เครือข่ายสตรี จี้พม.ปรับปรุงการทำงานช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว หลังมีกฎหมายบังคับใช้มา 5 ปี แต่แนวโน้มความรุนแรงไม่ลด เน้นทำงานเชิงรุก เพิ่มเจ้าหน้าที่ มีความเป็นมิตร
วันนี้ (26 พ.ย.) เมื่อเวลา 13.00 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมุนษย์ (พม.) นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พร้อมด้วย น.ส.เพ็ญศรี พึ่งโคกสูง หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และภาคีเครือข่ายองค์กรสตรีกว่า 30 คน เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.พม. ผ่านทางนายสมชาย เจริญอำนวยสุข ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เพื่อให้มีมาตรการที่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 และเสนอแนวทางการทำงานเชิงรุกเพื่อปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย
นายจะเด็จกล่าวว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงฯ มีการบังคับใช้มานานถึง 5 ปี แต่ปัญหาการถูกกระทำความรุนแรงยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก ถูกทำร้ายทั้งร่างกาย จิตใจ และการล่วงละเมิดทางเพศ เจ้าภาพหลักที่ควบคุมดูแล ทั้งการกำหนดนโยบาย การบังคับใช้กฎหมายควรเร่งทำงานให้มีประสิทธิภาพ มีการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ มีเอกภาพ เพราะที่ผ่านมายังพบปัญหาจากการทำงานอย่างเห็นได้ชัด เช่น เจ้าหน้าที่มีน้อย ขาดทักษะการทำงานด้านมิติหญิงชาย ขาดกระบวนการทำงานที่เป็นมิตร ประชาชนขาดการรับรู้ช่องทางหรือกลไกให้ความช่วยเหลือ และอีกจำนวนมากที่ไม่กล้าขอความช่วยเหลือ รวมถึงสภาพสังคมยังมองความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว
นายจะเด็จกล่าวอีกว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้น มูลนิธิฯ และภาคีเครือข่ายได้ยื่นข้อเสนอต่อ พม. เพื่อนำไปพิจารณา ดังนี้ 1. ขอให้มีการพัฒนาศักยภาพของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายฉบับนี้ ให้เข้าใจมิติหญิงชาย ความรุนแรงต่อผู้หญิง เด็ก และครอบครัว 2. ขอให้เร่งปรับปรุงกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตร เพื่อให้ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวเข้าถึงระบบบริการได้สะดวก รวดเร็วทันต่อสถานการณ์ 3. ขอให้ปรับปรุงกลไกการทำงานร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ ให้มีเอกภาพ เช่น บ้านพักเด็กและครอบครัว ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และควรผลักดันให้มีการตั้งคณะกรรมการสหวิชาชีพในระดับจังหวัดทั่วทุกจังหวัด เน้นการทำงานด้านการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิ ช่วยเหลือผู้หญิง เด็กและครอบครัว และ 4.ขอให้เร่งส่งเสริมให้ภาคประชาชน ชุมชน มีความเข้าใจกฎหมาย และเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยอาศัยกลไกตามกฎหมายฉบับนี้
วันนี้ (26 พ.ย.) เมื่อเวลา 13.00 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมุนษย์ (พม.) นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พร้อมด้วย น.ส.เพ็ญศรี พึ่งโคกสูง หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และภาคีเครือข่ายองค์กรสตรีกว่า 30 คน เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.พม. ผ่านทางนายสมชาย เจริญอำนวยสุข ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เพื่อให้มีมาตรการที่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 และเสนอแนวทางการทำงานเชิงรุกเพื่อปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย
นายจะเด็จกล่าวว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงฯ มีการบังคับใช้มานานถึง 5 ปี แต่ปัญหาการถูกกระทำความรุนแรงยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก ถูกทำร้ายทั้งร่างกาย จิตใจ และการล่วงละเมิดทางเพศ เจ้าภาพหลักที่ควบคุมดูแล ทั้งการกำหนดนโยบาย การบังคับใช้กฎหมายควรเร่งทำงานให้มีประสิทธิภาพ มีการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ มีเอกภาพ เพราะที่ผ่านมายังพบปัญหาจากการทำงานอย่างเห็นได้ชัด เช่น เจ้าหน้าที่มีน้อย ขาดทักษะการทำงานด้านมิติหญิงชาย ขาดกระบวนการทำงานที่เป็นมิตร ประชาชนขาดการรับรู้ช่องทางหรือกลไกให้ความช่วยเหลือ และอีกจำนวนมากที่ไม่กล้าขอความช่วยเหลือ รวมถึงสภาพสังคมยังมองความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว
นายจะเด็จกล่าวอีกว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้น มูลนิธิฯ และภาคีเครือข่ายได้ยื่นข้อเสนอต่อ พม. เพื่อนำไปพิจารณา ดังนี้ 1. ขอให้มีการพัฒนาศักยภาพของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายฉบับนี้ ให้เข้าใจมิติหญิงชาย ความรุนแรงต่อผู้หญิง เด็ก และครอบครัว 2. ขอให้เร่งปรับปรุงกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตร เพื่อให้ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวเข้าถึงระบบบริการได้สะดวก รวดเร็วทันต่อสถานการณ์ 3. ขอให้ปรับปรุงกลไกการทำงานร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ ให้มีเอกภาพ เช่น บ้านพักเด็กและครอบครัว ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และควรผลักดันให้มีการตั้งคณะกรรมการสหวิชาชีพในระดับจังหวัดทั่วทุกจังหวัด เน้นการทำงานด้านการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิ ช่วยเหลือผู้หญิง เด็กและครอบครัว และ 4.ขอให้เร่งส่งเสริมให้ภาคประชาชน ชุมชน มีความเข้าใจกฎหมาย และเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยอาศัยกลไกตามกฎหมายฉบับนี้