องคมนตรี ฝากกระทรวงคุณครูเดินตามพระบรมราโชวาท เน้นสร้างคนดีสู่สังคม แนะกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่และจังหวัด กำจัดปัญหาคอร์รัปชัน จึงสร้างโรงเรียนดีได้
วันนี้ (29 พ.ย.) ที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนสปาร์ค นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดงานสัมมนาระดับชาติ เรื่อง “โรงเรียนที่ดีควรเป็นอย่างไร” จัดโดยบริษัท นานมีบุ๊คส์ ว่า ตนอยากฝากพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2 ข้อ คือ 1.พระบรมราโชวาท ที่ทรงรับสั่งว่า เด็กไทยควรจะได้เรียนความรู้ เรียนความดี และเรียนทำงานเป็น โดยเรียนความรู้ชัดเจนอยู่แล้วว่าต้องผ่านสถานศึกษา เหตุที่ต้องสอนความดีชัดเจนว่า เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ครูและโรงเรียน ที่จะต้องสร้างเด็กดี สู่สังคม และเหตุที่ต้องสอนให้เด็กทำงานเป็น เพราะถ้าเด็กฝึกทำงาน เด็กจะรู้ว่าความลำบากคืออะไร และจะรู้วิธีแก้ปัญหา และถ้าเด็กทำงานสำเร็จก็จะมีความภูมิใจในตัวเอง 2.พระราชดำริให้มีโรงเรียนผลิตคนดีสู่สังคมไทย โดยทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ตั้งกองทุนการศึกษา เพื่อให้โรงเรียนผลิตคนดีสู่สังคม ตรงนี้คิดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องไปหารือกัน โดยเฉพาะคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ทั่วประเทศที่ทำหน้าที่ผลิตครู ต้องไปคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะผลิตครูที่ดีให้ออกไปสร้างคนดีสู่สังคมต่อไป
นพ.เกษม กล่าวอีกว่า การจะปลูกฝังให้เด็กเป็นคนดีมีคุณธรรมได้นั้น อยู่ที่ระบบการศึกษา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะต้องกระจายอำนาจการจัดการศึกษาลงไปสู่เขตพื้นที่และจังหวัด แต่ปัญหาคือจะไม่มีทางสร้างโรงเรียนดีได้ หากการแต่งตั้งผู้อำนวยการโรงเรียนยังอยู่ที่ว่าเป็นพวกใคร เพราะจะทำให้ครูที่อยากได้ดีไปเอาใจผู้อำนวยการโรงเรียน
“เท่าที่สัมผัสทุกโรงเรียนมีเรื่องกินเล็กกินน้อยตลอด ดังนั้น เรื่องคอร์รัปชันเป็นอีกเรื่องที่ต้องแก้ไข อยากให้มีการทำวิจัยเรื่องการศึกษาและการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะการฉ้อราษฎรบังหลวงในระบบการศึกษา เรื่องวินัยและการลงโทษ ทำอย่างไรให้ครูที่ไม่ดีออกไปนอกระบบ ครูดีจะได้มีกำลังใจ ตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่เป็นพื้นที่มืด (Dark Area) และทำอย่างไรนักการเมืองจะไม่ใช้ระบบการศึกษาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเรื่องยาก เพราะระบบการศึกษาเป็นหัวคะแนน งบประมาณการศึกษา เป็นช่องทางหาเงิน ซึ่งเป็นที่รู้กันดี และที่สำคัญระบบการศึกษาขาดการเอาใจใส่ของผู้บริหารระดับบน เช่น เรื่องคะแนนการการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) พอผลออกมาว่าคะแนนต่ำก็ออกมาต่อต้าน แทนที่จะไปถามโรงเรียนและแก้ไข” องคมนตรี กล่าว
Mr.Rolf Schulze เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ครูเป็นปัจจัยสำคัญที่จะให้การศึกษาแก่เด็ก ความรู้ ความรับผิดชอบ และการจัดการชีวิตและสังคมของครู สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งต่อให้เด็กนำไปใช้เป็นเครื่องมือสู่ความสำเร็จ ดังนั้น ครูในหลายประเทศจึงมีสถานะที่สูง ครูไม่ใช่ลูกจ้างของโรงเรียนแต่เป็นข้าราชการของประเทศ อย่างไรก็ตาม การศึกษายังเป็นมากกว่าการถ่ายโอนความรู้แต่คือตัวกระตุ้นศักยภาพทั้งหมด และครูจะเป็นตัวช่วยที่สำคัญที่จะทำให้เด็กได้ค้นพบความสามารถของตนเอง ขณะเดียวกัน โรงเรียนที่ดีควรเตรียมความพร้อมในเรื่องภาษาต่างประเทศเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
วันนี้ (29 พ.ย.) ที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนสปาร์ค นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดงานสัมมนาระดับชาติ เรื่อง “โรงเรียนที่ดีควรเป็นอย่างไร” จัดโดยบริษัท นานมีบุ๊คส์ ว่า ตนอยากฝากพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2 ข้อ คือ 1.พระบรมราโชวาท ที่ทรงรับสั่งว่า เด็กไทยควรจะได้เรียนความรู้ เรียนความดี และเรียนทำงานเป็น โดยเรียนความรู้ชัดเจนอยู่แล้วว่าต้องผ่านสถานศึกษา เหตุที่ต้องสอนความดีชัดเจนว่า เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ครูและโรงเรียน ที่จะต้องสร้างเด็กดี สู่สังคม และเหตุที่ต้องสอนให้เด็กทำงานเป็น เพราะถ้าเด็กฝึกทำงาน เด็กจะรู้ว่าความลำบากคืออะไร และจะรู้วิธีแก้ปัญหา และถ้าเด็กทำงานสำเร็จก็จะมีความภูมิใจในตัวเอง 2.พระราชดำริให้มีโรงเรียนผลิตคนดีสู่สังคมไทย โดยทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ตั้งกองทุนการศึกษา เพื่อให้โรงเรียนผลิตคนดีสู่สังคม ตรงนี้คิดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องไปหารือกัน โดยเฉพาะคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ทั่วประเทศที่ทำหน้าที่ผลิตครู ต้องไปคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะผลิตครูที่ดีให้ออกไปสร้างคนดีสู่สังคมต่อไป
นพ.เกษม กล่าวอีกว่า การจะปลูกฝังให้เด็กเป็นคนดีมีคุณธรรมได้นั้น อยู่ที่ระบบการศึกษา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะต้องกระจายอำนาจการจัดการศึกษาลงไปสู่เขตพื้นที่และจังหวัด แต่ปัญหาคือจะไม่มีทางสร้างโรงเรียนดีได้ หากการแต่งตั้งผู้อำนวยการโรงเรียนยังอยู่ที่ว่าเป็นพวกใคร เพราะจะทำให้ครูที่อยากได้ดีไปเอาใจผู้อำนวยการโรงเรียน
“เท่าที่สัมผัสทุกโรงเรียนมีเรื่องกินเล็กกินน้อยตลอด ดังนั้น เรื่องคอร์รัปชันเป็นอีกเรื่องที่ต้องแก้ไข อยากให้มีการทำวิจัยเรื่องการศึกษาและการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะการฉ้อราษฎรบังหลวงในระบบการศึกษา เรื่องวินัยและการลงโทษ ทำอย่างไรให้ครูที่ไม่ดีออกไปนอกระบบ ครูดีจะได้มีกำลังใจ ตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่เป็นพื้นที่มืด (Dark Area) และทำอย่างไรนักการเมืองจะไม่ใช้ระบบการศึกษาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเรื่องยาก เพราะระบบการศึกษาเป็นหัวคะแนน งบประมาณการศึกษา เป็นช่องทางหาเงิน ซึ่งเป็นที่รู้กันดี และที่สำคัญระบบการศึกษาขาดการเอาใจใส่ของผู้บริหารระดับบน เช่น เรื่องคะแนนการการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) พอผลออกมาว่าคะแนนต่ำก็ออกมาต่อต้าน แทนที่จะไปถามโรงเรียนและแก้ไข” องคมนตรี กล่าว
Mr.Rolf Schulze เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ครูเป็นปัจจัยสำคัญที่จะให้การศึกษาแก่เด็ก ความรู้ ความรับผิดชอบ และการจัดการชีวิตและสังคมของครู สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งต่อให้เด็กนำไปใช้เป็นเครื่องมือสู่ความสำเร็จ ดังนั้น ครูในหลายประเทศจึงมีสถานะที่สูง ครูไม่ใช่ลูกจ้างของโรงเรียนแต่เป็นข้าราชการของประเทศ อย่างไรก็ตาม การศึกษายังเป็นมากกว่าการถ่ายโอนความรู้แต่คือตัวกระตุ้นศักยภาพทั้งหมด และครูจะเป็นตัวช่วยที่สำคัญที่จะทำให้เด็กได้ค้นพบความสามารถของตนเอง ขณะเดียวกัน โรงเรียนที่ดีควรเตรียมความพร้อมในเรื่องภาษาต่างประเทศเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน