รพ.เอกชนท้วงค่ารักษากลุ่มโรคร้ายแรง นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯต่ำเกินไป เสนอเก็บตามราคาเรียกโรงพยาบาล “วิทยา” มอบปลัด สธ.เร่งเจรจา ด้าน เลขาฯ สปสช.ย้ำ หากเข้าข่ายฉุกเฉินต้องโรงพยาบาลต้องบริการฟรี ห้ามเก็บเงิน เตรียมคุยทำความเข้าใจ
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ว่า ที่ประชุมได้มีการประเมินผลการดำเนินงานนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียวไม่ถามสิทธิ ซึ่งเริ่มดำเนินการไปเมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่า มีปัญหาใน 2 ประเด็น คือ 1.โรงพยาบาลเอกชนท้วงติงการกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลตามกลุ่มโรคร้ายแรง ซึ่งเริ่มที่ 10,500 บาท เนื่องจากเห็นว่าไม่ได้เป็นตัวเลขที่สะท้อนต้นทุนการรักษาที่แท้จริง แต่ควรเก็บตามราคาเรียกของโรงพยาบาล ซึ่งเรื่องนี้ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานบอร์ด สปสช.ได้มอบหมายให้ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.ไปเจรจาหารือเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวแล้ว และ 2.การเรียกเก็บเงินจากผู้ป่วย เนื่องจากพบว่าที่ผ่านมาผู้ป่วยบางรายยังถูกเรียกเก็บเงินอยู่ แม้จะเป็นกรณีฉุกเฉินก็ตาม
“การจะคงอัตราค่ารักษาตามกลุ่มโรคร้ายแรงตามเดิมหรือมากกว่านั้น จำเป็นต้องหารืออย่างละเอียดทั้งในส่วน สปสช.และโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งยังไม่สามารถตอบได้ต้องรอการเจรจาก่อน ส่วนการเรียกเก็บเงินจากผู้ป่วย จะเร่งแก้ไขและทำความเข้าใจกับโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งขอย้ำว่าไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะหากเข้าข่ายฉุกเฉินต้องบริการฟรีไม่มีเงื่อนไข” เลขาธิการ สปสช.กล่าว
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า สำหรับการประเมินผลการดำเนินการ 5 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. - 31 ส.ค.2555 พบว่า มีจำนวน 5,819 ราย แบ่งเป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรคจำนวน 3,279 ราย คิดเป็นผู้ใช้บริการร้อยละ 56.35 จากประชากรในระบบทั้งหมด 48,598,058 ราย สิทธิประกันสังคมใช้บริการ 502 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.63 จากทั้งหมด 9,969,100 ราย สิทธิข้าราชการเข้าใช้ 2,025 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.80 จากทั้งหมด 4,947,397 ราย ส่วนสิทธิอื่นๆ อีก 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.22 จากทั้งหมด 1,863,040 ราย โดยจ่ายสำรองให้โรงพยาบาลไปแล้ว 98,103,385 ล้านบาท
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า ปัญหาภาพรวมเกี่ยวกับนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ จำเป็นต้องประมวลและแยกเป็นข้อๆ ส่วนกรณีโรงพยาบาลเอกชนกับอัตราค่ารักษาพยาบาลตามกลุ่มโรคร้ายแรงนั้น ต้องศึกษารายละเอียด และต้องมีข้อมูลรอบด้านก่อน จากนั้นจึงจะนัดเจรจาอย่างเป็นทางการ
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ว่า ที่ประชุมได้มีการประเมินผลการดำเนินงานนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียวไม่ถามสิทธิ ซึ่งเริ่มดำเนินการไปเมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่า มีปัญหาใน 2 ประเด็น คือ 1.โรงพยาบาลเอกชนท้วงติงการกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลตามกลุ่มโรคร้ายแรง ซึ่งเริ่มที่ 10,500 บาท เนื่องจากเห็นว่าไม่ได้เป็นตัวเลขที่สะท้อนต้นทุนการรักษาที่แท้จริง แต่ควรเก็บตามราคาเรียกของโรงพยาบาล ซึ่งเรื่องนี้ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานบอร์ด สปสช.ได้มอบหมายให้ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.ไปเจรจาหารือเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวแล้ว และ 2.การเรียกเก็บเงินจากผู้ป่วย เนื่องจากพบว่าที่ผ่านมาผู้ป่วยบางรายยังถูกเรียกเก็บเงินอยู่ แม้จะเป็นกรณีฉุกเฉินก็ตาม
“การจะคงอัตราค่ารักษาตามกลุ่มโรคร้ายแรงตามเดิมหรือมากกว่านั้น จำเป็นต้องหารืออย่างละเอียดทั้งในส่วน สปสช.และโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งยังไม่สามารถตอบได้ต้องรอการเจรจาก่อน ส่วนการเรียกเก็บเงินจากผู้ป่วย จะเร่งแก้ไขและทำความเข้าใจกับโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งขอย้ำว่าไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะหากเข้าข่ายฉุกเฉินต้องบริการฟรีไม่มีเงื่อนไข” เลขาธิการ สปสช.กล่าว
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า สำหรับการประเมินผลการดำเนินการ 5 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. - 31 ส.ค.2555 พบว่า มีจำนวน 5,819 ราย แบ่งเป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรคจำนวน 3,279 ราย คิดเป็นผู้ใช้บริการร้อยละ 56.35 จากประชากรในระบบทั้งหมด 48,598,058 ราย สิทธิประกันสังคมใช้บริการ 502 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.63 จากทั้งหมด 9,969,100 ราย สิทธิข้าราชการเข้าใช้ 2,025 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.80 จากทั้งหมด 4,947,397 ราย ส่วนสิทธิอื่นๆ อีก 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.22 จากทั้งหมด 1,863,040 ราย โดยจ่ายสำรองให้โรงพยาบาลไปแล้ว 98,103,385 ล้านบาท
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า ปัญหาภาพรวมเกี่ยวกับนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ จำเป็นต้องประมวลและแยกเป็นข้อๆ ส่วนกรณีโรงพยาบาลเอกชนกับอัตราค่ารักษาพยาบาลตามกลุ่มโรคร้ายแรงนั้น ต้องศึกษารายละเอียด และต้องมีข้อมูลรอบด้านก่อน จากนั้นจึงจะนัดเจรจาอย่างเป็นทางการ