จวกนโยบายรัฐ “รักษาฟรีไม่จำกัดจำนวน” ทำผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล คนไทยอายุขัยเฉลี่ยสั้นกว่าเพื่อนบ้าน ทั้งอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กระทบคุณภาพการรักษาและความปลอดภัยผู้ป่วย ชี้ ออกมาตรการบังคับแพทย์มากเกินไป เสี่ยงภาวะสมองไหล แนะเพิ่มเวลาตรวจคนไข้ 10-15 นาที ยกระดับคุณภาพการรักษา
วันนี้ (24 ต.ค.) ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวระหว่างการอภิปรายเรื่อง “คุณภาพการรักษาและความปลอดภัยของผู้ป่วย” ในงาน “2012 Thailand Healthcare Summit” ว่า คุณภาพในการรักษา คือ ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ตรงกับผู้ป่วย และทันการณ์ทุกครั้ง แม้จะมีการนำระบบการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accredited : HA) มาใช้ แต่ยังพบว่ามีช่องว่างอยู่มากระหว่างการรักษาที่ดีที่สุดและการรักษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากมีข้อจำกัดดังต่อไปนี้ คือ 1.การประเมินผลลัพธ์ เช่น ผู้ป่วยอาการดีขึ้นหรือไม่ การลดอัตราการตาย การป้องกันและลดอัตราการพิการ การลดอาการแทรกซ้อน ฯลฯ ยังไม่มีตัวชี้วัดที่เป็นระบบเดียวกัน ทำให้ไม่สามารถนำผลลัพธ์มาเปรียบเทียบกันได้ ซึ่งระบบคุณภาพในปัจจุบันเป็นเพียงการตรวจประเมินเท่านั้น แต่ไม่ได้มีไว้เพื่อพัฒนาอย่างแท้จริง 2.นโยบายของภาครัฐ ทั้งระบบการรักษาฟรีแบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง และนโยบายเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ ทำให้ผู้ป่วยมารักษาที่โรงพยาบาลมากขึ้น โดยเฉพาะโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ ทำให้เกิดความแออัด แพทย์มีเวลาดูแลผู้ป่วยนอก 2-3 นาทีต่อราย ส่วนผู้ป่วยในก็มีจำนวนมากกว่าเตียงที่รองรับ นอกจากนี้ ระบบการประมูลยาของโรงพยาบาลรัฐที่ต้องซื้อยาราคาต่ำลงเรื่อยๆ เพื่อให้ต่ำกว่าราคาประมูลครั้งก่อน ทำให้มีผลกระทบต่อคุณภาพของยาที่ประมูล
ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า 3.ปัญหาด้านบุคลากรทางการแพทย์ เช่น การขาดแคลนบุคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์ การจำกัดการเข้าถึงยาและเทคโนโลยีที่ทันสมัย การจำกัดรายการยาทำให้แพทย์มีทางเลือกในการใช้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยลดลง เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายมีอาการต่างกัน แต่ให้มีการรักษาเหมือนกัน บังคับให้ใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติที่บางตัวมีผลข้างเคียงสูง แต่ต้องใช้จนกว่าจะเกิดอาการแทรกซ้อนจึงจะสามารถเปลี่ยนยาได้ และการไม่มีองค์กรคุ้มครองผู้ให้บริการเหมือนองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งการบังคับแพทย์ในระบบราชการแบบนี้จะทำให้แพทย์ลาออกไปอยู่โรงพยาบาลเอกชนเพิ่มขึ้น และหากมีการไปบังคับแพทย์โรงพยาบาลเอกชนด้วยก็จะเป็นการบีบให้แพทย์ออกไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะหากมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
“ไทยกำลังย้อนกลับไปเหมือนอังกฤษเมื่อ 50 ปีก่อน ทั้งนโยบายการรักษาฟรี การบังคับการทำงานของแพทย์ ทำให้แพทย์อังกฤษหนีไปทำงานในสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียจำนวนมาก ปัจจุบันมีแต่หมอชาวอินเดียเป็นส่วนมาก หากประเทศไทยเข้าสู่เออีซีเมื่อไหร่ อาจทำให้เกิดภาวะสมองไหลได้ และจะมีแพทย์ต่างชาติ อาทิ ฟิลิปปินส์ เข้ามารักษาคนไทยแทนแพทย์ไทยด้วยกันเอง” ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าว
ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า 4.ปัญหาด้านการสื่อสาร ทั้งระหว่างแพทย์และผู้ป่วย แพทย์บุคลากรทางการแพทย์ การสื่อสารระหว่างองค์กร ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันยังมีผู้ป่วยไม่เข้าใจโรคของตัวเอง ไม่ทราบวิธีปฏิบัติตนหลังเข้ารับการรักษา เนื่องจากเวลาพบผู้ป่วยมีน้อย รวมไปถึงการใช้ศัพท์ทางการแพทย์ในการสื่อสารทำให้ผู้ป่วยไม่เข้าใจและไม่กล้าถาม และ 5.ปัญหาด้านผู้ป่วย คือ ปัจจุบันมีแต่การให้สิทธิผู้ป่วยแต่ไม่มีหน้าที่ผู้ป่วย แถมเป็นสิทธิแบบไม่จำกัดทำให้ผู้ป่วยมีการเรียกร้องมากขึ้น เมื่อไม่ได้ดังใจก็มีการร้องเรียน ซ้ำยังไม่เห็นคุณค่ายา เนื่องจากไม่ต้องจ่ายค่ายาและไม่รู้ราคาของยา นอกจากนี้ นโยบายรักษาฟรียังทำให้ผู้ป่วยไม่ดูแลสุขภาพเหมือนเมื่อก่อน นำเงินไปใช้ในสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อสุขภาพ เช่น การเสริมสวย การซื้อเทคโนโลยี ทำให้ปัจจุบันคนไทยมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นกว่าเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
“คนไทยแม้จะอายุยืนขึ้นแต่ประเทศอื่นมีการพัฒนาจนมีอายุขัยเฉลี่ยยืนกว่าคนไทย ซึ่งปัจจุบันไทยอยู่ในลำดับที่ 111 อินโดนีเซียลำดับที่ 110 ฟิลิปปินส์ลำดับที่ 100 และเวียดนามลำดับที่ 65 จากปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมดการจะพัฒนาคุณภาพการรักษาต้องพิจารณาให้ครอบคลุมใน 3 ประเด็น คือ ระบบคุณภาพการรักษา การทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการ และต้นทุนการบริการ เชื่อมโยงกันทั้งระบบมีการทำเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์เป็นฐานข้อมูลผู้ป่วยที่ทุกโรงพยาบาลสามารถใช้ร่วมกันได้ และแพทย์ควรมีเวลาตรวจผู้ป่วยอย่างน้อย 10-15 นาทีขึ้นไป เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์ปัญหาและให้การรักษาได้อย่างถูกต้องมีคุณภาพ อธิบายให้ผู้ป่วยปฏิบัติตนได้ถูกต้อง” ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าว
พล.ต.หญิง พูลศรี เปาวรัตน์ กรรมการบริหารสมาคมข้าราชการอาวุโสแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังมีนโยบายไปคนละทาง อาทิ นโยบายสุขภาพใกล้ใจและใกล้บ้านของ สธ.เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล แต่ก.คลังออกประกาศผู้ป่วยโรคเรื้อรังสิทธิข้าราชการต้องลงทะเบียนระบบเบิกจ่ายตรง 1 โรคเรื้อรังต่อ 1 โรงพยาบาล มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ธ.ค.นี้ เป็นต้น ทำให้ประชาชนผู้รับบริการเกิดความสับสน นอกจากนี้ ประกาศอีก 2 ฉบับของกรมบัญชีกลาง ทั้งการระบุเหตุผลการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่าย มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา และการห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.นี้ ต่างล้วนส่งผลต่อคุณภาพการรักษาและความปลอดภัยของผู้ป่วยด้วย
“เมื่อผู้ป่วยมารับบริการการรักษาพยาบาลย่อมหวังที่จะหายป่วยเร็วและได้รับยาที่มีคุณภาพ โดยหวังพึ่งวิจารณญาณของแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยและการสั่งจ่ายยามากกว่าการพึ่งยาเพียงอย่างเดียว แต่การออกประกาศของกรมบัญชีกลางเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยาและการรักษาพยาบาลนั้น เป็นการจำกัดการทำงานของแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะไม่ปลอดภัย เช่น การให้ลองใช้ยาในบัญชียาหลักจนกว่าจะอาการดีหรือไม่ดีนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรม” พล.ต.หญิง พูลศรี กล่าว
วันนี้ (24 ต.ค.) ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวระหว่างการอภิปรายเรื่อง “คุณภาพการรักษาและความปลอดภัยของผู้ป่วย” ในงาน “2012 Thailand Healthcare Summit” ว่า คุณภาพในการรักษา คือ ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ตรงกับผู้ป่วย และทันการณ์ทุกครั้ง แม้จะมีการนำระบบการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accredited : HA) มาใช้ แต่ยังพบว่ามีช่องว่างอยู่มากระหว่างการรักษาที่ดีที่สุดและการรักษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากมีข้อจำกัดดังต่อไปนี้ คือ 1.การประเมินผลลัพธ์ เช่น ผู้ป่วยอาการดีขึ้นหรือไม่ การลดอัตราการตาย การป้องกันและลดอัตราการพิการ การลดอาการแทรกซ้อน ฯลฯ ยังไม่มีตัวชี้วัดที่เป็นระบบเดียวกัน ทำให้ไม่สามารถนำผลลัพธ์มาเปรียบเทียบกันได้ ซึ่งระบบคุณภาพในปัจจุบันเป็นเพียงการตรวจประเมินเท่านั้น แต่ไม่ได้มีไว้เพื่อพัฒนาอย่างแท้จริง 2.นโยบายของภาครัฐ ทั้งระบบการรักษาฟรีแบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง และนโยบายเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ ทำให้ผู้ป่วยมารักษาที่โรงพยาบาลมากขึ้น โดยเฉพาะโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ ทำให้เกิดความแออัด แพทย์มีเวลาดูแลผู้ป่วยนอก 2-3 นาทีต่อราย ส่วนผู้ป่วยในก็มีจำนวนมากกว่าเตียงที่รองรับ นอกจากนี้ ระบบการประมูลยาของโรงพยาบาลรัฐที่ต้องซื้อยาราคาต่ำลงเรื่อยๆ เพื่อให้ต่ำกว่าราคาประมูลครั้งก่อน ทำให้มีผลกระทบต่อคุณภาพของยาที่ประมูล
ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า 3.ปัญหาด้านบุคลากรทางการแพทย์ เช่น การขาดแคลนบุคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์ การจำกัดการเข้าถึงยาและเทคโนโลยีที่ทันสมัย การจำกัดรายการยาทำให้แพทย์มีทางเลือกในการใช้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยลดลง เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายมีอาการต่างกัน แต่ให้มีการรักษาเหมือนกัน บังคับให้ใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติที่บางตัวมีผลข้างเคียงสูง แต่ต้องใช้จนกว่าจะเกิดอาการแทรกซ้อนจึงจะสามารถเปลี่ยนยาได้ และการไม่มีองค์กรคุ้มครองผู้ให้บริการเหมือนองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งการบังคับแพทย์ในระบบราชการแบบนี้จะทำให้แพทย์ลาออกไปอยู่โรงพยาบาลเอกชนเพิ่มขึ้น และหากมีการไปบังคับแพทย์โรงพยาบาลเอกชนด้วยก็จะเป็นการบีบให้แพทย์ออกไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะหากมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
“ไทยกำลังย้อนกลับไปเหมือนอังกฤษเมื่อ 50 ปีก่อน ทั้งนโยบายการรักษาฟรี การบังคับการทำงานของแพทย์ ทำให้แพทย์อังกฤษหนีไปทำงานในสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียจำนวนมาก ปัจจุบันมีแต่หมอชาวอินเดียเป็นส่วนมาก หากประเทศไทยเข้าสู่เออีซีเมื่อไหร่ อาจทำให้เกิดภาวะสมองไหลได้ และจะมีแพทย์ต่างชาติ อาทิ ฟิลิปปินส์ เข้ามารักษาคนไทยแทนแพทย์ไทยด้วยกันเอง” ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าว
ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า 4.ปัญหาด้านการสื่อสาร ทั้งระหว่างแพทย์และผู้ป่วย แพทย์บุคลากรทางการแพทย์ การสื่อสารระหว่างองค์กร ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันยังมีผู้ป่วยไม่เข้าใจโรคของตัวเอง ไม่ทราบวิธีปฏิบัติตนหลังเข้ารับการรักษา เนื่องจากเวลาพบผู้ป่วยมีน้อย รวมไปถึงการใช้ศัพท์ทางการแพทย์ในการสื่อสารทำให้ผู้ป่วยไม่เข้าใจและไม่กล้าถาม และ 5.ปัญหาด้านผู้ป่วย คือ ปัจจุบันมีแต่การให้สิทธิผู้ป่วยแต่ไม่มีหน้าที่ผู้ป่วย แถมเป็นสิทธิแบบไม่จำกัดทำให้ผู้ป่วยมีการเรียกร้องมากขึ้น เมื่อไม่ได้ดังใจก็มีการร้องเรียน ซ้ำยังไม่เห็นคุณค่ายา เนื่องจากไม่ต้องจ่ายค่ายาและไม่รู้ราคาของยา นอกจากนี้ นโยบายรักษาฟรียังทำให้ผู้ป่วยไม่ดูแลสุขภาพเหมือนเมื่อก่อน นำเงินไปใช้ในสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อสุขภาพ เช่น การเสริมสวย การซื้อเทคโนโลยี ทำให้ปัจจุบันคนไทยมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นกว่าเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
“คนไทยแม้จะอายุยืนขึ้นแต่ประเทศอื่นมีการพัฒนาจนมีอายุขัยเฉลี่ยยืนกว่าคนไทย ซึ่งปัจจุบันไทยอยู่ในลำดับที่ 111 อินโดนีเซียลำดับที่ 110 ฟิลิปปินส์ลำดับที่ 100 และเวียดนามลำดับที่ 65 จากปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมดการจะพัฒนาคุณภาพการรักษาต้องพิจารณาให้ครอบคลุมใน 3 ประเด็น คือ ระบบคุณภาพการรักษา การทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการ และต้นทุนการบริการ เชื่อมโยงกันทั้งระบบมีการทำเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์เป็นฐานข้อมูลผู้ป่วยที่ทุกโรงพยาบาลสามารถใช้ร่วมกันได้ และแพทย์ควรมีเวลาตรวจผู้ป่วยอย่างน้อย 10-15 นาทีขึ้นไป เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์ปัญหาและให้การรักษาได้อย่างถูกต้องมีคุณภาพ อธิบายให้ผู้ป่วยปฏิบัติตนได้ถูกต้อง” ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าว
พล.ต.หญิง พูลศรี เปาวรัตน์ กรรมการบริหารสมาคมข้าราชการอาวุโสแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังมีนโยบายไปคนละทาง อาทิ นโยบายสุขภาพใกล้ใจและใกล้บ้านของ สธ.เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล แต่ก.คลังออกประกาศผู้ป่วยโรคเรื้อรังสิทธิข้าราชการต้องลงทะเบียนระบบเบิกจ่ายตรง 1 โรคเรื้อรังต่อ 1 โรงพยาบาล มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ธ.ค.นี้ เป็นต้น ทำให้ประชาชนผู้รับบริการเกิดความสับสน นอกจากนี้ ประกาศอีก 2 ฉบับของกรมบัญชีกลาง ทั้งการระบุเหตุผลการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่าย มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา และการห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.นี้ ต่างล้วนส่งผลต่อคุณภาพการรักษาและความปลอดภัยของผู้ป่วยด้วย
“เมื่อผู้ป่วยมารับบริการการรักษาพยาบาลย่อมหวังที่จะหายป่วยเร็วและได้รับยาที่มีคุณภาพ โดยหวังพึ่งวิจารณญาณของแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยและการสั่งจ่ายยามากกว่าการพึ่งยาเพียงอย่างเดียว แต่การออกประกาศของกรมบัญชีกลางเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยาและการรักษาพยาบาลนั้น เป็นการจำกัดการทำงานของแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะไม่ปลอดภัย เช่น การให้ลองใช้ยาในบัญชียาหลักจนกว่าจะอาการดีหรือไม่ดีนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรม” พล.ต.หญิง พูลศรี กล่าว