ผอ.โรงพยาบาลห่วง งบจ้างพนักงาน กสธ.ซ้ำรอยเดิม เบียดเบียนเงินบำรุงทำโรงพยาบาลขาดทุน จี้ สธ.ให้ความกระจ่าง “หมอประดิษฐ” ยันใช้เงินบำรุงจ้างแน่นอน มั่นใจว่าพอ หากไม่พอจะเพิ่มงบดหมาจ่ายรายหัวจาก 2,755.60 บาท เป็น 2,800 บาท
วันนี้ (4 ธ.ค.) นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุ้มผาง จ.ตาก กล่าวถึงกรณีการแก้ปัญหาบรรจุลูกจ้างชั่วคราวในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นข้าราชการ ว่า แม้รัฐบาลจะรับปากแก้ปัญหา แต่สิ่งที่ต้องคำนึง คือ กลุ่มลูกจ้างชั่วคราวที่ยังไม่ได้รับตำแหน่งและมีการปรับสถานะเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พนักงาน กสธ.) จะต้องใช้งบประมาณที่เพิ่มขึ้นจากการจ่ายอัตราเงินเดือน ซึ่งระเบียบที่จะปรับปรุงใหม่ ระบุว่า จะปรับเงินเดือนเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.2 เท่าของข้าราชการ ตรงนี้จะใช้งบประมาณส่วนใด เพราะที่ผ่านมาผู้บริหาร สธ.ไม่เคยออกมาพูดอย่างชัดเจน
“ปัจจุบันโรงพยาบาลแต่ละแห่งใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาลในการจ้างลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งไม่เพียงพอ หากร่างระเบียบการปรับเปลี่ยนสถานะของสธ.ออกมา และมีการปรับเพิ่มเงินเดือนอีก ตรงนี้จะยิ่งซ้ำเติมโรงพยาบาล จึงอยากให้ผู้บริหาร สธ.ออกมาพูดถึงงบประมาณก้อนนี้ให้ชัดเจนว่า จะใช้งบประมาณเพิ่มเติมหรือไม่และเป็นเท่าใด เพราะหากไม่มีก็เหมือนเป็นการโยนภาระให้โรงพยาบาล ยิ่งโรงพยาบาลที่มีปัญหาการเงิน อยู่ในพื้นที่ทุรกันดารยิ่งลำบาก” ผอ.รพ.อุ้มผาง กล่าว
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย (สพศท.) กล่าวว่า เข้าใจว่า ช่วงแรกของการปรับสถานะเป็นพนักงาน กสธ. อาจยังไม่มีงบประมาณเพิ่มเติมให้โรงพยาบาล แต่เมื่อถึงระยะหนึ่งจำเป็นต้องมีงบประมาณเพิ่มเติม เพราะอย่าลืมว่าหากมีการปรับเพิ่มเงินเดือน ค่าใช้จ่ายก็ต้องสูงขึ้น ตรงนี้อยากให้ผู้บริหาร สธ.พูดให้ชัดว่า จะใช้งบประมาณจากส่วนใด และจะมีการของบเพิ่มเติมให้ด้วยหรือไม่ มิเช่นนั้นโรงพยาบาลลำบากแน่นอน
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า การแบ่งบรรจุลูกจ้างชั่วคราวของ สธ.ทั้งหมด 3 หมื่นคน เป็น 3 ปีๆ ละกว่า 7,000 คน คาดว่า ต้องใช้งบประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนพนักงาน กสธ. ใช้เงินบำรุงจ้าง เพราะเดิมโรงพยาบาลต้องใช้เงินบำรุงจ่ายให้กับลูกจ้างชั่วคราวอยู่แล้วก็นำเงินบำรุงมาจ่ายให้กับพนักงาน กสธ. แทน ซึ่งเงินน่าจะพอ เพราะลูกจ้างชั่วคราวบางส่วนไปเป็นข้าราชการ โรงพยาบาลก็จ่ายน้อยลง ส่วนการกำหนดเงินเดือนเพิ่มขึ้น 1.2 เท่านั้น จะไม่กระทบโรงพยาบาล เนื่องจากตรงนี้จะเหมือนกับจ่ายให้คนประมาณ 10,000 คน จากที่มี 30,000 คน ดังนั้นก็เท่ากับโรงพยาบาลจะใช้เงินบำรุงน้อยลงไปเกือบร้อยละ 50 และหากจะรับลูกจ้างแต่ละครั้งจะต้องพิจารณาตามความจำเป็นกับภาระกิจงาน
เมื่อถามว่า แม้ลูกจ้างชั่วคราวส่วนหนึ่งได้บรรจุเป็นข้าราชการ แต่คนจบใหม่ต้องมาเป็นพนักงาน กสธ.โรงพยาบาลก็ต้องรับภาระใช้เงินบำรุงจ้าง นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า อย่าไปเรียกว่าเป็นภาระ เคยบอกแล้วว่าหากเงินไม่พอรัฐบาลก็ต้องเพิ่มค่าเหมาจ่ายรายหัวให้ตามค่าแรงหรือเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น จากเดิม 2,755.60 บาทก็ต้องเป็น 2,800 บาท ไม่เคยมีใครบอกว่าเงินต้องเท่าเดิม บอกแต่เพียงว่าถ้าใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพแล้วยังขาดอีกก็ต้องใส่ลงไป
ส่วนที่มีข่าวว่า อาจของบเหมาจ่ายรายหัวไป 3,300 บาทต่อคนต่อปีนั้น นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ตอนนี้อยากใช้จ่ายงบประมาณให้มีประสิทธิภาพก่อนใส่งบประมาณลงไป ต่อข้อถามว่าแผนกำลังคนกระทรวงสาธารณสุขปี 2556-2560 บุคลากรต้องเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร ก็ใช้เงินบำรุงจ่ายอยู่ดี นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า มีแผนแล้วว่าจะใช้คนน้อยลงและใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วย ถ้าบุคลากรไม่พอก็ต้องใส่เข้าไป ไม่มีเหตุผลที่รัฐบาลลดกำลังคนแล้วทำให้การบริการเสียไป
วันนี้ (4 ธ.ค.) นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุ้มผาง จ.ตาก กล่าวถึงกรณีการแก้ปัญหาบรรจุลูกจ้างชั่วคราวในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นข้าราชการ ว่า แม้รัฐบาลจะรับปากแก้ปัญหา แต่สิ่งที่ต้องคำนึง คือ กลุ่มลูกจ้างชั่วคราวที่ยังไม่ได้รับตำแหน่งและมีการปรับสถานะเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พนักงาน กสธ.) จะต้องใช้งบประมาณที่เพิ่มขึ้นจากการจ่ายอัตราเงินเดือน ซึ่งระเบียบที่จะปรับปรุงใหม่ ระบุว่า จะปรับเงินเดือนเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.2 เท่าของข้าราชการ ตรงนี้จะใช้งบประมาณส่วนใด เพราะที่ผ่านมาผู้บริหาร สธ.ไม่เคยออกมาพูดอย่างชัดเจน
“ปัจจุบันโรงพยาบาลแต่ละแห่งใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาลในการจ้างลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งไม่เพียงพอ หากร่างระเบียบการปรับเปลี่ยนสถานะของสธ.ออกมา และมีการปรับเพิ่มเงินเดือนอีก ตรงนี้จะยิ่งซ้ำเติมโรงพยาบาล จึงอยากให้ผู้บริหาร สธ.ออกมาพูดถึงงบประมาณก้อนนี้ให้ชัดเจนว่า จะใช้งบประมาณเพิ่มเติมหรือไม่และเป็นเท่าใด เพราะหากไม่มีก็เหมือนเป็นการโยนภาระให้โรงพยาบาล ยิ่งโรงพยาบาลที่มีปัญหาการเงิน อยู่ในพื้นที่ทุรกันดารยิ่งลำบาก” ผอ.รพ.อุ้มผาง กล่าว
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย (สพศท.) กล่าวว่า เข้าใจว่า ช่วงแรกของการปรับสถานะเป็นพนักงาน กสธ. อาจยังไม่มีงบประมาณเพิ่มเติมให้โรงพยาบาล แต่เมื่อถึงระยะหนึ่งจำเป็นต้องมีงบประมาณเพิ่มเติม เพราะอย่าลืมว่าหากมีการปรับเพิ่มเงินเดือน ค่าใช้จ่ายก็ต้องสูงขึ้น ตรงนี้อยากให้ผู้บริหาร สธ.พูดให้ชัดว่า จะใช้งบประมาณจากส่วนใด และจะมีการของบเพิ่มเติมให้ด้วยหรือไม่ มิเช่นนั้นโรงพยาบาลลำบากแน่นอน
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า การแบ่งบรรจุลูกจ้างชั่วคราวของ สธ.ทั้งหมด 3 หมื่นคน เป็น 3 ปีๆ ละกว่า 7,000 คน คาดว่า ต้องใช้งบประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนพนักงาน กสธ. ใช้เงินบำรุงจ้าง เพราะเดิมโรงพยาบาลต้องใช้เงินบำรุงจ่ายให้กับลูกจ้างชั่วคราวอยู่แล้วก็นำเงินบำรุงมาจ่ายให้กับพนักงาน กสธ. แทน ซึ่งเงินน่าจะพอ เพราะลูกจ้างชั่วคราวบางส่วนไปเป็นข้าราชการ โรงพยาบาลก็จ่ายน้อยลง ส่วนการกำหนดเงินเดือนเพิ่มขึ้น 1.2 เท่านั้น จะไม่กระทบโรงพยาบาล เนื่องจากตรงนี้จะเหมือนกับจ่ายให้คนประมาณ 10,000 คน จากที่มี 30,000 คน ดังนั้นก็เท่ากับโรงพยาบาลจะใช้เงินบำรุงน้อยลงไปเกือบร้อยละ 50 และหากจะรับลูกจ้างแต่ละครั้งจะต้องพิจารณาตามความจำเป็นกับภาระกิจงาน
เมื่อถามว่า แม้ลูกจ้างชั่วคราวส่วนหนึ่งได้บรรจุเป็นข้าราชการ แต่คนจบใหม่ต้องมาเป็นพนักงาน กสธ.โรงพยาบาลก็ต้องรับภาระใช้เงินบำรุงจ้าง นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า อย่าไปเรียกว่าเป็นภาระ เคยบอกแล้วว่าหากเงินไม่พอรัฐบาลก็ต้องเพิ่มค่าเหมาจ่ายรายหัวให้ตามค่าแรงหรือเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น จากเดิม 2,755.60 บาทก็ต้องเป็น 2,800 บาท ไม่เคยมีใครบอกว่าเงินต้องเท่าเดิม บอกแต่เพียงว่าถ้าใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพแล้วยังขาดอีกก็ต้องใส่ลงไป
ส่วนที่มีข่าวว่า อาจของบเหมาจ่ายรายหัวไป 3,300 บาทต่อคนต่อปีนั้น นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ตอนนี้อยากใช้จ่ายงบประมาณให้มีประสิทธิภาพก่อนใส่งบประมาณลงไป ต่อข้อถามว่าแผนกำลังคนกระทรวงสาธารณสุขปี 2556-2560 บุคลากรต้องเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร ก็ใช้เงินบำรุงจ่ายอยู่ดี นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า มีแผนแล้วว่าจะใช้คนน้อยลงและใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วย ถ้าบุคลากรไม่พอก็ต้องใส่เข้าไป ไม่มีเหตุผลที่รัฐบาลลดกำลังคนแล้วทำให้การบริการเสียไป