สปสช.โว จับมือ อภ.ซื้อยาและเวชภัณฑ์รวมด้วยระบบ VMI ช่วยประหยัดงบประมาณประเทศได้ถึง 1.3 หมื่นล้านบาท ในเวลาไม่เกิน 4 ปี ช่วย ปชช.เข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า หลังจากที่ สปสช.ร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ในการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์รวม เพื่อพัฒนาการบริหารยาและเวชภัณฑ์โดยระบบ VMI (Vendor Managed Inventory) นั้น พบว่า ผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2552-สิงหาคม 2555 สามารถประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายของประเทศได้ถึง 13,953 ล้านบาท และมีผลต่อเนื่องในการเพิ่มการเข้าถึงบริการให้แก่ประชาชนด้วย
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า ราคาที่ลดลงจากการสั่งซื้อในปริมาณมาก และการลดต้นทุนจากเทคโนโลยีการบริหารจัดการพัสดุในระบบ VMI ได้เข้าไปช่วยบริหารจัดการคลังยาและเวชภัณฑ์ของลูกค้าให้มีคลังยาและเวชภัณฑ์ที่เหมาะสม โดยการนำยาไปเติมเต็มให้เมื่อถึงจุดกำหนด การบริหารจัดการระบบนี้จะทำให้โรงพยาบาลลดปริมาณการสำรอง มียาใช้เพียงพอตลอดเวลา ได้รับยาที่ผลิตใหม่ ลดการสูญเสียจากการทำลายยาหมดอายุที่โรงพยาบาลส่งคืน สามารถขยายจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการได้มากขึ้น เนื่องจากมีการบริหารคลังยาที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้งบประมาณเท่าเดิม
ทั้งนี้ หากแบ่งตามประเภทหรือหมวดแล้วจะแบ่งได้ดังนี้ 1.หมวดอุปกรณ์และอวัยวะเทียมประหยัดได้ ประหยัดได้ 2,288 ล้านบาท ได้แก่ เลนส์แก้วตาเทียมชนิดพับได้ จากราคา 4,000 บาท จัดซื้อได้ 2,800 บาท, เลนส์แก้วตาเทียมชนิดพับไม่ได้ จาก 4,000 บาท จัดซื้อได้ 700 บาท, สายสวนเพื่อการขยายหลอดเลือดหัวใจด้อยบอลลูน จาก 20,000 บาท จัดซื้อได้ 10,000 บาท, สายสวนเพื่อการขยายหลอดเลือดโคโรนารีด้วยขดลวด จาก 30,000 บาท จัดซื้อได้ 5,000 บาท และสายสวนเพื่อการขยายหลอดเลือดโคโรนารีด้วยขดลวดเคลือบยา จาก 85,000 บาท จัดซื้อได้ 17,000 บาท
2.หมวดยา ประหยัดได้ 7,451 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นยาที่ทำ CL ประหยัดได้ 6,092 ล้านบาท เช่น ยาโดซีแท็กเซล สำหรับรักษามะเร็งเต้านม จาก 28,355 บาท เมื่อทำ CL เหลือ 1,757 บาท, ยา โคลพิโดเกรลสำหรับรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ จากเม็ดละ 72.53 บาท เหลือ 0.928 บาท, ยาต้านไวรัสโลพินาเวียร์/ริโทรนาเวียร์ จาก 74 บาท เหลือ 13 บาท ขณะที่ยาที่ไม่ได้ทำ CL ประหยัดได้ 1,359 ล้านบาท เช่น ยาต้านไวรัสเออาร์วี จาก 22,412 บาท เหลือ 19,742 บาท, กลุ่มบัญชียาจ.2 จากการต่อรองราคายาจาก 135,251 บาท เหลือ 95,915 บาท เป็นต้น
และ 3.หมวดผู้ป่วยไตวาย ประหยัดได้ 3,409 ล้านบาท ได้แก่ ยาอิริโธรโพรอิทิน (Erythropoietin) กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด จาก 750 ล้านบาท เหลือ 229 บาท, น้ำยาล้างไตทางช่องท้อง จาก 200 บาท เหลือ 105 บาท
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า หลังจากที่ สปสช.ร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ในการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์รวม เพื่อพัฒนาการบริหารยาและเวชภัณฑ์โดยระบบ VMI (Vendor Managed Inventory) นั้น พบว่า ผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2552-สิงหาคม 2555 สามารถประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายของประเทศได้ถึง 13,953 ล้านบาท และมีผลต่อเนื่องในการเพิ่มการเข้าถึงบริการให้แก่ประชาชนด้วย
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า ราคาที่ลดลงจากการสั่งซื้อในปริมาณมาก และการลดต้นทุนจากเทคโนโลยีการบริหารจัดการพัสดุในระบบ VMI ได้เข้าไปช่วยบริหารจัดการคลังยาและเวชภัณฑ์ของลูกค้าให้มีคลังยาและเวชภัณฑ์ที่เหมาะสม โดยการนำยาไปเติมเต็มให้เมื่อถึงจุดกำหนด การบริหารจัดการระบบนี้จะทำให้โรงพยาบาลลดปริมาณการสำรอง มียาใช้เพียงพอตลอดเวลา ได้รับยาที่ผลิตใหม่ ลดการสูญเสียจากการทำลายยาหมดอายุที่โรงพยาบาลส่งคืน สามารถขยายจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการได้มากขึ้น เนื่องจากมีการบริหารคลังยาที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้งบประมาณเท่าเดิม
ทั้งนี้ หากแบ่งตามประเภทหรือหมวดแล้วจะแบ่งได้ดังนี้ 1.หมวดอุปกรณ์และอวัยวะเทียมประหยัดได้ ประหยัดได้ 2,288 ล้านบาท ได้แก่ เลนส์แก้วตาเทียมชนิดพับได้ จากราคา 4,000 บาท จัดซื้อได้ 2,800 บาท, เลนส์แก้วตาเทียมชนิดพับไม่ได้ จาก 4,000 บาท จัดซื้อได้ 700 บาท, สายสวนเพื่อการขยายหลอดเลือดหัวใจด้อยบอลลูน จาก 20,000 บาท จัดซื้อได้ 10,000 บาท, สายสวนเพื่อการขยายหลอดเลือดโคโรนารีด้วยขดลวด จาก 30,000 บาท จัดซื้อได้ 5,000 บาท และสายสวนเพื่อการขยายหลอดเลือดโคโรนารีด้วยขดลวดเคลือบยา จาก 85,000 บาท จัดซื้อได้ 17,000 บาท
2.หมวดยา ประหยัดได้ 7,451 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นยาที่ทำ CL ประหยัดได้ 6,092 ล้านบาท เช่น ยาโดซีแท็กเซล สำหรับรักษามะเร็งเต้านม จาก 28,355 บาท เมื่อทำ CL เหลือ 1,757 บาท, ยา โคลพิโดเกรลสำหรับรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ จากเม็ดละ 72.53 บาท เหลือ 0.928 บาท, ยาต้านไวรัสโลพินาเวียร์/ริโทรนาเวียร์ จาก 74 บาท เหลือ 13 บาท ขณะที่ยาที่ไม่ได้ทำ CL ประหยัดได้ 1,359 ล้านบาท เช่น ยาต้านไวรัสเออาร์วี จาก 22,412 บาท เหลือ 19,742 บาท, กลุ่มบัญชียาจ.2 จากการต่อรองราคายาจาก 135,251 บาท เหลือ 95,915 บาท เป็นต้น
และ 3.หมวดผู้ป่วยไตวาย ประหยัดได้ 3,409 ล้านบาท ได้แก่ ยาอิริโธรโพรอิทิน (Erythropoietin) กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด จาก 750 ล้านบาท เหลือ 229 บาท, น้ำยาล้างไตทางช่องท้อง จาก 200 บาท เหลือ 105 บาท