“ชินภัทร” ชี้ ยุครุ่งเรืองทางเทคโนโลยี ครูต้องปรับตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อส่งต่อความรู้ไปยังนักเรียน ระบุ สพฐ.เน้นพัฒนาผู้เรียนคิดอย่างเป็นระบบ
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดการประชุมมหกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ 5 ณ เมืองทองธานี จ.นนทบุรี มีใจความตอนหนึ่ง ว่า ปัจจุบันเป็นยุคความรุ่งเรืองทางเทคโนโลยี แต่พวกเราเองก็ไม่เคยลืมหรือละเลยความสำคัญและคุณค่าของวิชาชีพครู ครูอาจารย์ทั้งหลายจะมีความรับผิดชอบเสมอต่อการติดตามประเมินผลนักเรียนและ สร้างผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในแต่ละโรงเรียน อย่างไรก็ดี ครูต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ เพราะนี่คือสิ่งสำคัญที่ครูจะต้องได้รับการฝึกอบรมพร้อมทั้งอุปกรณ์การสอน ทั้งหลายที่จะมีประโยชน์ต่อชั้นเรียน ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่ได้มีการพูดถึงเรื่องของคุณภาพครูจะเน้นไปที่ประสิทธิภาพ ในการจัดการเรียนการสอนและควบคุมดูแลกิจกรรมการเรียนของครู
“การที่โลกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมากครูจะต้องได้รับการเตรียมพร้อม และจัดหาอุปกรณ์ให้ เพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับโลกที่จะมีการแข่งขันกันอย่างมากใน ปัจจุบัน ซึ่งจำเป็นต้องจัดเตรียมนักเรียนให้มีทักษะเฉพาะเพื่อที่นักเรียนจะได้สามารถเผชิญหน้าและฝ่าฟันอุปสรรค ความท้าทายที่นักเรียนจะต้องพบอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในแง่ของการอยู่ร่วมกันในสังคมและการทำงาน” เลขาธิการ กพฐ.กล่าวและว่า สำหรับประเทศไทยนั้น เวลานี้กำลังมุ่งเน้นที่จะพัฒนาคุณลักษณะสำคัญของนักเรียนในเรื่องของการคิดอย่างเป็นระบบ ความสามารถด้านการสื่อสาร และการผ่อนคลายปัญหาทางสังคม ซึ่งมี 5 ขั้นตอนการเรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางให้กับครูๆในการสร้าง “บันได” ไปสู่คุณลักษณะดังกล่าว ได้แก่ 1.รู้จักตั้งคำถาม 2.รู้จักค้นคว้า 3.รู้จักปฏิบัติ 4.รู้จักสื่อสาร 5.รู้จักกับใช้สังคม
ด้าน น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่ออุตสาหกรรมการศึกษาใน ศตวรรษที่ 21 ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นโครงสร้างหลักในอุตสาหกรรมทุกๆ ประเภท การนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างชาญฉลาด ถือเป็นภารกิจที่สำคัญ ทั้งนี้ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อีกเป็นบทบาทหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวคือการเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ การลดช่องว่างทางการศึกษาทำให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะของเด็กและเยาวชน สำหรับโครงการคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตทำให้เด็กได้เรียนรู้ ทุกที่ ทุกเวลาและถือเป็นก้าวแรกที่จะนำไอซีทีมาสนับสนุนระบบการศึกษา
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดการประชุมมหกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ 5 ณ เมืองทองธานี จ.นนทบุรี มีใจความตอนหนึ่ง ว่า ปัจจุบันเป็นยุคความรุ่งเรืองทางเทคโนโลยี แต่พวกเราเองก็ไม่เคยลืมหรือละเลยความสำคัญและคุณค่าของวิชาชีพครู ครูอาจารย์ทั้งหลายจะมีความรับผิดชอบเสมอต่อการติดตามประเมินผลนักเรียนและ สร้างผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในแต่ละโรงเรียน อย่างไรก็ดี ครูต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ เพราะนี่คือสิ่งสำคัญที่ครูจะต้องได้รับการฝึกอบรมพร้อมทั้งอุปกรณ์การสอน ทั้งหลายที่จะมีประโยชน์ต่อชั้นเรียน ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่ได้มีการพูดถึงเรื่องของคุณภาพครูจะเน้นไปที่ประสิทธิภาพ ในการจัดการเรียนการสอนและควบคุมดูแลกิจกรรมการเรียนของครู
“การที่โลกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมากครูจะต้องได้รับการเตรียมพร้อม และจัดหาอุปกรณ์ให้ เพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับโลกที่จะมีการแข่งขันกันอย่างมากใน ปัจจุบัน ซึ่งจำเป็นต้องจัดเตรียมนักเรียนให้มีทักษะเฉพาะเพื่อที่นักเรียนจะได้สามารถเผชิญหน้าและฝ่าฟันอุปสรรค ความท้าทายที่นักเรียนจะต้องพบอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในแง่ของการอยู่ร่วมกันในสังคมและการทำงาน” เลขาธิการ กพฐ.กล่าวและว่า สำหรับประเทศไทยนั้น เวลานี้กำลังมุ่งเน้นที่จะพัฒนาคุณลักษณะสำคัญของนักเรียนในเรื่องของการคิดอย่างเป็นระบบ ความสามารถด้านการสื่อสาร และการผ่อนคลายปัญหาทางสังคม ซึ่งมี 5 ขั้นตอนการเรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางให้กับครูๆในการสร้าง “บันได” ไปสู่คุณลักษณะดังกล่าว ได้แก่ 1.รู้จักตั้งคำถาม 2.รู้จักค้นคว้า 3.รู้จักปฏิบัติ 4.รู้จักสื่อสาร 5.รู้จักกับใช้สังคม
ด้าน น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่ออุตสาหกรรมการศึกษาใน ศตวรรษที่ 21 ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นโครงสร้างหลักในอุตสาหกรรมทุกๆ ประเภท การนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างชาญฉลาด ถือเป็นภารกิจที่สำคัญ ทั้งนี้ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อีกเป็นบทบาทหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวคือการเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ การลดช่องว่างทางการศึกษาทำให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะของเด็กและเยาวชน สำหรับโครงการคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตทำให้เด็กได้เรียนรู้ ทุกที่ ทุกเวลาและถือเป็นก้าวแรกที่จะนำไอซีทีมาสนับสนุนระบบการศึกษา