สธ.เตรียมตั้ง คกก.พิจารณาพื้นที่ทุรกันดารใหม่ให้สอดคล้องความจริง หวังปรับเบี้ยกันดาร รองปลัด สธ.เผยหากปรับลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนักงาน กสธ.แล้ว จะเน้นการกระจายอำนาจไปภูมิภาค ทั้งเรื่องบุคลากรและค่าตอบแทน ด้านพยาบาลเมินเป็นพนักงาน กสธ.ย้ำ ต้องเป็น ขรก.เท่านั้น เล็งยื่นเรื่องนายกฯคนเดียว 22 พ.ย.นี้
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงการเตรียมออกระเบียบปรับเปลี่ยนสถานะลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พนักงาน กสธ.) ว่า หากมีการใช้ระเบียบดังกล่าวแล้ว จะต้องมีการบริหารจัดการที่เปลี่ยนไปด้วย โดย สธ.จะกระจายอำนาจไปยังส่วนภูมิภาค แบ่งเป็น 12 เครือข่ายบริการสุขภาพในแต่ละเขต ซึ่งมีประชากรประมาณ 3-5 ล้านคน โดยจะพิจารณาว่าแต่ละเครือข่ายต้องการบุคลากรที่เป็นข้าราชการ หรือพนักงาน กสธ.เท่าใด พร้อมให้แต่ละพื้นที่พิจารณาจัดการค่าตอบแทนกันเองด้วย โดยจะมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการฯ ดำเนินการร่วมกับพื้นที่
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า ในเรื่องค่าตอบแทนยังใช้ระเบียบเดิม โดยพิจารณาจากจำนวนประชากร และภาระงาน แต่จะมีการปรับเปลี่ยนในส่วนของพื้นที่ทุรกันดาร (เบี้ยกันดาร) เนื่องจากปัจจุบันบางพื้นที่อาจไม่ทุรกันดารเหมือนเดิม ซึ่งต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น จำนวนธนาคารพาณิชย์ ร้านสะดวกซื้อ การเก็บรายได้ภาษีของท้องถิ่น โดยขณะนี้ได้ให้สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ของ สธ.จัดทำรายละเอียดเพื่อเสนอปลัดสธ.พิจารณา และมอบให้ รมว.สธ.ลงนาม จากนั้นจึงจะตั้งคณะกรรมการพิจารณาพื้นที่ทุรกันดารใหม่ให้สอดคล้องกับปัจจุบัน ทั้งนี้ บางพื้นที่อาจไม่เข้าใจ แต่เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนก็ต้องปรับเปลี่ยนอัตราค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับความเป็นจริง
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า การพิจารณาพื้นที่ทุรกันดารใหม่เพื่อปรับเปลี่ยนเบี้ยกันดารนั้น หากสอดคล้องกับความเป็นจริง โดยพื้นที่นั้นไม่ได้กันดารเหมือนเดิมก็ไม่มีปัญหา แต่หากไม่คำนึงถึงความเป็นจริงก็จะส่งผลต่อขวัญกำลังใจแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์จบใหม่และยอมเสียสละไปทำงานชนบท ซึ่งจะได้เบี้ยกันดารเฉลี่ยหมื่นบาท หากไปตัดอีกย่อมส่งผลอย่างแน่นอน ซึ่งจำนวนแพทย์ที่ผลิตได้มีประมาณ 40,000 รายต่อปี แต่มาอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนเพียง 3,000 กว่ารายเท่านั้น ตรงนี้จึงต้องพิจารณาดีๆ
ด้าน รศ.ดร.จินตนา ยูนิพันธุ์ นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการหารือกับสาขาภาคสมาคมพยาบาลฯ หัวหน้าพยาบาล และประธานชมรมพยาบาลทั่วประเทศ มีความเห็นตรงกันว่า ให้บรรจุพยาบาลลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้าราชการทั้งหมดทันที ส่วนจะใช้เวลาดำเนินการอย่างไรต้องมีการหารืออีกครั้ง ซึ่งจากนี้จะเดินหน้ายื่นข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีเท่านั้น เนื่องจากที่ผ่านมาได้เรียกร้องผ่าน สธ.แล้วหลายครั้ง แต่ไม่ได้รับความคืบหน้าจนรู้สึกสิ้นหวัง โดยในวันที่ 22 พ.ย.นี้ จะมีการแถลงข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกครั้ง
“การแก้ปัญหาพยาบาลลูกจ้างชั่วคราว โดยปรับให้เป็นพนักงาน กสธ.นั้น เป็นการแก้ปัญหาบนพื้นฐานร่วมกับวิชาชีพ ซึ่งวิชาชีพพยาบาลจะแก้ปัญหาเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นไม่ได้ เพราะพยาบาลไม่ได้รับความเป็นธรรมมานานเป็นสิบปี จึงไม่มีความเชื่อมั่นในระบบอื่น และไม่มีความหวังว่าในระยะเวลาอันสั้นจะสามารถดำเนินการได้ จึงขอย้ำข้อเรียกร้องให้บรรจุเป็นข้าราชการเท่านั้น” นายก ส.พยาบาลฯ กล่าว
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงการเตรียมออกระเบียบปรับเปลี่ยนสถานะลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พนักงาน กสธ.) ว่า หากมีการใช้ระเบียบดังกล่าวแล้ว จะต้องมีการบริหารจัดการที่เปลี่ยนไปด้วย โดย สธ.จะกระจายอำนาจไปยังส่วนภูมิภาค แบ่งเป็น 12 เครือข่ายบริการสุขภาพในแต่ละเขต ซึ่งมีประชากรประมาณ 3-5 ล้านคน โดยจะพิจารณาว่าแต่ละเครือข่ายต้องการบุคลากรที่เป็นข้าราชการ หรือพนักงาน กสธ.เท่าใด พร้อมให้แต่ละพื้นที่พิจารณาจัดการค่าตอบแทนกันเองด้วย โดยจะมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการฯ ดำเนินการร่วมกับพื้นที่
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า ในเรื่องค่าตอบแทนยังใช้ระเบียบเดิม โดยพิจารณาจากจำนวนประชากร และภาระงาน แต่จะมีการปรับเปลี่ยนในส่วนของพื้นที่ทุรกันดาร (เบี้ยกันดาร) เนื่องจากปัจจุบันบางพื้นที่อาจไม่ทุรกันดารเหมือนเดิม ซึ่งต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น จำนวนธนาคารพาณิชย์ ร้านสะดวกซื้อ การเก็บรายได้ภาษีของท้องถิ่น โดยขณะนี้ได้ให้สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ของ สธ.จัดทำรายละเอียดเพื่อเสนอปลัดสธ.พิจารณา และมอบให้ รมว.สธ.ลงนาม จากนั้นจึงจะตั้งคณะกรรมการพิจารณาพื้นที่ทุรกันดารใหม่ให้สอดคล้องกับปัจจุบัน ทั้งนี้ บางพื้นที่อาจไม่เข้าใจ แต่เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนก็ต้องปรับเปลี่ยนอัตราค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับความเป็นจริง
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า การพิจารณาพื้นที่ทุรกันดารใหม่เพื่อปรับเปลี่ยนเบี้ยกันดารนั้น หากสอดคล้องกับความเป็นจริง โดยพื้นที่นั้นไม่ได้กันดารเหมือนเดิมก็ไม่มีปัญหา แต่หากไม่คำนึงถึงความเป็นจริงก็จะส่งผลต่อขวัญกำลังใจแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์จบใหม่และยอมเสียสละไปทำงานชนบท ซึ่งจะได้เบี้ยกันดารเฉลี่ยหมื่นบาท หากไปตัดอีกย่อมส่งผลอย่างแน่นอน ซึ่งจำนวนแพทย์ที่ผลิตได้มีประมาณ 40,000 รายต่อปี แต่มาอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนเพียง 3,000 กว่ารายเท่านั้น ตรงนี้จึงต้องพิจารณาดีๆ
ด้าน รศ.ดร.จินตนา ยูนิพันธุ์ นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการหารือกับสาขาภาคสมาคมพยาบาลฯ หัวหน้าพยาบาล และประธานชมรมพยาบาลทั่วประเทศ มีความเห็นตรงกันว่า ให้บรรจุพยาบาลลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้าราชการทั้งหมดทันที ส่วนจะใช้เวลาดำเนินการอย่างไรต้องมีการหารืออีกครั้ง ซึ่งจากนี้จะเดินหน้ายื่นข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีเท่านั้น เนื่องจากที่ผ่านมาได้เรียกร้องผ่าน สธ.แล้วหลายครั้ง แต่ไม่ได้รับความคืบหน้าจนรู้สึกสิ้นหวัง โดยในวันที่ 22 พ.ย.นี้ จะมีการแถลงข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกครั้ง
“การแก้ปัญหาพยาบาลลูกจ้างชั่วคราว โดยปรับให้เป็นพนักงาน กสธ.นั้น เป็นการแก้ปัญหาบนพื้นฐานร่วมกับวิชาชีพ ซึ่งวิชาชีพพยาบาลจะแก้ปัญหาเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นไม่ได้ เพราะพยาบาลไม่ได้รับความเป็นธรรมมานานเป็นสิบปี จึงไม่มีความเชื่อมั่นในระบบอื่น และไม่มีความหวังว่าในระยะเวลาอันสั้นจะสามารถดำเนินการได้ จึงขอย้ำข้อเรียกร้องให้บรรจุเป็นข้าราชการเท่านั้น” นายก ส.พยาบาลฯ กล่าว