จิตแพทย์ เผย เหตุเด็กอาชีวะตีกัน เกิดจาก “ภาวะต่อต้านสังคม” บวกค่านิยมรักสถาบันจากรุ่นพี่และสังคมไม่ยอมรับ ดันโครงการดูแลสุขภาพจิต คัดกรองเด็กเป็น 3 กลุ่ม ใช้กลไกทางจิตวิทยาดูแล แนะครูใช้โซเชียลมีเดียเข้าถึงลูกศิษย์
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จัดการประชุมติดตามประเมินผลและประชุมร่วมกับคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะและหาแนวทางการบูรณาการกับเครือข่ายในพื้นที่ ตามโครงการพัฒนารูปแบบการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต เพื่อป้องกันพฤติกรรมรุนแรงในนักเรียน/นักศึกษาอาชีวศึกษา ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีมีนบุรีโปลีเทคนิค ซึ่งเป็นสถานศึกษานำร่อง
นพ.พิทักษ์พล บุณยมาลิก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จ.นครราชสีมา ในฐานะผู้จัดทำโครงการ กล่าวว่า การแก้ปัญหาเด็กตีกันไม่ได้ผล เป็นเพราะครู ตำรวจ และทหาร ไม่มีโอกาสร่วมมือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง หากมองว่าเป็นปัญหาของทุกคน มั่นใจว่าปัญหาดังกล่าวจะแก้ได้ จึงเกิดการทำงานในรูปแบบเครือข่ายขึ้น ทั้งนี้ ต้องแบ่งการดูแลเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มดูแลใกล้ชิดซึ่งมีจำนวนน้อย แต่ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ 2.กลุ่มห่วงใย อาจารย์ที่ปรึกษาจะให้คอยดูแลอยู่ห่างๆ ตามหลักเพื่อนดูแลเพื่อน และ 3.กลุ่มไว้วางใจ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่มีปัญหาพฤติกรรมความรุนแรง
“เด็กบางคนที่ใช้ความรุนแรงมีภาวะต่อต้านสังคม ซึ่งหลายคนในสังคมมีภาวะดังกล่าว แต่มีไม่มากและไม่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แต่หากมีมากเกินไปถือว่าเป็นปัญหาด้านจิตเวช บางคนทำงานไม่ได้ เป็นเด็กก็จะไม่เรียนหนังสือ อะไรที่สังคมทำก็จะไม่เข้าร่วม ซึ่งพบว่าเด็กสายอาชีพมีภาวะดังกล่าวมากกว่าเด็กสายสามัญ และยิ่งมาเจอกับค่านิยมเรื่องสถาบันของรุ่นพี่จึงต้องการแสดงออกให้สังคมสนใจ” ผอ.รพ.จิตเวชนครราชสีมาฯ กล่าว
นพ.พิทักษ์พล กล่าวอีกว่า พฤติกรรมภาวะต่อต้านสังคมเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเยาว์ มีสาเหตุแตกต่างกันไป เช่น เด็กสมาธิสั้น ไอคิวต่ำเกินไปเรียนไม่ทันเพื่อน หรือไอคิวสูงเกินไปทำให้เบื่อหน่ายการเรียน หากมีการคัดกรอง และดูแลตั้งแต่ต้นเหตุก็จะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ นอกจากนี้ ค่านิยมของผู้ปกครองที่ต้องการให้ลูกได้ใบปริญญา และมองว่า การศึกษาสายอาชีพไม่ใช่ทางเลือกที่ดี ทำให้เด็กอาชีวะรู้สึกไม่ได้รับการยอมรับ และยิ่งอยากให้สังคมหันมามอง แต่ไม่รู้จะแสดงออกอย่างไรจึงแสดงออกเชิงลบ
นพ.พิทักษ์พล กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ทางโครงการได้คัดกรองเด็กวิทยาลัยเทคโนโลยีมีนบุรีฯ ออกเป็น 3 กลุ่ม รวมทั้งอบรมครูเพื่อเสริมทักษะการดูแลเด็ก ซึ่งครูกลุ่มนี้จะจัดกิจกรรมต่อเนื่องในสถานศึกษาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อลดอคติ และปรับทัศนคติเชิงบวกให้กับนักเรียนตามหลักสูตรที่โครงการกำหนดไว้ และทำงานขับเคลื่อนไปพร้อมกับเครือข่ายที่ช่วยติดตามพฤติกรรมเด็กกลุ่มเสี่ยงในทางลับ โดยมีทีมสหวิชาชีพที่มีกลไกทางจิตวิทยาเข้าไปช่วยดูแลเด็กที่มีปัญหาเป็นรายบุคคล ซึ่งหลังจากนี้ 4 เดือนจะมีการประเมินผลการดำเนินโครงการฯ เพื่อดูพฤติกรรมของนักเรียน ว่า มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร นอกจากนี้การสื่อสารก็มีความสำคัญ โดยเฉพาะหลังเกิดเหตุการณ์ จำเป็นต้องสื่อสารให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และสื่อสารในเชิงบวก
“ครูควรจะเข้าถึงกลุ่มเครือข่ายเด็กผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน และเป็นการตั้งรับกับปัญหา รับรู้ถึงความเสี่ยงต่างๆ ซึ่งตนเชื่อมั่นว่าหลักสูตรตามโครงการฯ จะช่วยแก้ปัญหาความรุนแรงในเด็กอาชีวะได้ โดยเฉพาะที่วิทยาลัยเทคโนโลยีมีนบุรีฯ เป็นตัวอย่างความร่วมมือระหว่างเครือข่าย และคณะผู้บริหาร ซึ่งเป็นต้นแบบให้สถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้นำไปใช้ต่อไป” นพ.พิทักษ์พล กล่าว
ด้าน พ.ต.ท.วีรพันธ์ สารธรรม สารวัตรป้องกันและปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลมีนบุรี กล่าวว่า การดำเนินการที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาสำคัญคือการขาดการติดต่อสื่อสาร ดังนั้นเมื่อโรงเรียนได้รับข้อมูลการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว ต้องแจ้งกับนักเรียนให้ทราบว่าตำรวจดำเนินการอะไรไปบ้างแล้ว เพื่อป้องกันเด็กไปแก้ปัญหาเอง ขณะเดียวกันสถานีตำรวจนครบาลมีนบุรีก็มีการประมวลข้อมูลเด็กจากโรงเรียนต่างๆ ที่มีปัญหาความรุนแรง ประสานไปยัง ศธ.เพื่อรับทราบและแก้ไขปัญหาต่อไป เพราะการที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายในการทำงานดูแลและป้องกันพฤติกรรมความรุนแรงในเด็ก ทำให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการประสานงานที่ดีขึ้นด้วย
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จัดการประชุมติดตามประเมินผลและประชุมร่วมกับคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะและหาแนวทางการบูรณาการกับเครือข่ายในพื้นที่ ตามโครงการพัฒนารูปแบบการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต เพื่อป้องกันพฤติกรรมรุนแรงในนักเรียน/นักศึกษาอาชีวศึกษา ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีมีนบุรีโปลีเทคนิค ซึ่งเป็นสถานศึกษานำร่อง
นพ.พิทักษ์พล บุณยมาลิก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จ.นครราชสีมา ในฐานะผู้จัดทำโครงการ กล่าวว่า การแก้ปัญหาเด็กตีกันไม่ได้ผล เป็นเพราะครู ตำรวจ และทหาร ไม่มีโอกาสร่วมมือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง หากมองว่าเป็นปัญหาของทุกคน มั่นใจว่าปัญหาดังกล่าวจะแก้ได้ จึงเกิดการทำงานในรูปแบบเครือข่ายขึ้น ทั้งนี้ ต้องแบ่งการดูแลเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มดูแลใกล้ชิดซึ่งมีจำนวนน้อย แต่ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ 2.กลุ่มห่วงใย อาจารย์ที่ปรึกษาจะให้คอยดูแลอยู่ห่างๆ ตามหลักเพื่อนดูแลเพื่อน และ 3.กลุ่มไว้วางใจ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่มีปัญหาพฤติกรรมความรุนแรง
“เด็กบางคนที่ใช้ความรุนแรงมีภาวะต่อต้านสังคม ซึ่งหลายคนในสังคมมีภาวะดังกล่าว แต่มีไม่มากและไม่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แต่หากมีมากเกินไปถือว่าเป็นปัญหาด้านจิตเวช บางคนทำงานไม่ได้ เป็นเด็กก็จะไม่เรียนหนังสือ อะไรที่สังคมทำก็จะไม่เข้าร่วม ซึ่งพบว่าเด็กสายอาชีพมีภาวะดังกล่าวมากกว่าเด็กสายสามัญ และยิ่งมาเจอกับค่านิยมเรื่องสถาบันของรุ่นพี่จึงต้องการแสดงออกให้สังคมสนใจ” ผอ.รพ.จิตเวชนครราชสีมาฯ กล่าว
นพ.พิทักษ์พล กล่าวอีกว่า พฤติกรรมภาวะต่อต้านสังคมเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเยาว์ มีสาเหตุแตกต่างกันไป เช่น เด็กสมาธิสั้น ไอคิวต่ำเกินไปเรียนไม่ทันเพื่อน หรือไอคิวสูงเกินไปทำให้เบื่อหน่ายการเรียน หากมีการคัดกรอง และดูแลตั้งแต่ต้นเหตุก็จะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ นอกจากนี้ ค่านิยมของผู้ปกครองที่ต้องการให้ลูกได้ใบปริญญา และมองว่า การศึกษาสายอาชีพไม่ใช่ทางเลือกที่ดี ทำให้เด็กอาชีวะรู้สึกไม่ได้รับการยอมรับ และยิ่งอยากให้สังคมหันมามอง แต่ไม่รู้จะแสดงออกอย่างไรจึงแสดงออกเชิงลบ
นพ.พิทักษ์พล กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ทางโครงการได้คัดกรองเด็กวิทยาลัยเทคโนโลยีมีนบุรีฯ ออกเป็น 3 กลุ่ม รวมทั้งอบรมครูเพื่อเสริมทักษะการดูแลเด็ก ซึ่งครูกลุ่มนี้จะจัดกิจกรรมต่อเนื่องในสถานศึกษาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อลดอคติ และปรับทัศนคติเชิงบวกให้กับนักเรียนตามหลักสูตรที่โครงการกำหนดไว้ และทำงานขับเคลื่อนไปพร้อมกับเครือข่ายที่ช่วยติดตามพฤติกรรมเด็กกลุ่มเสี่ยงในทางลับ โดยมีทีมสหวิชาชีพที่มีกลไกทางจิตวิทยาเข้าไปช่วยดูแลเด็กที่มีปัญหาเป็นรายบุคคล ซึ่งหลังจากนี้ 4 เดือนจะมีการประเมินผลการดำเนินโครงการฯ เพื่อดูพฤติกรรมของนักเรียน ว่า มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร นอกจากนี้การสื่อสารก็มีความสำคัญ โดยเฉพาะหลังเกิดเหตุการณ์ จำเป็นต้องสื่อสารให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และสื่อสารในเชิงบวก
“ครูควรจะเข้าถึงกลุ่มเครือข่ายเด็กผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน และเป็นการตั้งรับกับปัญหา รับรู้ถึงความเสี่ยงต่างๆ ซึ่งตนเชื่อมั่นว่าหลักสูตรตามโครงการฯ จะช่วยแก้ปัญหาความรุนแรงในเด็กอาชีวะได้ โดยเฉพาะที่วิทยาลัยเทคโนโลยีมีนบุรีฯ เป็นตัวอย่างความร่วมมือระหว่างเครือข่าย และคณะผู้บริหาร ซึ่งเป็นต้นแบบให้สถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้นำไปใช้ต่อไป” นพ.พิทักษ์พล กล่าว
ด้าน พ.ต.ท.วีรพันธ์ สารธรรม สารวัตรป้องกันและปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลมีนบุรี กล่าวว่า การดำเนินการที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาสำคัญคือการขาดการติดต่อสื่อสาร ดังนั้นเมื่อโรงเรียนได้รับข้อมูลการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว ต้องแจ้งกับนักเรียนให้ทราบว่าตำรวจดำเนินการอะไรไปบ้างแล้ว เพื่อป้องกันเด็กไปแก้ปัญหาเอง ขณะเดียวกันสถานีตำรวจนครบาลมีนบุรีก็มีการประมวลข้อมูลเด็กจากโรงเรียนต่างๆ ที่มีปัญหาความรุนแรง ประสานไปยัง ศธ.เพื่อรับทราบและแก้ไขปัญหาต่อไป เพราะการที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายในการทำงานดูแลและป้องกันพฤติกรรมความรุนแรงในเด็ก ทำให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการประสานงานที่ดีขึ้นด้วย