เภสัชกรรมชุมชนชี้ 3 ประกาศกรมบัญชีกลางเป็นการผลักภาระให้ผู้ป่วย เสี่ยงต่อการใช้ยาผิดวิธี วอน สปสช.ดัน "เยี่ยมบ้านผู้ป่วยมีปัญหายา" เป็นโครงการถาวร ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านยาและการรักษาได้ แนะดึงร้านขายยาเข้าระบบหลักประกันฯ เป็นหน่วยปฐมภูมิสกรีนผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาล อธิบายวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องตามนโยบายใกล้บ้านใกล้ใจ
ภญ.ช้องมาศ นิติศฤงคาริน นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) กล่าวถึงผลกระทบด้านยา กรณีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ออกประกาศ 3 ฉบับ คือ 1.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสิทธิสวัสดิการข้าราชการต้องลงทะเบียนระบบเบิกจ่ายตรง 1 โรคเรื้อรังต่อ 1 โรงพยาบาล มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ธ.ค.นี้ 2.การระบุเหตุผลการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่าย มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา และ 3.การห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.นี้ ในการอภิปรายเรื่อง "คุณภาพการรักษาและความปลอดภัยของผู้ป่วย" ว่า การบังคับให้โรงพยาบาลจ่ายยาในบัญชียาหลักแห่งชาตินั้น ยาบางตัวไม่ได้มีคุณภาพเพียงพอต่อการรักษา อาจทำให้การรักษาไม่เห็นผลและยืดเยื้อ นอกจากนี้ ยังเป็นการผลักภาระให้ผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการต้องออกไปซื้อยาจากร้านขายยาแทนการเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาล ซึ่งผู้ป่วยต้องจ่ายเงินเองจึงเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรม ซ้ำยังเสี่ยงต่อการเจอร้านขายยาที่ไม่มีเภสัชกรประจำร้าน ซึ่งผู้ขายจะไม่สามารถแนะนำวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องได้ และผู้ป่วยยังเสี่ยงต่อการขาดยา รับประทานยาไม่ต่อเนื่อง ทำให้อาการแย่ลง
ภญ.ช้องมาศ กล่าวอีกว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สภาวะสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งมักป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จำเป็นที่จะต้องใช้ยาในการรักษาจำนวนมาก ดังนั้น ระบบรักษาคุณภาพบริการด้านยาจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่การออกประกาศของกรมบัญชีกลางที่ให้ลงทะเบียนระบบเบิกจ่ายตรง 1 โรคเรื้อรัง ต่อ 1 โรงพยาบาลนั้น ทำให้เกิดปัญหาความแออัดของโรงพยาบาลมากยิ่งขึ้น เจ้าหน้าที่ต้องทำงานให้ทันเวลา บางครั้งแทบไม่ได้ดูหน้าผู้ป่วยเวลารับยาด้วยซ้ำ ขณะที่ผู้ป่วยเองเมื่อต้องรอเป็นเวลานานๆ ก็ไม่มีอารมณ์ในการรับฟังวิธีการใช้ยา ทำให้เกิดการใช้ยาผิดวิธี
"บางรายมีนิสัยใครแนะนำว่าโรงพยาบาลไหนดีก็ไปรักษาตามนั้น ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลไม่มีฐานข้อมูลผู้ป่วยร่วมกัน ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาหลายตัว บางครั้งโรงพยาบาลเดียวยังได้รับยาจากหลายแผนก ซึ่งยาบางตัวมีผลข้างเคียงทำให้หน้ามืดไวขึ้น วิงเวียน บางรายกินยาหลายตัวทำให้ยาตีกันเอง ซึ่งตรงนี้เราไม่มีการวัดประสิทธิผลการใช้ยาหลังการรักษาเพื่อสะท้อนข้อมูลกลับไปยังโรงพยาบาลเลยว่า ผู้ป่วยกินยาต่อเนื่องหรือไม่ หรือมีการรับยาหลายตัว หรือเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา หรือรู้สึกไม่ได้ดังใจ ซึ่งเสี่ยงต่อการที่ผู้ป่วยจะเปลี่ยนโรงพยาบาล ทำให้ยาเหลือ และเป็นการสูญเสียระบบเศรษฐกิจ" นายกส.เภสัชกรรมฯ กล่าว
ภญ.ช้องมาศ กล่าวด้วยว่า สำหรับวิธีแก้ปัญหาการวัดประสิทธิผลการใช้ยานั้น เภสัชกรประจำร้านขายยาสามารถช่วยได้ ขอเพียงสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ใจกว้างพอที่จะให้ร้านขายยาเข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพด้วย เพราะที่ผ่านมาสำนักงานรับรองคุณภาพร้านยาโดยสภาเภสัชกรรมได้เสนอโครงการนำร่องต่อ สปสช.มาโดยตลอด ในการนำเภสัชกรไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการใช้ยา โดยขอเคสศึกษามาจากหน่วยพีซียู หรือสถานีอนามัย ซึ่งจากการไปเยี่ยมผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการใช้ยานั้น ส่วนมากพบว่า มีปัญหาในเรื่องการพบแพทย์หลายคน ไม่ได้กินยาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีคนดูแลเรื่องยา และจัดยาผิดวิธี
"โครงการนี้เราทำมาประมาณ 5 ปีแล้ว แต่สปสช.ยังไม่สนับสนุนให้เป็นโครงการถาวรโดยผลักดันให้ร้านขายยาเข้าไปอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพ ทั้งที่ปีนึงมีการเยี่ยมผู้ป่วยเป็นพันเคส โดยลงไปทำความเข้าใจเรื่องการใช้ยา การจัดยา การกินยาที่ถูกต้องให้แก่ผู้ป่วย ช่วยวิเคราะห์ไลฟ์สไตล์ของผู้ป่วยต่อการกินยาให้เหมาะสม รวมไปถึงการตรวจยาที่ผู้ป่วยใช้มีปัญหาหรือไม่ อาการข้างเคียงจากการใช้ยา และช่วยทำความเข้าใจต่อการโฆษณาชวนเชื่อยาตามเคเบิลทีวี เป็นต้น ซึ่งจากการวิจัย การลงไปให้ความรู้ตรงนี้สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านยาและการรักษาพยาบาลได้" ภญ.ช้องมาศ กล่าว
ภญ.ช้องมาศ กล่าวต่อไปว่า การให้เภสัชกรและร้านขายยาทำหน้าที่ตรงนี้จะกลายเป็นหน่วยปฐมภูมิที่เข้าถึงประชาชนก่อน สอดคล้องกับนโยบายใกล้บ้านใกล้ใจ เนื่องจากประชาชนเมื่อไม่สบายมักจะซื้อยากินเองก่อน เภสัชกรก็จะทำการสกรีนว่ามีแนวโน้มจะป่วยหรือไม่ ช่วยให้พบโรคก่อนแต่เนิ่นๆ ก่อนนำเข้าสู่ระบบของโรงพยาบาลต่อไป ซึ่งหลังจากการรักษาที่โรงพยาบาลแล้ว ก็จะเป็นหน่วยที่ให้บริการอธิบายการใช้ยาแบบใกล้บ้านใกล้ใจ รวมถึงช่วยปรับพฤติกรรมการใช้ยาด้วย ตรงนี้จะทำให้คุณภาพการรักษาของผู้ป่วยดีขึ้น
ภญ.ช้องมาศ นิติศฤงคาริน นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) กล่าวถึงผลกระทบด้านยา กรณีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ออกประกาศ 3 ฉบับ คือ 1.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสิทธิสวัสดิการข้าราชการต้องลงทะเบียนระบบเบิกจ่ายตรง 1 โรคเรื้อรังต่อ 1 โรงพยาบาล มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ธ.ค.นี้ 2.การระบุเหตุผลการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่าย มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา และ 3.การห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.นี้ ในการอภิปรายเรื่อง "คุณภาพการรักษาและความปลอดภัยของผู้ป่วย" ว่า การบังคับให้โรงพยาบาลจ่ายยาในบัญชียาหลักแห่งชาตินั้น ยาบางตัวไม่ได้มีคุณภาพเพียงพอต่อการรักษา อาจทำให้การรักษาไม่เห็นผลและยืดเยื้อ นอกจากนี้ ยังเป็นการผลักภาระให้ผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการต้องออกไปซื้อยาจากร้านขายยาแทนการเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาล ซึ่งผู้ป่วยต้องจ่ายเงินเองจึงเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรม ซ้ำยังเสี่ยงต่อการเจอร้านขายยาที่ไม่มีเภสัชกรประจำร้าน ซึ่งผู้ขายจะไม่สามารถแนะนำวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องได้ และผู้ป่วยยังเสี่ยงต่อการขาดยา รับประทานยาไม่ต่อเนื่อง ทำให้อาการแย่ลง
ภญ.ช้องมาศ กล่าวอีกว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สภาวะสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งมักป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จำเป็นที่จะต้องใช้ยาในการรักษาจำนวนมาก ดังนั้น ระบบรักษาคุณภาพบริการด้านยาจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่การออกประกาศของกรมบัญชีกลางที่ให้ลงทะเบียนระบบเบิกจ่ายตรง 1 โรคเรื้อรัง ต่อ 1 โรงพยาบาลนั้น ทำให้เกิดปัญหาความแออัดของโรงพยาบาลมากยิ่งขึ้น เจ้าหน้าที่ต้องทำงานให้ทันเวลา บางครั้งแทบไม่ได้ดูหน้าผู้ป่วยเวลารับยาด้วยซ้ำ ขณะที่ผู้ป่วยเองเมื่อต้องรอเป็นเวลานานๆ ก็ไม่มีอารมณ์ในการรับฟังวิธีการใช้ยา ทำให้เกิดการใช้ยาผิดวิธี
"บางรายมีนิสัยใครแนะนำว่าโรงพยาบาลไหนดีก็ไปรักษาตามนั้น ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลไม่มีฐานข้อมูลผู้ป่วยร่วมกัน ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาหลายตัว บางครั้งโรงพยาบาลเดียวยังได้รับยาจากหลายแผนก ซึ่งยาบางตัวมีผลข้างเคียงทำให้หน้ามืดไวขึ้น วิงเวียน บางรายกินยาหลายตัวทำให้ยาตีกันเอง ซึ่งตรงนี้เราไม่มีการวัดประสิทธิผลการใช้ยาหลังการรักษาเพื่อสะท้อนข้อมูลกลับไปยังโรงพยาบาลเลยว่า ผู้ป่วยกินยาต่อเนื่องหรือไม่ หรือมีการรับยาหลายตัว หรือเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา หรือรู้สึกไม่ได้ดังใจ ซึ่งเสี่ยงต่อการที่ผู้ป่วยจะเปลี่ยนโรงพยาบาล ทำให้ยาเหลือ และเป็นการสูญเสียระบบเศรษฐกิจ" นายกส.เภสัชกรรมฯ กล่าว
ภญ.ช้องมาศ กล่าวด้วยว่า สำหรับวิธีแก้ปัญหาการวัดประสิทธิผลการใช้ยานั้น เภสัชกรประจำร้านขายยาสามารถช่วยได้ ขอเพียงสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ใจกว้างพอที่จะให้ร้านขายยาเข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพด้วย เพราะที่ผ่านมาสำนักงานรับรองคุณภาพร้านยาโดยสภาเภสัชกรรมได้เสนอโครงการนำร่องต่อ สปสช.มาโดยตลอด ในการนำเภสัชกรไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการใช้ยา โดยขอเคสศึกษามาจากหน่วยพีซียู หรือสถานีอนามัย ซึ่งจากการไปเยี่ยมผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการใช้ยานั้น ส่วนมากพบว่า มีปัญหาในเรื่องการพบแพทย์หลายคน ไม่ได้กินยาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีคนดูแลเรื่องยา และจัดยาผิดวิธี
"โครงการนี้เราทำมาประมาณ 5 ปีแล้ว แต่สปสช.ยังไม่สนับสนุนให้เป็นโครงการถาวรโดยผลักดันให้ร้านขายยาเข้าไปอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพ ทั้งที่ปีนึงมีการเยี่ยมผู้ป่วยเป็นพันเคส โดยลงไปทำความเข้าใจเรื่องการใช้ยา การจัดยา การกินยาที่ถูกต้องให้แก่ผู้ป่วย ช่วยวิเคราะห์ไลฟ์สไตล์ของผู้ป่วยต่อการกินยาให้เหมาะสม รวมไปถึงการตรวจยาที่ผู้ป่วยใช้มีปัญหาหรือไม่ อาการข้างเคียงจากการใช้ยา และช่วยทำความเข้าใจต่อการโฆษณาชวนเชื่อยาตามเคเบิลทีวี เป็นต้น ซึ่งจากการวิจัย การลงไปให้ความรู้ตรงนี้สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านยาและการรักษาพยาบาลได้" ภญ.ช้องมาศ กล่าว
ภญ.ช้องมาศ กล่าวต่อไปว่า การให้เภสัชกรและร้านขายยาทำหน้าที่ตรงนี้จะกลายเป็นหน่วยปฐมภูมิที่เข้าถึงประชาชนก่อน สอดคล้องกับนโยบายใกล้บ้านใกล้ใจ เนื่องจากประชาชนเมื่อไม่สบายมักจะซื้อยากินเองก่อน เภสัชกรก็จะทำการสกรีนว่ามีแนวโน้มจะป่วยหรือไม่ ช่วยให้พบโรคก่อนแต่เนิ่นๆ ก่อนนำเข้าสู่ระบบของโรงพยาบาลต่อไป ซึ่งหลังจากการรักษาที่โรงพยาบาลแล้ว ก็จะเป็นหน่วยที่ให้บริการอธิบายการใช้ยาแบบใกล้บ้านใกล้ใจ รวมถึงช่วยปรับพฤติกรรมการใช้ยาด้วย ตรงนี้จะทำให้คุณภาพการรักษาของผู้ป่วยดีขึ้น