จนท.สธ.บึงกาฬเดือด! จังหวัดขึ้นเงินเดือนไม่เป็นธรรม รวมพลร่วม 200 คน ร้อง “หมอไพจิตร์” ช่วยเหลือ หลังจังหวัดเกลี่ยเงินให้ 2,500 บาท บริหารจัดการ 500 คน ปรับขึ้นสูงสุดแค่ 4% จำนวน 3 คน ส่วนหน่วยงานอื่นได้สูงสุดถึง 6% ผ่านไปเกือบปีไร้คำชี้แจง
วันนี้ (11 ก.ย.) เมื่อเวลา 08.30 น.ที่อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ ประมาณ 200 คน นำโดย นพ.วิทยา พลสีลา นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.)บึงกาฬ เข้ายื่นหนังสือ เรื่อง “ความไม่เป็นธรรมในการประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือนรอบ 2 ปีงบประมาณ 2554 ของจังหวัดบึงกาฬ” ต่อ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อขอความเป็นธรรมในเรื่องดังกล่าว โดย นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดสธ.เป็นผู้รับหนังสือแทนพร้อมกับกล่าวว่าจะดำเนินการติดตามเรื่องนี้ จากนั้นเจ้าหน้าที่ทั้งหมดได้เดินทางไปรัฐสภาเพื่อยื่นเรื่องร้องเรียนด้วย
นพ.วิทยา กล่าวว่า เดินทางมายื่นหนังสือต่อปลัด สธ.พร้อมกับลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขบึงกาฬ จำนวน 452 ราย จากทั้งหมด 515 ราย เนื่องจากเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการประเมินเลื่อนขึ้นเงินเดือน จากการที่จังหวัดบึงกาฬได้มีการกันเงินสำหรับขึ้นเงินเดือนให้กับเจ้าหน้าที่ในรอบที่ 2 ของปีงบประมาณ 2554 จำนวนทั้งสิ้น 16,000 บาท โดยผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬคนก่อนและนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) บึงกาฬคนก่อน ได้ลงนามในหนังสือจัดสรรเงินส่วนนี้ให้กับเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2,500 บาท สำหรับบริหารจัดการขึ้นเงินเดือนให้กับเจ้าหน้าที่ 515 ราย และจากผลการประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือน พบว่า เจ้าหน้าที่สังกัด สธ.ที่ได้รับการเลื่อนขึ้นเงินเดือนสูงสุดเพียง 4% ของอัตราเงินเดือน จำนวน 3 คน ขณะที่ส่วนใหญ่เฉลี่ยได้รับการปรับเงินเดือน 2-3% และบางคนไม่ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือน แต่สำนักงานจังหวัดกลับมีผู้ได้ปรับเงินเดือนขึ้นสูงสุดถึง 6%
นพ.วิทยา กล่าวอีกว่า เรื่องนี้ผ่านมาเกือบ 1 ปี ที่ผ่านมาเคยแจ้งเรื่องให้กระทรวงทราบแล้ว และกระทรวงได้มีหนังสือสอบถามไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬถึง 2 ครั้งแต่ไม่ได้รับคำชี้แจงใดๆ กลับมา และตอนนี้ผู้ว่าราชการท่านที่ลงนามในหนังสือกันเงินให้กับเจ้าหน้าที่สังกัด สธ.เพียงแค่ 2 พันกว่าบาท ได้ย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ขณะที่นพ.สสจ.ที่ร่วมกับคณะกรรมการในการประเมินอัตราขึ้นเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ได้ย้ายไปเป็นนพ.สสจ.เลย จึงต้องเข้ามาร้องเรียนที่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ เพราะเห็นว่าเจ้าหน้าที่สธ.ไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องนี้ ทั้งที่มีการทำงานสนองนโยบายอย่างเต็มที่ และเท่าที่ทราบกรณีเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่บึงกาฬเท่านั้น จังหวัดอื่น อาทิ สมุทรสาคร กำแพงเพชร หนองคาย และกาฬสินธุ์ ก็มีปัญหาเช่นกัน แต่อาจจะไม่ได้มีการรวมตัวเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม
“ปัญหานี้เกิดขึ้นจากการที่กฎระเบียบของสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กำหนดให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดในการกันเงินไว้สำหรับพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของเจ้าหน้าที่โดยภาพรวม การพิจารณาเกลี่ยให้หน่วยงานต่างๆจึงอยู่ที่ดุลยพินิจของผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหลัก ไม่ได้มีตัวชี้วัดชัดเจน” นพ.วิทยา กล่าว
วันนี้ (11 ก.ย.) เมื่อเวลา 08.30 น.ที่อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ ประมาณ 200 คน นำโดย นพ.วิทยา พลสีลา นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.)บึงกาฬ เข้ายื่นหนังสือ เรื่อง “ความไม่เป็นธรรมในการประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือนรอบ 2 ปีงบประมาณ 2554 ของจังหวัดบึงกาฬ” ต่อ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อขอความเป็นธรรมในเรื่องดังกล่าว โดย นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดสธ.เป็นผู้รับหนังสือแทนพร้อมกับกล่าวว่าจะดำเนินการติดตามเรื่องนี้ จากนั้นเจ้าหน้าที่ทั้งหมดได้เดินทางไปรัฐสภาเพื่อยื่นเรื่องร้องเรียนด้วย
นพ.วิทยา กล่าวว่า เดินทางมายื่นหนังสือต่อปลัด สธ.พร้อมกับลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขบึงกาฬ จำนวน 452 ราย จากทั้งหมด 515 ราย เนื่องจากเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการประเมินเลื่อนขึ้นเงินเดือน จากการที่จังหวัดบึงกาฬได้มีการกันเงินสำหรับขึ้นเงินเดือนให้กับเจ้าหน้าที่ในรอบที่ 2 ของปีงบประมาณ 2554 จำนวนทั้งสิ้น 16,000 บาท โดยผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬคนก่อนและนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) บึงกาฬคนก่อน ได้ลงนามในหนังสือจัดสรรเงินส่วนนี้ให้กับเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2,500 บาท สำหรับบริหารจัดการขึ้นเงินเดือนให้กับเจ้าหน้าที่ 515 ราย และจากผลการประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือน พบว่า เจ้าหน้าที่สังกัด สธ.ที่ได้รับการเลื่อนขึ้นเงินเดือนสูงสุดเพียง 4% ของอัตราเงินเดือน จำนวน 3 คน ขณะที่ส่วนใหญ่เฉลี่ยได้รับการปรับเงินเดือน 2-3% และบางคนไม่ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือน แต่สำนักงานจังหวัดกลับมีผู้ได้ปรับเงินเดือนขึ้นสูงสุดถึง 6%
นพ.วิทยา กล่าวอีกว่า เรื่องนี้ผ่านมาเกือบ 1 ปี ที่ผ่านมาเคยแจ้งเรื่องให้กระทรวงทราบแล้ว และกระทรวงได้มีหนังสือสอบถามไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬถึง 2 ครั้งแต่ไม่ได้รับคำชี้แจงใดๆ กลับมา และตอนนี้ผู้ว่าราชการท่านที่ลงนามในหนังสือกันเงินให้กับเจ้าหน้าที่สังกัด สธ.เพียงแค่ 2 พันกว่าบาท ได้ย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ขณะที่นพ.สสจ.ที่ร่วมกับคณะกรรมการในการประเมินอัตราขึ้นเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ได้ย้ายไปเป็นนพ.สสจ.เลย จึงต้องเข้ามาร้องเรียนที่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ เพราะเห็นว่าเจ้าหน้าที่สธ.ไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องนี้ ทั้งที่มีการทำงานสนองนโยบายอย่างเต็มที่ และเท่าที่ทราบกรณีเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่บึงกาฬเท่านั้น จังหวัดอื่น อาทิ สมุทรสาคร กำแพงเพชร หนองคาย และกาฬสินธุ์ ก็มีปัญหาเช่นกัน แต่อาจจะไม่ได้มีการรวมตัวเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม
“ปัญหานี้เกิดขึ้นจากการที่กฎระเบียบของสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กำหนดให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดในการกันเงินไว้สำหรับพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของเจ้าหน้าที่โดยภาพรวม การพิจารณาเกลี่ยให้หน่วยงานต่างๆจึงอยู่ที่ดุลยพินิจของผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหลัก ไม่ได้มีตัวชี้วัดชัดเจน” นพ.วิทยา กล่าว