20 พ.ย.นี้ สธ.เรียกประชุมหาแนวทางควบคุมโรคคอตีบ หลังกลับมาระบาดอีกครั้งในรอบ 17 ปี พบผู้ป่วยถึง 87 คน
วันนี้ (14 พ.ย.) ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคคอตีบ กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจังหวัดจากโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั่วประเทศ ว่า หลังจากที่โรคคอตีบหายไปจากประเทศกว่า 17 ปี แต่ขณะนี้กลับพบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคคอตีบอีกครั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีสาเหตุมาจากภูมิคุ้มกันโรคที่ได้รับจากการฉีดวัคซีนในวัยเด็กตกลง หรือบางกลุ่มอาจไม่ได้รับวัคซีน จึงทำให้มีโอกาสจะติดเชื้อได้ สำหรับโรคคอตีบส่วนใหญ่จะพบในเด็กแต่ปัจจุบันพบในทุกกลุ่มวัย ทั้งนี้ มีรายงานการพบผู้ป่วยโรคคอตีบในเดือนมิถุนายนที่จ.เลย 50 ราย จากทั้งหมด 87 ราย ใน 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเลย, เพชรบูรณ์, หนองบัวลำภู, อุดรธานี, สุราษฎร์ธานี, พิษณุโลก, สกลนคร, ชัยภูมิ, ขอนแก่น, หนองคาย, เชียงราย, พิจิตร, อุตรดิตถ์, บึงกาฬ และ น่าน
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวอีกว่า ส่วนการฟักตัวของโรคคอตีบล่าสุดพบมีระยะฟักตัวนานถึง 4 สัปดาห์ ซึ่งผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้ต่ำๆ คล้ายหวัดในระยะแรก มีอาการไอเจ็บคออักเสบ เมื่อตรวจดูจะพบแผ่นเยื่อสีขาวปนเทาติดแน่นบริเวณต่อมทอมซิลโดยผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ส่วนใหญ่เกิดจากโรคแทรกซ้อน อาทิ ทางเดินหายใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และปลายประสาทอักเสบ ดังนั้นในวันที่ 20 พ.ย.ทางกระทรวงสาธารณสุขจะมีการเรียกประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการควบคุมโรคคอตีบโดยหัวข้อในการหารือจะเป็นการกำหนดกลุ่มอายุที่จะต้องทำการฉีดวัคซีนกระตุ้นเพิ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด และลดการเสียชีวิตของผู้ป่วย
ด้านรศ.พิเศษนพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวถึงการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคคอตีบ ว่า ต้องเริ่มจากการดูอาการของผู้ป่วยที่เข้าข่ายต้องสงสัยก่อนโดยเฉพาะในพื้นที่ที่พบการป่วยโรคคอตีบถ้าพบผู้ป่วยเข้าข่ายแต่ยังหาสาเหตุไม่ได้ก็ให้สงสัยว่าเป็นโรคคอตีบเพื่อจะได้ป้องกันการระบาด และทำการรักษา ซึ่งวิธีการรักษาสามารถทำได้ 4 วิธี คือ 1.ให้ยาต้านพิษทันที 2.ส่งตรวจเชื้อหาสายพันธุ์ของโรคคอตีบสายพันธุ์ที่เป็นพิษ 3.ให้ยาปฏิชีวนะ และ 4.อยู่ในการดูแลของแพทย์ 2-3 สัปดาห์เพื่อป้องกันปัญหาอาการแทรกซ้อน เพราะผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของปลายเส้นประสาทและหัวใจ ขณะที่การป้องกันในเบื้องต้นนั้นประชาชนควรรักษาความสะอาดและเมื่อไปสัมผัสในแหล่งชุมชนเมื่อกลับมาบ้านหรือก่อนรับประทานอาหารควรล้างมือ และกิน ร้อนช้อนกลาง หรือหลีกเลี่ยงในพื้นที่ที่แออัด ส่วนผู้ที่เป็นหวัดก็ควรใส่ผ้าปิดจมูกเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด และถ้ามีอาการเข้าข่ายควรไปพบแพทย์เพื่อรักษา และป้องกันการแพร่ระบาด
วันนี้ (14 พ.ย.) ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคคอตีบ กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจังหวัดจากโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั่วประเทศ ว่า หลังจากที่โรคคอตีบหายไปจากประเทศกว่า 17 ปี แต่ขณะนี้กลับพบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคคอตีบอีกครั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีสาเหตุมาจากภูมิคุ้มกันโรคที่ได้รับจากการฉีดวัคซีนในวัยเด็กตกลง หรือบางกลุ่มอาจไม่ได้รับวัคซีน จึงทำให้มีโอกาสจะติดเชื้อได้ สำหรับโรคคอตีบส่วนใหญ่จะพบในเด็กแต่ปัจจุบันพบในทุกกลุ่มวัย ทั้งนี้ มีรายงานการพบผู้ป่วยโรคคอตีบในเดือนมิถุนายนที่จ.เลย 50 ราย จากทั้งหมด 87 ราย ใน 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเลย, เพชรบูรณ์, หนองบัวลำภู, อุดรธานี, สุราษฎร์ธานี, พิษณุโลก, สกลนคร, ชัยภูมิ, ขอนแก่น, หนองคาย, เชียงราย, พิจิตร, อุตรดิตถ์, บึงกาฬ และ น่าน
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวอีกว่า ส่วนการฟักตัวของโรคคอตีบล่าสุดพบมีระยะฟักตัวนานถึง 4 สัปดาห์ ซึ่งผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้ต่ำๆ คล้ายหวัดในระยะแรก มีอาการไอเจ็บคออักเสบ เมื่อตรวจดูจะพบแผ่นเยื่อสีขาวปนเทาติดแน่นบริเวณต่อมทอมซิลโดยผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ส่วนใหญ่เกิดจากโรคแทรกซ้อน อาทิ ทางเดินหายใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และปลายประสาทอักเสบ ดังนั้นในวันที่ 20 พ.ย.ทางกระทรวงสาธารณสุขจะมีการเรียกประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการควบคุมโรคคอตีบโดยหัวข้อในการหารือจะเป็นการกำหนดกลุ่มอายุที่จะต้องทำการฉีดวัคซีนกระตุ้นเพิ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด และลดการเสียชีวิตของผู้ป่วย
ด้านรศ.พิเศษนพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวถึงการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคคอตีบ ว่า ต้องเริ่มจากการดูอาการของผู้ป่วยที่เข้าข่ายต้องสงสัยก่อนโดยเฉพาะในพื้นที่ที่พบการป่วยโรคคอตีบถ้าพบผู้ป่วยเข้าข่ายแต่ยังหาสาเหตุไม่ได้ก็ให้สงสัยว่าเป็นโรคคอตีบเพื่อจะได้ป้องกันการระบาด และทำการรักษา ซึ่งวิธีการรักษาสามารถทำได้ 4 วิธี คือ 1.ให้ยาต้านพิษทันที 2.ส่งตรวจเชื้อหาสายพันธุ์ของโรคคอตีบสายพันธุ์ที่เป็นพิษ 3.ให้ยาปฏิชีวนะ และ 4.อยู่ในการดูแลของแพทย์ 2-3 สัปดาห์เพื่อป้องกันปัญหาอาการแทรกซ้อน เพราะผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของปลายเส้นประสาทและหัวใจ ขณะที่การป้องกันในเบื้องต้นนั้นประชาชนควรรักษาความสะอาดและเมื่อไปสัมผัสในแหล่งชุมชนเมื่อกลับมาบ้านหรือก่อนรับประทานอาหารควรล้างมือ และกิน ร้อนช้อนกลาง หรือหลีกเลี่ยงในพื้นที่ที่แออัด ส่วนผู้ที่เป็นหวัดก็ควรใส่ผ้าปิดจมูกเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด และถ้ามีอาการเข้าข่ายควรไปพบแพทย์เพื่อรักษา และป้องกันการแพร่ระบาด