พม.เตรียมเปิดเวทีฟังความเห็นแก้ปัญหาและปรับปรุง กม.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงฯ แต่ยังเมินข้อเสนอองค์กรสตรีขอทำงานแบบ One Stop Service ฟ้องร้องแทนเหยื่อได้ อ้างเป็นเรื่องในครอบครัว ให้แจ้งศูนย์ประชาบดีเน้นไกล่เกลี่ยมากกว่าดำเนินคดีทางอาญา
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวถึงกรณีองค์กรสตรีเสนอให้ปรับปรุงการบังคับใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว โดยให้องค์กรเอกชนสามารถฟ้องร้องแทนเหยื่อและให้ความช่วยเหลือทั้งหมดได้ในจุดเดียว (One Stop Service) ว่า พม.พร้อมเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นจากทุกหน่วยงาน เพื่อนำไปพิจารณาและปรับปรุง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงฯ ให้เกิดการบังคับใช้และยุติความรุนแรงในครอบครัวได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน มูลนิธิต่างๆ ทั้งด้านเด็กและสตรี ในการเป็นภาคีเครือข่ายแก้ปัญหาความรุนแรง โดยมี พม.เป็นผู้ดูแลในภาพรวมทั้งหมด ส่วนกรณีองค์กรเอกชนฟ้องร้องดำเนินคดีแทนเหยื่อไม่ได้นั้น ขอยืนยันว่าสามารถโทรศัพท์มาแจ้งที่ศูนย์ประชาบดีได้ ซึ่งจะมีหน่วยเคลื่อนที่เร็วลงไปดูแลบริการทันที ส่วนการทำงานแบบ One Stop Service ถือว่าเป็นคนละมิติกับการแก้ปัญหายุติความรุนแรง
นายสันติ กล่าวอีกว่า สำหรับศูนย์ประชาบดีจะเน้นการให้บริการแบบประนีประนอมมากกว่าการฟ้องร้องดำเนินคดี เพราะเป็นเรื่องภายในครอบครัว โดยจะดูที่ระดับความรุนแรงเป็นหลัก หากอยู่ในระดับที่สามารถพูดคุยไกล่เกลี่ยกันได้ก็จะมีนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งมีความสามารถในการรับมือ โต้ตอบ หรือปลอบประโลมทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำความรุนแรงได้ โดยเน้นการทำให้ชายและหญิงเข้าใจและเคารพสิทธิ์ซึ่งกันและกัน แต่หากมีระดับความรุนแรงมาก อย่างกรณีสามีราดน้ำมันจุดไฟเผาภรรยา ก็จะให้เป็นเรื่องในส่วนของคดีอาญาที่ต้องรับผิดชอบต่อไป ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการสอดส่องความรุนแรง
ด้าน นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอที่ต้องการให้มีการดำเนินงานแบบ One Stop Service นั้น เพราะทุกวันนี้เอกชนไม่สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัวแทนเหยื่อได้ ถ้าเหยื่อไม่ต้องการหรือไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของ พม. ดังนั้น หากมีการแก้กฎหมาย หรือประกาศเป็นกฎกระทรวง เพื่อให้องค์กรเอกชนสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีแทนเหยื่อ รวมทั้งสามารถประสานงานกับสถานพยาบาลได้แบบ One Stop Service ย่อมเป็นเรื่องที่ดี ทั้งนี้ ตนจะนำเรื่องดังกล่าวเสนอ พม.อย่างเป็นทางการอีกครั้ง ซึ่งจะเปิดเวทีรับฟังการสะท้อนปัญหาและเสนอแนวทางการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงฯจากหน่วยงานต่างๆ แต่ยังไม่ทราบกำหนดการที่แน่ชัด
นายจะเด็จ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ สิ่งที่ พม.ต้องเร่งดำเนินการคือการรณรงค์อย่างต่อเนื่องให้ประชาชนเห็นความสำคัญของความรุนแรงในครอบครัว เช่น 1 เสียงยุติความรุนแรง ซึ่ง พม.ต้องประชาสัมพันธ์รณรงค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนช่วยกันแจ้งเข้ามาที่ 1300 ศูนย์ประชาบดี เมื่อเห็นมีการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัวทั้งบ้านตัวเองและเพื่อนบ้าน เพื่อให้ความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นน้อยลงและค่อยๆลดปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวถึงกรณีองค์กรสตรีเสนอให้ปรับปรุงการบังคับใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว โดยให้องค์กรเอกชนสามารถฟ้องร้องแทนเหยื่อและให้ความช่วยเหลือทั้งหมดได้ในจุดเดียว (One Stop Service) ว่า พม.พร้อมเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นจากทุกหน่วยงาน เพื่อนำไปพิจารณาและปรับปรุง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงฯ ให้เกิดการบังคับใช้และยุติความรุนแรงในครอบครัวได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน มูลนิธิต่างๆ ทั้งด้านเด็กและสตรี ในการเป็นภาคีเครือข่ายแก้ปัญหาความรุนแรง โดยมี พม.เป็นผู้ดูแลในภาพรวมทั้งหมด ส่วนกรณีองค์กรเอกชนฟ้องร้องดำเนินคดีแทนเหยื่อไม่ได้นั้น ขอยืนยันว่าสามารถโทรศัพท์มาแจ้งที่ศูนย์ประชาบดีได้ ซึ่งจะมีหน่วยเคลื่อนที่เร็วลงไปดูแลบริการทันที ส่วนการทำงานแบบ One Stop Service ถือว่าเป็นคนละมิติกับการแก้ปัญหายุติความรุนแรง
นายสันติ กล่าวอีกว่า สำหรับศูนย์ประชาบดีจะเน้นการให้บริการแบบประนีประนอมมากกว่าการฟ้องร้องดำเนินคดี เพราะเป็นเรื่องภายในครอบครัว โดยจะดูที่ระดับความรุนแรงเป็นหลัก หากอยู่ในระดับที่สามารถพูดคุยไกล่เกลี่ยกันได้ก็จะมีนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งมีความสามารถในการรับมือ โต้ตอบ หรือปลอบประโลมทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำความรุนแรงได้ โดยเน้นการทำให้ชายและหญิงเข้าใจและเคารพสิทธิ์ซึ่งกันและกัน แต่หากมีระดับความรุนแรงมาก อย่างกรณีสามีราดน้ำมันจุดไฟเผาภรรยา ก็จะให้เป็นเรื่องในส่วนของคดีอาญาที่ต้องรับผิดชอบต่อไป ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการสอดส่องความรุนแรง
ด้าน นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอที่ต้องการให้มีการดำเนินงานแบบ One Stop Service นั้น เพราะทุกวันนี้เอกชนไม่สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัวแทนเหยื่อได้ ถ้าเหยื่อไม่ต้องการหรือไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของ พม. ดังนั้น หากมีการแก้กฎหมาย หรือประกาศเป็นกฎกระทรวง เพื่อให้องค์กรเอกชนสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีแทนเหยื่อ รวมทั้งสามารถประสานงานกับสถานพยาบาลได้แบบ One Stop Service ย่อมเป็นเรื่องที่ดี ทั้งนี้ ตนจะนำเรื่องดังกล่าวเสนอ พม.อย่างเป็นทางการอีกครั้ง ซึ่งจะเปิดเวทีรับฟังการสะท้อนปัญหาและเสนอแนวทางการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงฯจากหน่วยงานต่างๆ แต่ยังไม่ทราบกำหนดการที่แน่ชัด
นายจะเด็จ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ สิ่งที่ พม.ต้องเร่งดำเนินการคือการรณรงค์อย่างต่อเนื่องให้ประชาชนเห็นความสำคัญของความรุนแรงในครอบครัว เช่น 1 เสียงยุติความรุนแรง ซึ่ง พม.ต้องประชาสัมพันธ์รณรงค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนช่วยกันแจ้งเข้ามาที่ 1300 ศูนย์ประชาบดี เมื่อเห็นมีการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัวทั้งบ้านตัวเองและเพื่อนบ้าน เพื่อให้ความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นน้อยลงและค่อยๆลดปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว