการกำหนดมาตรฐานหลักสูตรและการกำหนดหลักเกณฑ์นี้ ก็เพื่อให้เป็นไปตามมติสำนักงานคณะกรรมการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) ที่ให้ความเห็นชอบเอาไว้