“วิทยา” ฟุ้ง ยูเอ็นชื่นชมงานหลักประกันสุขภาพไทย เป็นต้นแบบประเทศกำลังพัฒนาในการดูแลสุขภาพประชาชน รวมถึงการดูแลสตรีและเด็กอย่างเท่าเทียม
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการติดตามคณะนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 67 ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งในส่วนของงานสาธารณสุขนั้น นายกรัฐมนตรีได้รายงานเกี่ยวกับเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติชื่นชมถึงผลสำเร็จการดำเนินการเพื่อพัฒนาหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชน ว่า เป็นตัวอย่างของประเทศกำลังพัฒนาที่สามารถให้การดูแลสุขภาพของประชาชนได้ ภายใต้โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
นายวิทยา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีประเด็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีกับเด็กและสตรี ซึ่งรัฐบาลไทยได้ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กและสตรีผ่านนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเป้าหมายของเลขาธิการสหประชาชาตินั้นต้องการเห็นการลดอัตราการเสียชีวิตของเด็กและสตรีจำนวน 16 ล้านคน ภายในปี 2558 ซึ่งไทยพร้อมจะทำงานตรงนี้ และนานาชาติได้ชื่นชมนโยบายหลักประกันสุขภาพของไทยที่ให้ประชาชนเข้าถึงสุขภาพทั่วประเทศ รวมทั้งรัฐบาลสนับสนุนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ที่เข้ามาดูแลสตรีและสนับสนุนการศึกษาของเด็กและเยาวชน ให้ได้รับการศึกษาอย่างเต็มประสิทธิภาพและให้โอกาสในความเท่าเทียมกันด้วย
ด้านนพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ไทยได้รับการชื่นชมว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบความสำเร็จในการบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และมีระบบการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังที่มีประสิทธิภาพ ควรแก่การที่แต่ละประเทศจะเข้ามาศึกษาและนำไปพัฒนาประเทศของตน ที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุน ให้มีการจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านานาชาติ เพื่อพัฒนาบุคลากรทั้งภายในประเทศและนานาชาติ โดยมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำโครงการจำนวน 16 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2554 - 30 พฤศจิกายน 2557 และมอบหมายให้สปสช.เป็นแกนกลางหลักขององค์กรภาคีในการดำเนินงานโครงการ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างกระบวนการที่จะส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ด้านวิชาการที่มีประสิทธิภาพในสนับสนุนการพัฒนานโยบายและดำเนินงานหลักประกันสุขภาพให้ประสบความสำเร็จและมีความยั่งยืนอย่างแท้จริง ซึ่งโปรแกรมการฝึกอบรม จะแบ่งเป็น 3 ระดับ การฝึกอบรมกลุ่มนโยบาย กลุ่มวิชาการและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ และการฝึกอบรมตามความเหมาะสมเฉพาะกลุ่ม เพื่อให้ภูมิภาคมีหลักประกันสุขภาพให้กับคนในประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการติดตามคณะนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 67 ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งในส่วนของงานสาธารณสุขนั้น นายกรัฐมนตรีได้รายงานเกี่ยวกับเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติชื่นชมถึงผลสำเร็จการดำเนินการเพื่อพัฒนาหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชน ว่า เป็นตัวอย่างของประเทศกำลังพัฒนาที่สามารถให้การดูแลสุขภาพของประชาชนได้ ภายใต้โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
นายวิทยา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีประเด็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีกับเด็กและสตรี ซึ่งรัฐบาลไทยได้ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กและสตรีผ่านนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเป้าหมายของเลขาธิการสหประชาชาตินั้นต้องการเห็นการลดอัตราการเสียชีวิตของเด็กและสตรีจำนวน 16 ล้านคน ภายในปี 2558 ซึ่งไทยพร้อมจะทำงานตรงนี้ และนานาชาติได้ชื่นชมนโยบายหลักประกันสุขภาพของไทยที่ให้ประชาชนเข้าถึงสุขภาพทั่วประเทศ รวมทั้งรัฐบาลสนับสนุนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ที่เข้ามาดูแลสตรีและสนับสนุนการศึกษาของเด็กและเยาวชน ให้ได้รับการศึกษาอย่างเต็มประสิทธิภาพและให้โอกาสในความเท่าเทียมกันด้วย
ด้านนพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ไทยได้รับการชื่นชมว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบความสำเร็จในการบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และมีระบบการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังที่มีประสิทธิภาพ ควรแก่การที่แต่ละประเทศจะเข้ามาศึกษาและนำไปพัฒนาประเทศของตน ที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุน ให้มีการจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านานาชาติ เพื่อพัฒนาบุคลากรทั้งภายในประเทศและนานาชาติ โดยมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำโครงการจำนวน 16 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2554 - 30 พฤศจิกายน 2557 และมอบหมายให้สปสช.เป็นแกนกลางหลักขององค์กรภาคีในการดำเนินงานโครงการ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างกระบวนการที่จะส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ด้านวิชาการที่มีประสิทธิภาพในสนับสนุนการพัฒนานโยบายและดำเนินงานหลักประกันสุขภาพให้ประสบความสำเร็จและมีความยั่งยืนอย่างแท้จริง ซึ่งโปรแกรมการฝึกอบรม จะแบ่งเป็น 3 ระดับ การฝึกอบรมกลุ่มนโยบาย กลุ่มวิชาการและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ และการฝึกอบรมตามความเหมาะสมเฉพาะกลุ่ม เพื่อให้ภูมิภาคมีหลักประกันสุขภาพให้กับคนในประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป