เล็งขยายมาตรา 41 ครอบคลุมกองทุนประกันสังคม-ข้าราชการ สะดุด! เหตุขัดข้อ กม.เตรียมเสนอบอร์ด สปสช.-สปส.-ขรก.ดันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ชี้ คุ้มครอง ปชช.ทั้ง 3 กองทุน และ รพ.เอกชน
จากกรณีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) มีมติเพิ่มค่าชดเชยให้กับผู้ป่วยตามระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ให้ขยายกรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพอย่างถาวร จากเดิมจ่ายเงินไม่เกิน 200,000 บาท เป็น 400,000 บาท กรณีพิการจากเดิม 120,000 บาท เป็น 240,000 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้ ด้านแพทยสภามีข้อเสนอให้บอร์ด สปสช.ขยายครอบคลุมกรณีดังกล่าวไปยังกองทุนประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ เพื่อความเท่าเทียม ระหว่างรอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.. ซึ่งยังเป็นวาระรอการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร และยังไม่แล้วเสร็จ
วันนี้ (4 ก.ย.) นางสุนทรี เซ่งกี่ ประธานคณะอนุกรรมการการมีส่วนร่วม และการคุ้มครองสิทธิ บอร์ด สปสช.กล่าวว่า คณะอนุกรรมการได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 3 กันยายน ที่ผ่านมา ถึงข้อเสนอดังกล่าว โดยได้เชิญผู้แทนจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกรมบัญชีกลาง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลว่า แต่ละกองทุนมีระบบการให้ความช่วยเหลือ หรือเยียวยาเบื้องต้นอย่างไรบ้าง ปรากฏว่า มีเพียงสิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรคเท่านั้น ที่มีกฎหมายช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น ขณะที่อีก 2 กองทุนไม่มีระบบดังกล่าว จึงมีการหารือว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะขยายมาตรา 41 ไปยังกองทุนเหล่านี้ ซึ่งจากการพิจารณาไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะแต่ละกองทุนมีกฎหมายเฉพาะ หากจะทำเช่นนั้นจะต้องแก้กฎหมาย
“ด้วยเหตุนี้ผู้แทนทั้งจาก สปส.และกรมบัญชีกลาง จึงขอนำข้อมูลจากการประชุมที่ผ่านมาไปรายงานให้ผู้บริหารรับทราบก่อน เนื่องจากผู้แทนที่มาไม่มีอำนาจในการตัดสินใจใดๆ ดังนั้น การคุ้มครองกรณีมาตรา 41 ที่มีการขยายวงเงินเพิ่มจากเดิมนั้นจะครอบคลุมเพียงผู้ป่วย 30 บาทรักษาทุกโรคเท่านั้นโดยจะเริ่มวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ส่วนกองทุนอื่นๆ จำเป็นต้องหารือกันอีก” นางสุนทรี กล่าว
นางสุนทรี กล่าวอีกว่า ในที่ประชุมมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ 2 ทาง คือ 1.รัฐบาลต้องมีนโยบายในการแก้กฎหมายแต่ละกองทุน เพื่อให้มีระบบช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น และ 2.ผลักดันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ให้ถึงที่สุด เนื่องจากขณะนี้ยังอยู่ระหว่างรอการพิจารณาของสภาฯ โดยผลสรุปของการประชุมดังกล่าวจะเสนอให้กับทางบอร์ด สปสช.เลขาธิการ สปสช. สปส.และกรมบัญชีกลาง เพื่อประกอบการพิจารณาและหาทางปรับปรุงให้ผู้ป่วยในสิทธินั้นๆ ได้รับประโยชน์สูงสุดต่อไป
ด้าน นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า เมื่อการขยายมาตรา 41 ไปยังกองทุนอื่นๆ ไม่สามารถทำได้ ทางเดียวคือ ต้องผลักดันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ให้มีการประกาศใช้จริง เพราะร่างกฎหมายนี้จะครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มทุกระบบ แม้แต่โรงพยาบาลเอกชนก็ครอบคลุมด้วย ซึ่งขณะนี้ตัวร่าง พ.ร.บ.อยู่ระหว่างรอการพิจารณา เนื่องจากทางกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่า จะมีการปรับแก้กฎหมายในส่วนของภาคประชาชนและฝ่ายแพทย์ให้เป็นร่างเดียวกันก่อนจะเสนอกลับเข้าสภาฯอีกครั้ง แต่ 4 เดือนแล้วก็ยังไม่มีความคืบหน้า ล่าสุด ตนได้ทำหนังสือส่งผ่านไปรษณีย์ไปยัง รมว.สาธารณสุข เพื่อทวงถามแล้ว
จากกรณีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) มีมติเพิ่มค่าชดเชยให้กับผู้ป่วยตามระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ให้ขยายกรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพอย่างถาวร จากเดิมจ่ายเงินไม่เกิน 200,000 บาท เป็น 400,000 บาท กรณีพิการจากเดิม 120,000 บาท เป็น 240,000 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้ ด้านแพทยสภามีข้อเสนอให้บอร์ด สปสช.ขยายครอบคลุมกรณีดังกล่าวไปยังกองทุนประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ เพื่อความเท่าเทียม ระหว่างรอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.. ซึ่งยังเป็นวาระรอการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร และยังไม่แล้วเสร็จ
วันนี้ (4 ก.ย.) นางสุนทรี เซ่งกี่ ประธานคณะอนุกรรมการการมีส่วนร่วม และการคุ้มครองสิทธิ บอร์ด สปสช.กล่าวว่า คณะอนุกรรมการได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 3 กันยายน ที่ผ่านมา ถึงข้อเสนอดังกล่าว โดยได้เชิญผู้แทนจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกรมบัญชีกลาง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลว่า แต่ละกองทุนมีระบบการให้ความช่วยเหลือ หรือเยียวยาเบื้องต้นอย่างไรบ้าง ปรากฏว่า มีเพียงสิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรคเท่านั้น ที่มีกฎหมายช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น ขณะที่อีก 2 กองทุนไม่มีระบบดังกล่าว จึงมีการหารือว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะขยายมาตรา 41 ไปยังกองทุนเหล่านี้ ซึ่งจากการพิจารณาไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะแต่ละกองทุนมีกฎหมายเฉพาะ หากจะทำเช่นนั้นจะต้องแก้กฎหมาย
“ด้วยเหตุนี้ผู้แทนทั้งจาก สปส.และกรมบัญชีกลาง จึงขอนำข้อมูลจากการประชุมที่ผ่านมาไปรายงานให้ผู้บริหารรับทราบก่อน เนื่องจากผู้แทนที่มาไม่มีอำนาจในการตัดสินใจใดๆ ดังนั้น การคุ้มครองกรณีมาตรา 41 ที่มีการขยายวงเงินเพิ่มจากเดิมนั้นจะครอบคลุมเพียงผู้ป่วย 30 บาทรักษาทุกโรคเท่านั้นโดยจะเริ่มวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ส่วนกองทุนอื่นๆ จำเป็นต้องหารือกันอีก” นางสุนทรี กล่าว
นางสุนทรี กล่าวอีกว่า ในที่ประชุมมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ 2 ทาง คือ 1.รัฐบาลต้องมีนโยบายในการแก้กฎหมายแต่ละกองทุน เพื่อให้มีระบบช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น และ 2.ผลักดันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ให้ถึงที่สุด เนื่องจากขณะนี้ยังอยู่ระหว่างรอการพิจารณาของสภาฯ โดยผลสรุปของการประชุมดังกล่าวจะเสนอให้กับทางบอร์ด สปสช.เลขาธิการ สปสช. สปส.และกรมบัญชีกลาง เพื่อประกอบการพิจารณาและหาทางปรับปรุงให้ผู้ป่วยในสิทธินั้นๆ ได้รับประโยชน์สูงสุดต่อไป
ด้าน นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า เมื่อการขยายมาตรา 41 ไปยังกองทุนอื่นๆ ไม่สามารถทำได้ ทางเดียวคือ ต้องผลักดันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ให้มีการประกาศใช้จริง เพราะร่างกฎหมายนี้จะครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มทุกระบบ แม้แต่โรงพยาบาลเอกชนก็ครอบคลุมด้วย ซึ่งขณะนี้ตัวร่าง พ.ร.บ.อยู่ระหว่างรอการพิจารณา เนื่องจากทางกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่า จะมีการปรับแก้กฎหมายในส่วนของภาคประชาชนและฝ่ายแพทย์ให้เป็นร่างเดียวกันก่อนจะเสนอกลับเข้าสภาฯอีกครั้ง แต่ 4 เดือนแล้วก็ยังไม่มีความคืบหน้า ล่าสุด ตนได้ทำหนังสือส่งผ่านไปรษณีย์ไปยัง รมว.สาธารณสุข เพื่อทวงถามแล้ว