ผู้ป่วยสิทธิ ขรก.เฮ! คกก.กำหนดระบบยาฯ ฉีก 2 ประกาศกรมบัญชีกลาง ไฟเขียวเบิกยากลูโคซามีนฯตามข้อบ่งชี้ แต่ไม่เกินราคากลาง พร้อมเลิก 1 รพ.1 โรคเรื้อรัง เกรงคนไข้ล้นโรงพยาบาล เตรียมแจ้งกรมบัญชีกลาง และชงเข้าครม.ดีเดย์ 1 ม.ค.56
วันนี้ (19 พ.ย.) เมื่อเวลา 16.30 น. นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมคณะกรรมการกำหนดระบบบริหารยา เวชภัณฑ์ การเบิกจ่ายค่าตรวจวินิจฉัย และค่าบริการทางการแพทย์ ว่า การประชุมครั้งนี้มีข้อสรุปสำคัญ 3 ส่วน เพื่อแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายด้านยา คือ 1.กรมบัญชีกลางออกประกาศห้ามเบิกจ่ายยากลูโคซามีนซัลเฟต ให้สามารถใช้ได้ตามข้อบ่งชี้และมาตรฐานทางการแพทย์ โดยจะจัดทำราคากลางสำหรับการเบิกค่ายา หากใช้ยี่ห้อที่มีราคาแพงกว่าราคากลางผู้ป่วยต้องจ่ายเงินเอง
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า 2.คณะกรรมการฯมีมติให้ยกเลิกประกาศกรมบัญชีกลางเรื่อง 1 โรงพยาบาล 1 โรคเรื้อรัง หรือ 1 โรงพยาบาล หลายโรคเรื้อรัง เนื่องจากอาจเกิดความแออัดในสถานพยาบาลขนาดใหญ่มากขึ้น ส่วนแนวทางแก้ปัญหาผู้ป่วยวนรับยาหลายสถานพยาบาลนั้น เสนอว่า ระยะสั้น หากเข้ารับบริการสถานพยาบาลที่ไม่ใช่สถานพยาบาลหลักต้องสำรองจ่ายค่ายาเอง ไม่สามารถเบิกจ่ายตรงได้ ส่วนอนาคตจะเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของทุกสถานพยาบาล ให้สามารถตรวจสอบการรับยาของผู้ป่วยได้ และ 3.ประกาศกรมบัญชีกลาง เรื่อง การระบุเหตุผลการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่าย คณะกรรมการเห็นชอบให้มีการเพิ่มเติมข้อกำหนดว่าให้อนุญาตให้ใช้ได้ตามข้อบ่งชี้ทางวิชาชีพที่มีผู้เชี่ยวชาญ อาทิ อธิบดีกรมการแพทย์ หรือราชวิทยาลัยให้คำแนะนำ
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ได้มีมติในส่วนของการควบคุมราคายา โดยจะมีการกำหนดราคากลางและต่อรองราคายาให้ถูกลง สำหรับปัญหาสถานพยาบาลจัดซื้อยาของผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการแพงกว่ากองทุนสุขภาพอื่น จะแก้ไขกฎระเบียบเพื่อให้สถานพยาบาลสามารถคืนยาได้หากตรวจสอบพบว่าซื้อในราคาที่แพงกว่าสิทธิอื่น จากนั้นกรมบัญชีกลางอาจซื้อยาผ่านองค์การเภสัชกรรม (อภ.) แล้วจัดสรรให้กับสถานพยาบาล หรือสถานพยาบาลซื้อจาก อภ.โดยตรงในราคาที่เท่ากับการจัดซื้อของกองทุนสุขภาพอื่น แต่หากไม่สามารถแก้กฎระเบียบจะดำเนินการต่อรองราคาเพื่อให้ราคาถูกลง หากไม่ได้ผลจะจัดหาแหล่งจำหน่ายยาแหล่งอื่นที่มีราคาถูกกว่า หรือทำซีแอลในยาที่จำเป็น แต่ขณะนี้ยังไม่มีนโยบายทำซีแอล
“ที่ประชุมมีผู้แทนจากกรมบัญชีกลางเข้าร่วมด้วย แต่จะมีการแจ้งมติของคณะกรรมการให้กรมบัญชีกลางทราบอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย รวมทั้งนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.)ทราบก่อนแจ้งไปยังหน่วยงานราชการอื่นๆ ดำเนินการตามมตินี้ โดยจะเริ่มในวันที่ 1 มกราคม 2556” รมว.สาธารณสุข กล่าว
วันนี้ (19 พ.ย.) เมื่อเวลา 16.30 น. นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมคณะกรรมการกำหนดระบบบริหารยา เวชภัณฑ์ การเบิกจ่ายค่าตรวจวินิจฉัย และค่าบริการทางการแพทย์ ว่า การประชุมครั้งนี้มีข้อสรุปสำคัญ 3 ส่วน เพื่อแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายด้านยา คือ 1.กรมบัญชีกลางออกประกาศห้ามเบิกจ่ายยากลูโคซามีนซัลเฟต ให้สามารถใช้ได้ตามข้อบ่งชี้และมาตรฐานทางการแพทย์ โดยจะจัดทำราคากลางสำหรับการเบิกค่ายา หากใช้ยี่ห้อที่มีราคาแพงกว่าราคากลางผู้ป่วยต้องจ่ายเงินเอง
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า 2.คณะกรรมการฯมีมติให้ยกเลิกประกาศกรมบัญชีกลางเรื่อง 1 โรงพยาบาล 1 โรคเรื้อรัง หรือ 1 โรงพยาบาล หลายโรคเรื้อรัง เนื่องจากอาจเกิดความแออัดในสถานพยาบาลขนาดใหญ่มากขึ้น ส่วนแนวทางแก้ปัญหาผู้ป่วยวนรับยาหลายสถานพยาบาลนั้น เสนอว่า ระยะสั้น หากเข้ารับบริการสถานพยาบาลที่ไม่ใช่สถานพยาบาลหลักต้องสำรองจ่ายค่ายาเอง ไม่สามารถเบิกจ่ายตรงได้ ส่วนอนาคตจะเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของทุกสถานพยาบาล ให้สามารถตรวจสอบการรับยาของผู้ป่วยได้ และ 3.ประกาศกรมบัญชีกลาง เรื่อง การระบุเหตุผลการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่าย คณะกรรมการเห็นชอบให้มีการเพิ่มเติมข้อกำหนดว่าให้อนุญาตให้ใช้ได้ตามข้อบ่งชี้ทางวิชาชีพที่มีผู้เชี่ยวชาญ อาทิ อธิบดีกรมการแพทย์ หรือราชวิทยาลัยให้คำแนะนำ
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ได้มีมติในส่วนของการควบคุมราคายา โดยจะมีการกำหนดราคากลางและต่อรองราคายาให้ถูกลง สำหรับปัญหาสถานพยาบาลจัดซื้อยาของผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการแพงกว่ากองทุนสุขภาพอื่น จะแก้ไขกฎระเบียบเพื่อให้สถานพยาบาลสามารถคืนยาได้หากตรวจสอบพบว่าซื้อในราคาที่แพงกว่าสิทธิอื่น จากนั้นกรมบัญชีกลางอาจซื้อยาผ่านองค์การเภสัชกรรม (อภ.) แล้วจัดสรรให้กับสถานพยาบาล หรือสถานพยาบาลซื้อจาก อภ.โดยตรงในราคาที่เท่ากับการจัดซื้อของกองทุนสุขภาพอื่น แต่หากไม่สามารถแก้กฎระเบียบจะดำเนินการต่อรองราคาเพื่อให้ราคาถูกลง หากไม่ได้ผลจะจัดหาแหล่งจำหน่ายยาแหล่งอื่นที่มีราคาถูกกว่า หรือทำซีแอลในยาที่จำเป็น แต่ขณะนี้ยังไม่มีนโยบายทำซีแอล
“ที่ประชุมมีผู้แทนจากกรมบัญชีกลางเข้าร่วมด้วย แต่จะมีการแจ้งมติของคณะกรรมการให้กรมบัญชีกลางทราบอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย รวมทั้งนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.)ทราบก่อนแจ้งไปยังหน่วยงานราชการอื่นๆ ดำเนินการตามมตินี้ โดยจะเริ่มในวันที่ 1 มกราคม 2556” รมว.สาธารณสุข กล่าว