อาชีวะรุกหนัก เตรียมทำโครงการอาชีวศึกษาแกนมัธยมศึกษา เรียนจบได้วุฒิ 2 ใบ ทั้ง ม.6 และ ปวช.ใจป้ำให้ใช้ทรัพยากรที่มีของอาชีวะทั้งหมดหวังดูด นร.เรียนอาชีพมากขึ้น พร้อมเร่งยกเครื่องหลักสูตร ปวช./ปวส.ใหม่หลังใช้มานานกว่า 10 ปีเน้นเรื่องภาษา ไอซีที การเตรียมเข้าสู่อาเซียน ขานรับนโยบาย “เสริมศักดิ์” เพิ่มจำนวนวิทยาลัย เล็งตั้ง “วิทยาลัยเวียงป่าเป้า” จ.เชียงราย แห่งแรกหลังสำรวจคนในพื้นที่สนใจเรียนอาชีพกว่า 300 คน
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กำลังจัดทำหลักสูตรอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ใหม่ทั้งหมด หลังจากทั้ง 2 หลักสูตรได้ใช้มานานกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการจัดทำได้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้ ก่อนจะเสนอเป็น ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) บังคับใช้ต่อไป อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงหลักสูตรใหม่นี้ ได้ใส่จุดเน้นที่สำคัญ เช่น การเพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ การนำสื่อการเรียนการสอนไอซีทีเข้ามาใช้มากขึ้น การดำเนินอาชีพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการทำงานในสังคมที่ต่างวัฒนธรรม เพื่อประโยชน์ในการผลิตกำลังคนให้ก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ให้ได้ เป็นต้น
นอกจากนี้ สอศ.กำลังหาวิธีการดึงดูดให้นักเรียนที่จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในสายสามัญหันมาเรียนสายอาชีพมากขึ้น โดยได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อดำเนินการจัดทำโครงการเรียนอาชีวศึกษาในโรงเรียนมัธยม หรือโครงการอาชีวศึกษาแกนมัธยม มีหลักการ คือ ให้นักเรียนมัธยมเรียนทักษะอาชีพกับครูอาชีวะโดยตรง อีกทั้งใช้อุปกรณ์และครุภัณฑ์ของอาชีวะในการเรียนการสอน จนจบการศึกษามาได้วุฒิการศึกษา 2 ใบ ทั้งของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในวุฒิม.6และอาชีวศึกษาในวุฒิ ปวช.อย่างไรก็ดี ได้นำแนวคิดดังกล่าวมาจากโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานบางแห่ง ที่จับมือกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาในการร่วมมือทางการศึกษา แต่ก็ยังได้วุฒิการศึกษาใบเดียว
“เรื่องการเรียนตามโครงการฯแล้วได้วุฒิการศึกษา 2 ใบนั้น ยังอาจต้องใช้ระยะเวลาจัดทำรายละเอียดอีกหลายเดือน ขณะที่ผมมีความคิดว่าโครงการฯดังกล่าว จะต้องมีความเข้มข้นและเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา เบื้องต้นสำหรับรูปแบบการเรียนการสอน อาจต้องเพิ่มรายวิชาที่จำเป็น และชั่วโมงเรียนที่อาจต้องใช้เวลาช่วงซัมเมอร์ทั้งหมด เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาทั้ง สพฐ.และ สอศ.” นายชัยพฤกษ์ กล่าว
เมื่อถามว่า นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ มีนโยบายเพิ่มจำนวนวิทยาลัยอาชีวศึกษา 1 แห่งต่อ 1อำเภอ จะสอดคล้องกับสถิติประชากรวัยเรียนลดลงหรือไม่นั้น นายชัยพฤกษ์ กล่าวว่า ยอมรับว่าการศึกษาทั้งขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษานั้น มียอดจำนวนผู้เรียนน้อยลงทุกที แต่ก็ยังไม่ลดลงมากจนส่งผลกระทบรุนแรง แต่การดำเนินการตามนโยบายนั้น สอศ.จะลงพื้นที่สำรวจยอดผู้สนใจเรียนอาชีวศึกษาก่อน หากพบว่าพื้นที่ใดมีผู้สนใจอยากเรียนอาชีพจำนวนมาก ก็จะจัดตั้งวิทยาลัยให้ โดยขณะนี้ก็พบบางพื้นที่แล้ว อาทิ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย หลังเคยจัดหลักสูตรสอนอาชีพระยะสั้น แล้วมีผู้สนใจเรียนอาชีพ 300 กว่าคน ซึ่งในเร็วๆ นี้ เราก็จะจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้าให้ โดยมีเป้าหมายให้เป็นตามนโยบายรัฐบาลในแผนการผลิตกำลังคนสายสามัญและสายอาชีพสัดส่วน 40:60 ซึ่งปัจจุบันยังกลับตาลปัตรอยู่
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กำลังจัดทำหลักสูตรอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ใหม่ทั้งหมด หลังจากทั้ง 2 หลักสูตรได้ใช้มานานกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการจัดทำได้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้ ก่อนจะเสนอเป็น ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) บังคับใช้ต่อไป อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงหลักสูตรใหม่นี้ ได้ใส่จุดเน้นที่สำคัญ เช่น การเพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ การนำสื่อการเรียนการสอนไอซีทีเข้ามาใช้มากขึ้น การดำเนินอาชีพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการทำงานในสังคมที่ต่างวัฒนธรรม เพื่อประโยชน์ในการผลิตกำลังคนให้ก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ให้ได้ เป็นต้น
นอกจากนี้ สอศ.กำลังหาวิธีการดึงดูดให้นักเรียนที่จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในสายสามัญหันมาเรียนสายอาชีพมากขึ้น โดยได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อดำเนินการจัดทำโครงการเรียนอาชีวศึกษาในโรงเรียนมัธยม หรือโครงการอาชีวศึกษาแกนมัธยม มีหลักการ คือ ให้นักเรียนมัธยมเรียนทักษะอาชีพกับครูอาชีวะโดยตรง อีกทั้งใช้อุปกรณ์และครุภัณฑ์ของอาชีวะในการเรียนการสอน จนจบการศึกษามาได้วุฒิการศึกษา 2 ใบ ทั้งของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในวุฒิม.6และอาชีวศึกษาในวุฒิ ปวช.อย่างไรก็ดี ได้นำแนวคิดดังกล่าวมาจากโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานบางแห่ง ที่จับมือกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาในการร่วมมือทางการศึกษา แต่ก็ยังได้วุฒิการศึกษาใบเดียว
“เรื่องการเรียนตามโครงการฯแล้วได้วุฒิการศึกษา 2 ใบนั้น ยังอาจต้องใช้ระยะเวลาจัดทำรายละเอียดอีกหลายเดือน ขณะที่ผมมีความคิดว่าโครงการฯดังกล่าว จะต้องมีความเข้มข้นและเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา เบื้องต้นสำหรับรูปแบบการเรียนการสอน อาจต้องเพิ่มรายวิชาที่จำเป็น และชั่วโมงเรียนที่อาจต้องใช้เวลาช่วงซัมเมอร์ทั้งหมด เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาทั้ง สพฐ.และ สอศ.” นายชัยพฤกษ์ กล่าว
เมื่อถามว่า นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ มีนโยบายเพิ่มจำนวนวิทยาลัยอาชีวศึกษา 1 แห่งต่อ 1อำเภอ จะสอดคล้องกับสถิติประชากรวัยเรียนลดลงหรือไม่นั้น นายชัยพฤกษ์ กล่าวว่า ยอมรับว่าการศึกษาทั้งขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษานั้น มียอดจำนวนผู้เรียนน้อยลงทุกที แต่ก็ยังไม่ลดลงมากจนส่งผลกระทบรุนแรง แต่การดำเนินการตามนโยบายนั้น สอศ.จะลงพื้นที่สำรวจยอดผู้สนใจเรียนอาชีวศึกษาก่อน หากพบว่าพื้นที่ใดมีผู้สนใจอยากเรียนอาชีพจำนวนมาก ก็จะจัดตั้งวิทยาลัยให้ โดยขณะนี้ก็พบบางพื้นที่แล้ว อาทิ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย หลังเคยจัดหลักสูตรสอนอาชีพระยะสั้น แล้วมีผู้สนใจเรียนอาชีพ 300 กว่าคน ซึ่งในเร็วๆ นี้ เราก็จะจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้าให้ โดยมีเป้าหมายให้เป็นตามนโยบายรัฐบาลในแผนการผลิตกำลังคนสายสามัญและสายอาชีพสัดส่วน 40:60 ซึ่งปัจจุบันยังกลับตาลปัตรอยู่