องค์กรสตรี บุก! สตช.ร้องเข้มกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำฯ แฉรอบ 5 ปี ตำรวจบางส่วนยังนิ่งเฉย ไม่รับแจ้งความ เหตุเจ้าหน้าที่มีอคติ วอนเห็นใจผู้ถูกกระทำ แนะเพิ่มพนักงานสอบสวนหญิงทุก สน.ขณะที่ “พล.ต.อ.ชัชวาลย์” เชียร์เหยื่อเรียกร้องสิทธิ ย้ำคาดโทษหากสน.ไหนไม่ให้ความร่วมมือ
วันนี้ (22 พ.ย.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พร้อมด้วยนางสาวสุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และภาคีเครือข่ายชุมชน กทม.เลิกเหล้า ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก กว่า30 คน เข้าพบ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ที่ปรึกษา สบ10 ในฐานะผู้แทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อนำเสนอปัญหาในรอบ 5 ปี ของตำรวจในการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 รวมถึงยื่นข้อเสนอให้มีพนักงานสอบสวนหญิงทุกสถานีตำรวจ
นายจะเด็จ กล่าวว่า มติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เดือนพ.ย.ของทุกปีเป็นเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ขณะเดียวกันตลอด 5 ปี ของการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ยังพบปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นประชาชนและเจ้าหน้าที่ขาดการรับรู้กฎหมาย การให้บริการไม่เป็นมิตร พนักงานสอบสวนหญิงมีไม่เพียงพอครอบคลุมทุกสถานีตำรวจ ประชาชนขาดการรับรู้ช่องทางหรือกลไกให้ความช่วยเหลือ อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าปัญหาความรุนแรงเป็นเรื่องส่วนตัว หลายรายไม่กล้าขอความช่วยเหลือ ซึ่งปัญหาทั้งหมดมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ต้องให้ความสำคัญบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันและแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม จากปัญหาดังกล่าว มูลนิธิฯและภาคีเครือข่ายมีข้อเสนอต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อนำไปพิจารณาดังนี้ 1.จัดให้มีพนักงานสอบสวนหญิงในทุกสถานีตำรวจ และพัฒนาศักยภาพในการทำงานประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิง เด็กและครอบครัว โดยมีภาระกิจการทำงานที่เกี่ยวกับความรุนแรงต่อเด็ก สตรีและครอบครัวอย่างจริงจัง 2.ให้ความสำคัญกับพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ในการรับแจ้งความและดำเนินการตามกฎหมาย รวมทั้งให้มีการพัฒนากลไกที่เป็นมิตร เพื่อประโยชน์ของผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว และ 3.ขอให้เร่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้กลไกการทำงานตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 แก่ตำรวจทุกนายรวมถึงประชาชนทั่วไป
“ตลอด 5 ปี ของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิของผู้ถูกกระทำ ถือว่าเจ้าหน้าที่บางส่วนยังมีปัญหา เพราะข้อมูลที่ผู้ถูกกระทำ เข้ามารับคำปรึกษาจากมูลนิธิ ทำให้ทราบถึงการรับแจ้งความที่ไร้ประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่บางคนไม่ให้ความร่วมมือ ไม่สนใจ และไม่รับแจ้งความ เพราะมีอคติมองว่าเป็นเรื่องครอบครัว แสดงสีหน้ารำคาญที่เห็นผู้หญิงร้องไห้ ซึ่งนั่นแสดงว่า แม้มีกฎหมายคุ้มครองแต่ผู้ถูกกระทำก็ไม่สามารถเข้าถึงได้ หรืออาจยังไม่เชื่อมั่น เป็นช่องว่างที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ จึงอยากให้ สตช.เร่งแก้ไขในภาพรวมเพื่อให้กลไกเดินหน้าไปได้ ขณะเดียวกัน ทราบว่าจำนวนเจ้าหน้าที่สอบสวนหญิงยังมีไม่เพียงพอ และกระจุกตัวอยู่เฉพาะในพื้นที่เขตเมือง จึงควรแก้ไขปัญหานี้ด้วย” ผอ.มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าว
ด้าน พล.ต.อ.ชัชวาลย์ กล่าวว่า เราให้ความสำคัญกับเรื่องปัญหาความรุนแรงมาโดยตลอด ซึ่งจะเร่งให้ความรู้กับประชาชน และเจ้าหน้าตำรวจพร้อมทั้งประชาสัมพันธ์พ.ร.บ.ฉบับนี้เพื่อให้เกิดการรับรู้รับทราบ และขอให้ผู้เสียหายกล้าที่จะเอาเรื่องกับคนที่กระทำเพื่อให้เกิดกระบวนการนำไปแก้ไข อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ หากยังพบเห็นว่ามีผู้ถูกกระทำเดินเข้าไปแจ้งความแล้วหากตำรวจไม่รู้กฎหมายหรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ขอให้แจ้งข้อมูลมาที่สตช.ได้ทันทีเพราะถือว่ามีความผิด ส่วนการที่เครือข่ายฯ เสนอให้เพิ่มเจ้าหน้าที่สอบสวนหญิงนั้น ขณะนี้มีเจ้าหน้าที่สอบสวนหญิงทั้งหมด 170 คนและจะเพิ่มมาอีก 70 คน เพื่อให้เพียงพอต่อการให้บริการ
วันนี้ (22 พ.ย.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พร้อมด้วยนางสาวสุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และภาคีเครือข่ายชุมชน กทม.เลิกเหล้า ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก กว่า30 คน เข้าพบ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ที่ปรึกษา สบ10 ในฐานะผู้แทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อนำเสนอปัญหาในรอบ 5 ปี ของตำรวจในการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 รวมถึงยื่นข้อเสนอให้มีพนักงานสอบสวนหญิงทุกสถานีตำรวจ
นายจะเด็จ กล่าวว่า มติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เดือนพ.ย.ของทุกปีเป็นเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ขณะเดียวกันตลอด 5 ปี ของการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ยังพบปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นประชาชนและเจ้าหน้าที่ขาดการรับรู้กฎหมาย การให้บริการไม่เป็นมิตร พนักงานสอบสวนหญิงมีไม่เพียงพอครอบคลุมทุกสถานีตำรวจ ประชาชนขาดการรับรู้ช่องทางหรือกลไกให้ความช่วยเหลือ อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าปัญหาความรุนแรงเป็นเรื่องส่วนตัว หลายรายไม่กล้าขอความช่วยเหลือ ซึ่งปัญหาทั้งหมดมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ต้องให้ความสำคัญบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันและแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม จากปัญหาดังกล่าว มูลนิธิฯและภาคีเครือข่ายมีข้อเสนอต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อนำไปพิจารณาดังนี้ 1.จัดให้มีพนักงานสอบสวนหญิงในทุกสถานีตำรวจ และพัฒนาศักยภาพในการทำงานประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิง เด็กและครอบครัว โดยมีภาระกิจการทำงานที่เกี่ยวกับความรุนแรงต่อเด็ก สตรีและครอบครัวอย่างจริงจัง 2.ให้ความสำคัญกับพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ในการรับแจ้งความและดำเนินการตามกฎหมาย รวมทั้งให้มีการพัฒนากลไกที่เป็นมิตร เพื่อประโยชน์ของผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว และ 3.ขอให้เร่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้กลไกการทำงานตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 แก่ตำรวจทุกนายรวมถึงประชาชนทั่วไป
“ตลอด 5 ปี ของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิของผู้ถูกกระทำ ถือว่าเจ้าหน้าที่บางส่วนยังมีปัญหา เพราะข้อมูลที่ผู้ถูกกระทำ เข้ามารับคำปรึกษาจากมูลนิธิ ทำให้ทราบถึงการรับแจ้งความที่ไร้ประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่บางคนไม่ให้ความร่วมมือ ไม่สนใจ และไม่รับแจ้งความ เพราะมีอคติมองว่าเป็นเรื่องครอบครัว แสดงสีหน้ารำคาญที่เห็นผู้หญิงร้องไห้ ซึ่งนั่นแสดงว่า แม้มีกฎหมายคุ้มครองแต่ผู้ถูกกระทำก็ไม่สามารถเข้าถึงได้ หรืออาจยังไม่เชื่อมั่น เป็นช่องว่างที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ จึงอยากให้ สตช.เร่งแก้ไขในภาพรวมเพื่อให้กลไกเดินหน้าไปได้ ขณะเดียวกัน ทราบว่าจำนวนเจ้าหน้าที่สอบสวนหญิงยังมีไม่เพียงพอ และกระจุกตัวอยู่เฉพาะในพื้นที่เขตเมือง จึงควรแก้ไขปัญหานี้ด้วย” ผอ.มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าว
ด้าน พล.ต.อ.ชัชวาลย์ กล่าวว่า เราให้ความสำคัญกับเรื่องปัญหาความรุนแรงมาโดยตลอด ซึ่งจะเร่งให้ความรู้กับประชาชน และเจ้าหน้าตำรวจพร้อมทั้งประชาสัมพันธ์พ.ร.บ.ฉบับนี้เพื่อให้เกิดการรับรู้รับทราบ และขอให้ผู้เสียหายกล้าที่จะเอาเรื่องกับคนที่กระทำเพื่อให้เกิดกระบวนการนำไปแก้ไข อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ หากยังพบเห็นว่ามีผู้ถูกกระทำเดินเข้าไปแจ้งความแล้วหากตำรวจไม่รู้กฎหมายหรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ขอให้แจ้งข้อมูลมาที่สตช.ได้ทันทีเพราะถือว่ามีความผิด ส่วนการที่เครือข่ายฯ เสนอให้เพิ่มเจ้าหน้าที่สอบสวนหญิงนั้น ขณะนี้มีเจ้าหน้าที่สอบสวนหญิงทั้งหมด 170 คนและจะเพิ่มมาอีก 70 คน เพื่อให้เพียงพอต่อการให้บริการ