เปิดตัวศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายชุมชนลดละเลิกเหล้า-ยุติความรุนแรง แห่งแรกในกรุงเทพฯ หลังพบแนวโน้มน่าห่วง เด็ก-สตรี ถูกทำร้าย71 รายต่อวัน พร้อมดึงแกนนำชุมชนเฝ้าระวัง ประสานหน่วยงานเกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือ เชื่อแก้ปัญหาความรุนแรงสาเหตุจากน้ำเมาได้
วันนี้ (1 พ.ย.) ที่โรงพยาบาลตากสิน มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ โรงพยาบาลตากสิน สถานีตำรวจนครบาลสำเหร่ สำนักงานเขตธนบุรี จัดกิจกรรมรณรงค์ “สานมือ ส่งใจ ร่วมยุติความรุนแรง” พร้อมแถลงข่าวเปิดตัว “ศูนย์การเรียนรู้ ชุมชนลด ละ เลิกเหล้า ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง เด็ก และครอบครัว” ขึ้นเป็นแห่งแรกใน กทม.โดยศูนย์ดังกล่าวตั้งขึ้นที่ชุมชนหลังไปรษณีย์สำเหร่
น.ส.สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เปิดเผยว่า การเปิดตัวศูนย์การเรียนรู้ฯ เป็นที่แรกใน กทม.เนื่องจากแกนนำที่ทำงานในพื้นที่ ได้รับรู้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง และเกิดการเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ มีทักษะในการจัดกิจกรรมเพื่อลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดปัญหาความรุนแรง เห็นได้จากสถิติของศูนย์พึ่งได้ (OSCC) กระทรวงสาธารณสุขปี 2553 พบว่า ปัญหาเด็กและสตรีถูกกระทำความรุนแรงมากถึง 25,744 ราย หรือเฉลี่ย 71 ราย ต่อวัน ส่วนปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดความรุนแรงมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แทบทั้งสิ้น
“ศูนย์การเรียนรู้ฯจะมีบทบาทในการทำงานเชิงรุก เพื่อแก้ไข และลดปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก ผู้หญิง และครอบครัว โดยมีแกนนำชุมชนที่ผ่านการอบรม คอยทำหน้าที่รับเรื่องร้องทุกข์ ประสานงานส่งต่อไปยังหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีการทำงานแบบสหวิชาชีพ อย่างไรก็ตาม ศูนย์การเรียนรู้ฯจะไม่ทำงานซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น ที่มีในปัจจุบัน เพราะจะเน้นทำงานในชุมชน ประสานไปยังเจ้าหน้าที่ภาครัฐ อีกทั้งยังมีกิจกรรมสร้างพฤติกรรมลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์การเรียนรู้ฯเกิดขึ้นแล้วกว่า 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ชุมพร สมุทรปราการ อำนาจเจริญ นนทบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และเชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม ทางมูลนิธิฯอยากให้มีจัดตั้งศูนย์ฯกระจายไปตามเขตต่างๆโดยการสนับสนุนของกทม.” น.ส.สุเพ็ญศรี กล่าว
น.ส.สุเพ็ญศรี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเดือนพฤศจิกายน เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กครบรอบเป็นปีที่ 5 แต่สิ่งที่พบ คือ ปัญหาความรุนแรงยังมีให้เห็นและเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ แม้มีหลายหน่วยงานรณรงค์ แต่การแก้ปัญหาไม่สามารถทำได้เพียงหน่วยงานหรือองค์เดียว เพราะการรณรงค์จะได้ผลประชาชนต้องเกิดการรับรู้ เห็นถึงผลกระทบที่รุนแรงเลวร้าย หากปล่อยให้ความรุนแรงเกิดซ้ำๆพฤติกรรมเลียนแบบจะเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ยังมีคนบางกลุ่มไม่สนใจ เพราะคิดว่า ความรุนแรงจะไม่เกิดขึ้นกับครอบครัวตัวเอง แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจึงไม่รู้ว่าต้องขอความช่วยเหลือหรือปรึกษาหน่วยงานใด นอกจากนี้ ทางมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลยังมีนวัตกรรมใหม่ เพื่อแก้ปัญหาความรุนแรงโดยการสนับสนุนให้เครือข่ายชุมชนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการปรับพฤติกรรมผู้กระทำความรุนแรง ให้เกิดความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อคนในครอบครัว
ด้านนางเกษร ศรีอุทิศ ผู้ประสานงานเครือข่ายชุมชนกทม.ลดละเลิกเหล้า ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก กล่าวว่า จากการทำงานกว่า 5 ปีในชุมชน ส่งผลให้ความรุนแรงลดลง เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานต่างๆรวมถึงสื่อมวลชน จึงพร้อมใจประกาศให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ ซึ่งแน่นอนว่าศักยภาพของแกนนำในชุมชนทุกคน ผ่านการอบรมทักษะมาเป็นอย่างดี มีความเข้าใจด้านมิติหญิงชาย เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงสามารถทำหน้าที่และคอยให้คำปรึกษาเพื่อส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเด่นๆ อาทิ การลงเยี่ยมบ้าน กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ค่ายครอบครัว การรณรงค์ในชุมชน การทำงานร่วมกับกลไกภาครัฐในพื้นที่เพื่อช่วยเหลือและป้องกันปัญหาความรุนแรง นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับชุมชนในกรุงเทพฯ ได้แก่ ชุมชนมาตานุสรณ์ ชุมชนอู่ใหม่ ชุมชนเครือข่ายสหกรณ์สามล้อเอื้ออาทรเพื่อคนจนจำกัด ชุมชนพุ่มโพธิ์กลาง ชุมชนสวนอ้อย และชุมชนซอยพระเจน เป็นต้น
วันนี้ (1 พ.ย.) ที่โรงพยาบาลตากสิน มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ โรงพยาบาลตากสิน สถานีตำรวจนครบาลสำเหร่ สำนักงานเขตธนบุรี จัดกิจกรรมรณรงค์ “สานมือ ส่งใจ ร่วมยุติความรุนแรง” พร้อมแถลงข่าวเปิดตัว “ศูนย์การเรียนรู้ ชุมชนลด ละ เลิกเหล้า ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง เด็ก และครอบครัว” ขึ้นเป็นแห่งแรกใน กทม.โดยศูนย์ดังกล่าวตั้งขึ้นที่ชุมชนหลังไปรษณีย์สำเหร่
น.ส.สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เปิดเผยว่า การเปิดตัวศูนย์การเรียนรู้ฯ เป็นที่แรกใน กทม.เนื่องจากแกนนำที่ทำงานในพื้นที่ ได้รับรู้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง และเกิดการเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ มีทักษะในการจัดกิจกรรมเพื่อลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดปัญหาความรุนแรง เห็นได้จากสถิติของศูนย์พึ่งได้ (OSCC) กระทรวงสาธารณสุขปี 2553 พบว่า ปัญหาเด็กและสตรีถูกกระทำความรุนแรงมากถึง 25,744 ราย หรือเฉลี่ย 71 ราย ต่อวัน ส่วนปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดความรุนแรงมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แทบทั้งสิ้น
“ศูนย์การเรียนรู้ฯจะมีบทบาทในการทำงานเชิงรุก เพื่อแก้ไข และลดปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก ผู้หญิง และครอบครัว โดยมีแกนนำชุมชนที่ผ่านการอบรม คอยทำหน้าที่รับเรื่องร้องทุกข์ ประสานงานส่งต่อไปยังหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีการทำงานแบบสหวิชาชีพ อย่างไรก็ตาม ศูนย์การเรียนรู้ฯจะไม่ทำงานซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น ที่มีในปัจจุบัน เพราะจะเน้นทำงานในชุมชน ประสานไปยังเจ้าหน้าที่ภาครัฐ อีกทั้งยังมีกิจกรรมสร้างพฤติกรรมลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์การเรียนรู้ฯเกิดขึ้นแล้วกว่า 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ชุมพร สมุทรปราการ อำนาจเจริญ นนทบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และเชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม ทางมูลนิธิฯอยากให้มีจัดตั้งศูนย์ฯกระจายไปตามเขตต่างๆโดยการสนับสนุนของกทม.” น.ส.สุเพ็ญศรี กล่าว
น.ส.สุเพ็ญศรี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเดือนพฤศจิกายน เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กครบรอบเป็นปีที่ 5 แต่สิ่งที่พบ คือ ปัญหาความรุนแรงยังมีให้เห็นและเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ แม้มีหลายหน่วยงานรณรงค์ แต่การแก้ปัญหาไม่สามารถทำได้เพียงหน่วยงานหรือองค์เดียว เพราะการรณรงค์จะได้ผลประชาชนต้องเกิดการรับรู้ เห็นถึงผลกระทบที่รุนแรงเลวร้าย หากปล่อยให้ความรุนแรงเกิดซ้ำๆพฤติกรรมเลียนแบบจะเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ยังมีคนบางกลุ่มไม่สนใจ เพราะคิดว่า ความรุนแรงจะไม่เกิดขึ้นกับครอบครัวตัวเอง แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจึงไม่รู้ว่าต้องขอความช่วยเหลือหรือปรึกษาหน่วยงานใด นอกจากนี้ ทางมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลยังมีนวัตกรรมใหม่ เพื่อแก้ปัญหาความรุนแรงโดยการสนับสนุนให้เครือข่ายชุมชนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการปรับพฤติกรรมผู้กระทำความรุนแรง ให้เกิดความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อคนในครอบครัว
ด้านนางเกษร ศรีอุทิศ ผู้ประสานงานเครือข่ายชุมชนกทม.ลดละเลิกเหล้า ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก กล่าวว่า จากการทำงานกว่า 5 ปีในชุมชน ส่งผลให้ความรุนแรงลดลง เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานต่างๆรวมถึงสื่อมวลชน จึงพร้อมใจประกาศให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ ซึ่งแน่นอนว่าศักยภาพของแกนนำในชุมชนทุกคน ผ่านการอบรมทักษะมาเป็นอย่างดี มีความเข้าใจด้านมิติหญิงชาย เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงสามารถทำหน้าที่และคอยให้คำปรึกษาเพื่อส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเด่นๆ อาทิ การลงเยี่ยมบ้าน กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ค่ายครอบครัว การรณรงค์ในชุมชน การทำงานร่วมกับกลไกภาครัฐในพื้นที่เพื่อช่วยเหลือและป้องกันปัญหาความรุนแรง นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับชุมชนในกรุงเทพฯ ได้แก่ ชุมชนมาตานุสรณ์ ชุมชนอู่ใหม่ ชุมชนเครือข่ายสหกรณ์สามล้อเอื้ออาทรเพื่อคนจนจำกัด ชุมชนพุ่มโพธิ์กลาง ชุมชนสวนอ้อย และชุมชนซอยพระเจน เป็นต้น