พะเยา - พมจ.พะเยา เผยการกระทำความรุนแรงต่อเด็ก และสตรีในจังหวัดพะเยายังน่าเป็นห่วง ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และทางเพศ
น.ส.ปราณี วงศ์ประจวบลาภ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพะเยา กล่าวถึงสถานการณ์การกระทำความรุนแรงต่อเด็ก และสตรีในจังหวัดพะเยา ว่า พะเยายังมีความเสี่ยงของการกระทำความความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยมีปัจจัยเกี่ยวเนื่องกับความรุนแรงในครอบครัว คือ การใช้ความรุนแรงทางคำพูด ท่าทาง จิตใจ และทางเพศ ทั้งนี้ การใช้คำพูดแรงๆ พูดจาเสียดสีมีผลต่อจิตใจ จนทำให้คนในครอบครัวรับไม่ได้ และทำให้มีผลต่อการคิดมาก ไปจนถึงการฆ่าตัวตายจากความเครียด
ในด้านความรุนแรงทางเพศ ปัญหามักเกิดจากคู่สมรส คือ มีการแทะโลมด้วยสายตา-วาจา การมีผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาตัวเอง การทะเลาะ จนเป็นสาเหตุในเรื่องของการดื่มสุราเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศ การอนาจาร การข่มขืน รวมไปถึงการหย่าร้างที่มีอัตราเพิ่มจำนวนมากขึ้นในจังหวัดพะเยา
พม.พะเยา กล่าวด้วยว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ เนื่องจากเด็ก และสตรีจำนวนมากต้องทนทุกข์ทรมานจากการถูกทำร้าย ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และทางเพศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาล และองค์กรเอกชนจึงได้พยายามร่วมกันแก้ปัญหาโดยเริ่มจากการผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำในครอบครัว พ.ศ.2550 ซึ่งจังหวัดพะเยาโดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพะเยา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการทำงานร่วมกันเพื่อปกป้องคุ้มครองแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีทีมสหวิชาชีพคอยเข้าไปช่วยเหลือคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรง ผ่านเครือข่ายเฝ้าระวังการกระทำความรุนแรงในระดับชุมชน และท้องถิ่น หากประชาชนบุคคลใดพบเห็นการกระทำความรุนแรงในทุกรูปแบบ สามารถแจ้งมาที่ศูนย์ประชาบดี 1300 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ จากมติของคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2542 เห็นชอบให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็น “เดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี” เพื่อให้สังคมได้ตระหนัก และเห็นถึงความสำคัญของปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และครอบครัว
น.ส.ปราณี วงศ์ประจวบลาภ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพะเยา กล่าวถึงสถานการณ์การกระทำความรุนแรงต่อเด็ก และสตรีในจังหวัดพะเยา ว่า พะเยายังมีความเสี่ยงของการกระทำความความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยมีปัจจัยเกี่ยวเนื่องกับความรุนแรงในครอบครัว คือ การใช้ความรุนแรงทางคำพูด ท่าทาง จิตใจ และทางเพศ ทั้งนี้ การใช้คำพูดแรงๆ พูดจาเสียดสีมีผลต่อจิตใจ จนทำให้คนในครอบครัวรับไม่ได้ และทำให้มีผลต่อการคิดมาก ไปจนถึงการฆ่าตัวตายจากความเครียด
ในด้านความรุนแรงทางเพศ ปัญหามักเกิดจากคู่สมรส คือ มีการแทะโลมด้วยสายตา-วาจา การมีผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาตัวเอง การทะเลาะ จนเป็นสาเหตุในเรื่องของการดื่มสุราเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศ การอนาจาร การข่มขืน รวมไปถึงการหย่าร้างที่มีอัตราเพิ่มจำนวนมากขึ้นในจังหวัดพะเยา
พม.พะเยา กล่าวด้วยว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ เนื่องจากเด็ก และสตรีจำนวนมากต้องทนทุกข์ทรมานจากการถูกทำร้าย ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และทางเพศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาล และองค์กรเอกชนจึงได้พยายามร่วมกันแก้ปัญหาโดยเริ่มจากการผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำในครอบครัว พ.ศ.2550 ซึ่งจังหวัดพะเยาโดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพะเยา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการทำงานร่วมกันเพื่อปกป้องคุ้มครองแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีทีมสหวิชาชีพคอยเข้าไปช่วยเหลือคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรง ผ่านเครือข่ายเฝ้าระวังการกระทำความรุนแรงในระดับชุมชน และท้องถิ่น หากประชาชนบุคคลใดพบเห็นการกระทำความรุนแรงในทุกรูปแบบ สามารถแจ้งมาที่ศูนย์ประชาบดี 1300 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ จากมติของคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2542 เห็นชอบให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็น “เดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี” เพื่อให้สังคมได้ตระหนัก และเห็นถึงความสำคัญของปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และครอบครัว