เผย 3 กองทุนขาดทุน 5-6 พันล้านบาทต่อปี เหตุแบกรับค่ารักษาผู้ป่วยอุบัติเหตุรถยนต์ไม่เบิกเงินประกัน เล็งปรับขั้นตอนให้โอนเงินก่อนทำเรื่องทีหลัง และแก้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ พร้อมดันเข้าระบบเคลียริงเฮาส์ สปสช.
นายคณิศ แสงสุพรรณ ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า ขณะนี้มีการหารือกันใน 3 กองทุน ทั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) กองทุนประกันสังคม และกองทุนสิทธิสวัสดิการข้าราชการ เกี่ยวกับปัญหาผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุจากรถยนต์ไม่ไปแจ้งขอเงินประกันในการรักษาพยาบาล เนื่องจากมีขั้นตอนที่ยุ่งยากในเรื่องของการแจ้งความ ทำเอกสารต่างๆ ทำให้ทั้ง 3 กองทุนต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลแทนเงินประกันอุบัติเหตุบางส่วนที่ควรได้รับ ส่งผลให้ต้องประสบปัญหาขาดทุนประมาณ 5-6 พันล้านบาทต่อปี จึงต้องหารือกันเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวให้เหมาะสม
นายคณิศ กล่าวอีกว่า ขณะนี้มี 2 แนวทางแก้ไข คือ 1.ต้องแก้ปัญหาเรื่องการโอนเงิน โดยต้องลดขั้นตอนยุ่งยากเรื่องเอกสาร เพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ไม่เช่นนั้น ผู้ป่วยจะไม่ใช้สิทธิ เพราะได้รับการดูแลจากแต่ละกองทุนอยู่แล้ว และ 2.อาจต้องปรับแก้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ โดยอาจให้มาอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เนื่องจากเมื่อเกิดอุบัติเหตุก็ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งต้องอยู่ในการดูแลของกระทรวงเป็นส่วนใหญ่ เรื่องนี้ทั้งกองทุนประกันสังคม และกองทุนสิทธิสวัสดิการข้าราชการก็เห็นด้วย เพียงแต่ต้องมาหาทางออกในรายละเอียดร่วมกันอีกครั้ง โดยจะจัดทำเป็นแผนและเสนอคณะกรรมการเชิงนโยบายเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำระหว่าง 3 กองทุนประกันสุขภาพภาครัฐ ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่ สปสช.จะเป็นเคลียริงเฮาส์ (Clearinghouse) ออกเงินกรณีอุบัติเหตุไปก่อน นายคณิศ กล่าวว่า อนาคตอาจเป็นได้ โดย สปสช.อาจสำรองจ่ายก่อน และค่อยเรียกเก็บกับกองทุนประกัน เพราะมีประสบการณ์จากกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินไม่ถามสิทธิอยู่แล้ว แต่ทั้งหมดก็ต้องขึ้นอยู่กับการหารือก่อน
นายคณิศ แสงสุพรรณ ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า ขณะนี้มีการหารือกันใน 3 กองทุน ทั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) กองทุนประกันสังคม และกองทุนสิทธิสวัสดิการข้าราชการ เกี่ยวกับปัญหาผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุจากรถยนต์ไม่ไปแจ้งขอเงินประกันในการรักษาพยาบาล เนื่องจากมีขั้นตอนที่ยุ่งยากในเรื่องของการแจ้งความ ทำเอกสารต่างๆ ทำให้ทั้ง 3 กองทุนต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลแทนเงินประกันอุบัติเหตุบางส่วนที่ควรได้รับ ส่งผลให้ต้องประสบปัญหาขาดทุนประมาณ 5-6 พันล้านบาทต่อปี จึงต้องหารือกันเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวให้เหมาะสม
นายคณิศ กล่าวอีกว่า ขณะนี้มี 2 แนวทางแก้ไข คือ 1.ต้องแก้ปัญหาเรื่องการโอนเงิน โดยต้องลดขั้นตอนยุ่งยากเรื่องเอกสาร เพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ไม่เช่นนั้น ผู้ป่วยจะไม่ใช้สิทธิ เพราะได้รับการดูแลจากแต่ละกองทุนอยู่แล้ว และ 2.อาจต้องปรับแก้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ โดยอาจให้มาอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เนื่องจากเมื่อเกิดอุบัติเหตุก็ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งต้องอยู่ในการดูแลของกระทรวงเป็นส่วนใหญ่ เรื่องนี้ทั้งกองทุนประกันสังคม และกองทุนสิทธิสวัสดิการข้าราชการก็เห็นด้วย เพียงแต่ต้องมาหาทางออกในรายละเอียดร่วมกันอีกครั้ง โดยจะจัดทำเป็นแผนและเสนอคณะกรรมการเชิงนโยบายเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำระหว่าง 3 กองทุนประกันสุขภาพภาครัฐ ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่ สปสช.จะเป็นเคลียริงเฮาส์ (Clearinghouse) ออกเงินกรณีอุบัติเหตุไปก่อน นายคณิศ กล่าวว่า อนาคตอาจเป็นได้ โดย สปสช.อาจสำรองจ่ายก่อน และค่อยเรียกเก็บกับกองทุนประกัน เพราะมีประสบการณ์จากกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินไม่ถามสิทธิอยู่แล้ว แต่ทั้งหมดก็ต้องขึ้นอยู่กับการหารือก่อน