“สุรวิทย์” โวอีก 2 ปี ไทยผลิตวัคซีนมือเท้าปาก สำเร็จแน่ มั่นใจต่างชาติรุมจีบ รับแม้มีเด็กตาย แต่เชื่อมาตรการคุมการระบาดยังได้ผล
วันนี้ (25 ก.ค.) นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากผลการประชุมคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ระบาดวิทยา และโรคติดเชื้อในเด็ก ที่กรมควบคุมโรค ได้ข้อสรุปของการเสียชีวิตของเด็กหญิงวัย 2 ขวบ ที่เสียชีวิตที่ รพ.นพรัตนราชธานี ว่า เป็นการเสียชีวิตจากโรคมือเท้าปาก โดยเป็นเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 สายพันธุ์ บี5 แม้ว่าเด็กรายดังกล่าวจะมีอาการรุนแรงจากปัจจัยอื่น เพราะมีโรคประจำตัว คือ หอบหืด จึงทำให้เสียชีวิต แต่ก็ถือว่าผู้เสียชีวิตรายนี้เป็นผู้ป่วยที่เสียชีวิคจากโรคมือเท้าปาก เป็นรายแรกในปี 2555 อย่างไรก็ตามแม้จะมีการพบผู้เสียชีวิตจากโรคนี้แล้ว แต่กระทรวงสาธารณสุข ยังยืนยันว่า การใช้มาตรการต่างๆ สามารถควบคุมการระบาดของโรคนี้ได้ โดยในสัปดาห์นี้มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นประมาณ 2,000 ราย รวมมียอดผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 16,800 ราย แต่คาดว่าอีกประมาณ 6 สัปดาห์จำนวนผู้ป่วยจะลดลงแน่นอน เนื่องจากช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.เป็นช่วงที่โรคนี้จะเกิดอัตราการระบาดสูงอยู่แล้ว
นพ.สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า โรคนี้ถือว่าเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขจะมีการคาดการณ์จำนวนผู้ป่วยในแต่ละปีอยู่ที่ 8,000-18,000 ราย และคาดการณ์จำนวนผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 2-6 รายต่อปี ดังนั้น แม้จะพบผู้เสียชีวิตจากโรคนี้แล้ว สถานการณ์โดยภาพรวม ยังถือว่าคุมการระบาดได้ อีกทั้งในระดับจังหวัดต่างๆ ก็มีการตื่นตัวมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการในการเฝ้าระวังโรคมือเท้าปาก โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ส่วนมาตรการในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจในโรคนี้ ขณะนี้ถือว่าอยู่ในระดับที่เพียงพอ ขณะเดียวกัน ตนยังสั่งการให้ทางกรมสุขภาพจิต ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ที่พบการระบาดมาก เพื่อให้สร้างความเข้าใจกับประชาชน และเพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนก ขณะที่ในเรื่องของวัคซีนที่ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำลังดำเนินการศึกษาทดลองเพื่อผลิตออกมานั้น ยืนยันว่า ภายใน 2 ปี จะมีวัคซีนโรคมือเท้าปาก ออกมาใช้แน่นอน แต่ต้องมีการศึกษาทดลองอย่างละเอียด เพราะเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนี้มีหลายสายพันธุ์ ดังนั้น การที่จะผลิตวัคซีนจะต้องมีการผลิตวัคซีนในสายพันธุ์ที่พบการระบาดมากที่สุดในประเทศไทยก่อน
นพ.สุรวิทย์ กล่าวด้วยว่า เรื่องการผลิตวัคซีน หากประเทศไทยสามารถผลิตขึ้นมาได้ เชื่อว่า หลายประเทศในภูมิภาคนี้จะต้องให้ความสนใจแน่นอน เพราะจากตัวเลขที่ตนได้รับรายงานมา พบว่า ประเทศที่อยู่ใกล้เคียงกับประเทศไทย มีจำนวนผู้ป่วย และเสียชีวิตมากกว่าในไทยมาก เช่น ที่จีนพบผู้ป่วยจากโรคมือเท้าปากถึง 1,270,000 คน เสียชีวิตแล้ว 356 คน ที่เวียดนาม พบผู้ป่วย 63,000 คน เสียชีวิตแล้ว 34 คน ขณะที่กัมพูชา ไม่มีรายงานจำนวนผู้ป่วย แต่พบผู้เสียชีวิตแล้ว 54 คน
วันนี้ (25 ก.ค.) นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากผลการประชุมคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ระบาดวิทยา และโรคติดเชื้อในเด็ก ที่กรมควบคุมโรค ได้ข้อสรุปของการเสียชีวิตของเด็กหญิงวัย 2 ขวบ ที่เสียชีวิตที่ รพ.นพรัตนราชธานี ว่า เป็นการเสียชีวิตจากโรคมือเท้าปาก โดยเป็นเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 สายพันธุ์ บี5 แม้ว่าเด็กรายดังกล่าวจะมีอาการรุนแรงจากปัจจัยอื่น เพราะมีโรคประจำตัว คือ หอบหืด จึงทำให้เสียชีวิต แต่ก็ถือว่าผู้เสียชีวิตรายนี้เป็นผู้ป่วยที่เสียชีวิคจากโรคมือเท้าปาก เป็นรายแรกในปี 2555 อย่างไรก็ตามแม้จะมีการพบผู้เสียชีวิตจากโรคนี้แล้ว แต่กระทรวงสาธารณสุข ยังยืนยันว่า การใช้มาตรการต่างๆ สามารถควบคุมการระบาดของโรคนี้ได้ โดยในสัปดาห์นี้มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นประมาณ 2,000 ราย รวมมียอดผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 16,800 ราย แต่คาดว่าอีกประมาณ 6 สัปดาห์จำนวนผู้ป่วยจะลดลงแน่นอน เนื่องจากช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.เป็นช่วงที่โรคนี้จะเกิดอัตราการระบาดสูงอยู่แล้ว
นพ.สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า โรคนี้ถือว่าเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขจะมีการคาดการณ์จำนวนผู้ป่วยในแต่ละปีอยู่ที่ 8,000-18,000 ราย และคาดการณ์จำนวนผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 2-6 รายต่อปี ดังนั้น แม้จะพบผู้เสียชีวิตจากโรคนี้แล้ว สถานการณ์โดยภาพรวม ยังถือว่าคุมการระบาดได้ อีกทั้งในระดับจังหวัดต่างๆ ก็มีการตื่นตัวมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการในการเฝ้าระวังโรคมือเท้าปาก โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ส่วนมาตรการในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจในโรคนี้ ขณะนี้ถือว่าอยู่ในระดับที่เพียงพอ ขณะเดียวกัน ตนยังสั่งการให้ทางกรมสุขภาพจิต ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ที่พบการระบาดมาก เพื่อให้สร้างความเข้าใจกับประชาชน และเพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนก ขณะที่ในเรื่องของวัคซีนที่ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำลังดำเนินการศึกษาทดลองเพื่อผลิตออกมานั้น ยืนยันว่า ภายใน 2 ปี จะมีวัคซีนโรคมือเท้าปาก ออกมาใช้แน่นอน แต่ต้องมีการศึกษาทดลองอย่างละเอียด เพราะเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนี้มีหลายสายพันธุ์ ดังนั้น การที่จะผลิตวัคซีนจะต้องมีการผลิตวัคซีนในสายพันธุ์ที่พบการระบาดมากที่สุดในประเทศไทยก่อน
นพ.สุรวิทย์ กล่าวด้วยว่า เรื่องการผลิตวัคซีน หากประเทศไทยสามารถผลิตขึ้นมาได้ เชื่อว่า หลายประเทศในภูมิภาคนี้จะต้องให้ความสนใจแน่นอน เพราะจากตัวเลขที่ตนได้รับรายงานมา พบว่า ประเทศที่อยู่ใกล้เคียงกับประเทศไทย มีจำนวนผู้ป่วย และเสียชีวิตมากกว่าในไทยมาก เช่น ที่จีนพบผู้ป่วยจากโรคมือเท้าปากถึง 1,270,000 คน เสียชีวิตแล้ว 356 คน ที่เวียดนาม พบผู้ป่วย 63,000 คน เสียชีวิตแล้ว 34 คน ขณะที่กัมพูชา ไม่มีรายงานจำนวนผู้ป่วย แต่พบผู้เสียชีวิตแล้ว 54 คน