“วิทยา” เตรียมถกแนวทางจัดระบบบริการขยายสิทธิรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ป่วยไตวายเรื้อรังใน 3 กองทุนสุขภาพพรุ่งนี้ ก่อนดีเดย์ 1 ต.ค.นี้ ลั่นต้องได้รับการรักษาเกณฑ์เดียวกัน
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการเริ่มระบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วย เอดส์ และผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ภายใต้ระบบ 3 กองทุนประกันสุขภาพ ว่า ขณะนี้ได้มีการจัดประชุมเพื่อจัดระบบการให้บริการภายใต้หลักการ คือ ผู้ป่วยทุกรายทุกสิทธิเข้าถึงการบำบัดรักษาด้วยเกณฑ์มาตรฐานอันเดียวกัน จะได้รับการรักษาต่อเนื่องโดยวิธีการรักษาแบบเดิม แม้จะมีการเปลี่ยนสิทธิการรักษา โดยจะได้รับการรักษาภายใต้ระบบบริการของกองทุนที่ย้ายเข้าไปใหม่ และหน่วยบริการสาธารณสุขจะได้รับชดเชยค่าบริการและเวชภัณฑ์ตามระเบียบของกองทุนที่ผู้ป่วยย้ายเข้าใหม่
นายวิทยา กล่าวอีกว่า สำหรับระบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ทั้ง 3 กองทุนสุขภาพนั้น ยังมีแนวทางการรักษาด้วยยาต้านไวรัสและยาอื่นๆ การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการติดตามการรักษา บริการให้คำปรึกษา และตรวจเลือดแบบสมัครใจ การป้องกันโรคเอดส์ในกลุ่มผู้ติดเชื้อ ขณะที่ระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ผู้ป่วยทุกรายทุกสิทธิเข้าถึงการบำบัดรักษาด้วยเกณฑ์มาตรฐานอันเดียวกัน หน่วยบริการและผู้ป่วยทุกราย ได้รับทราบสิทธิประโยชน์และแนวทางปฏิบัติ ในกรณีที่จะต้องเปลี่ยนสิทธิการรักษาในระหว่างการบำบัดทดแทนไต ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายทุกรายทุกสิทธิได้รับการเตรียมความพร้อม ก่อนการเข้ารับบำบัดทดแทนไตภายใต้บริการของคลินิกโรคไตวายเรื้อรัง (CKD clinic) ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เปลี่ยนสิทธิการรักษาได้รับการบำบัด ทดแทนไตด้วยวิธีการรักษาแบบเดิมอย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องสำรองเงินค่าใช้จ่าย และได้รับความสะดวกหากจำเป็นต้องเปลี่ยนไปรับการรักษาที่หน่วยบริการคู่สัญญาของกองทุนที่ย้ายเข้าใหม่ ผู้ป่วยโรคที่รับการบำบัดทดแทนไตที่เปลี่ยนสิทธิการรักษาทุกรายได้รับแจ้งทางจดหมายเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์หรือข้อมูลหน่วยบริการข้างเคียงในกรณีที่จะต้องเปลี่ยนสถานที่รักษา
“ในการบูรณาการโรคเอดส์และไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 3 กองทุนนั้น แผนระยะต่อไปสร้างความเป็นเอกภาพของระบบ โดยเร่งบูรณาการสิทธิประโยชน์และแนวทางการชดเชยบริการของ 3 กองทุนที่ยังมีข้อแตกต่างบางประการให้เป็นรูปแบบเดียวกันภายในระยะเวลา 2 ปี รวมถึงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลกลาง การบริหารการเบิกยา เพื่ออำนวยความสะดวกหน่วยบริการให้มีระบบเดียวกัน เป้าหมายหลักคือผู้ป่วยต้องไม่ขาดยา ผู้ป่วยต้องไม่ขาดการรักษา เนื่องจากการเปลี่ยนสิทธิ ให้ผู้ป่วยรับยาในที่เดียว” นายวิทยา กล่าว
ทั้งนี้ จะมีการสรุปแนวทางการจัดระบบให้บริการในวันอังคารที่ 18 กันยายน นี้ เวลา 13.30 น.ที่กระทรวงสาธารณสุข
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการเริ่มระบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วย เอดส์ และผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ภายใต้ระบบ 3 กองทุนประกันสุขภาพ ว่า ขณะนี้ได้มีการจัดประชุมเพื่อจัดระบบการให้บริการภายใต้หลักการ คือ ผู้ป่วยทุกรายทุกสิทธิเข้าถึงการบำบัดรักษาด้วยเกณฑ์มาตรฐานอันเดียวกัน จะได้รับการรักษาต่อเนื่องโดยวิธีการรักษาแบบเดิม แม้จะมีการเปลี่ยนสิทธิการรักษา โดยจะได้รับการรักษาภายใต้ระบบบริการของกองทุนที่ย้ายเข้าไปใหม่ และหน่วยบริการสาธารณสุขจะได้รับชดเชยค่าบริการและเวชภัณฑ์ตามระเบียบของกองทุนที่ผู้ป่วยย้ายเข้าใหม่
นายวิทยา กล่าวอีกว่า สำหรับระบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ทั้ง 3 กองทุนสุขภาพนั้น ยังมีแนวทางการรักษาด้วยยาต้านไวรัสและยาอื่นๆ การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการติดตามการรักษา บริการให้คำปรึกษา และตรวจเลือดแบบสมัครใจ การป้องกันโรคเอดส์ในกลุ่มผู้ติดเชื้อ ขณะที่ระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ผู้ป่วยทุกรายทุกสิทธิเข้าถึงการบำบัดรักษาด้วยเกณฑ์มาตรฐานอันเดียวกัน หน่วยบริการและผู้ป่วยทุกราย ได้รับทราบสิทธิประโยชน์และแนวทางปฏิบัติ ในกรณีที่จะต้องเปลี่ยนสิทธิการรักษาในระหว่างการบำบัดทดแทนไต ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายทุกรายทุกสิทธิได้รับการเตรียมความพร้อม ก่อนการเข้ารับบำบัดทดแทนไตภายใต้บริการของคลินิกโรคไตวายเรื้อรัง (CKD clinic) ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เปลี่ยนสิทธิการรักษาได้รับการบำบัด ทดแทนไตด้วยวิธีการรักษาแบบเดิมอย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องสำรองเงินค่าใช้จ่าย และได้รับความสะดวกหากจำเป็นต้องเปลี่ยนไปรับการรักษาที่หน่วยบริการคู่สัญญาของกองทุนที่ย้ายเข้าใหม่ ผู้ป่วยโรคที่รับการบำบัดทดแทนไตที่เปลี่ยนสิทธิการรักษาทุกรายได้รับแจ้งทางจดหมายเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์หรือข้อมูลหน่วยบริการข้างเคียงในกรณีที่จะต้องเปลี่ยนสถานที่รักษา
“ในการบูรณาการโรคเอดส์และไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 3 กองทุนนั้น แผนระยะต่อไปสร้างความเป็นเอกภาพของระบบ โดยเร่งบูรณาการสิทธิประโยชน์และแนวทางการชดเชยบริการของ 3 กองทุนที่ยังมีข้อแตกต่างบางประการให้เป็นรูปแบบเดียวกันภายในระยะเวลา 2 ปี รวมถึงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลกลาง การบริหารการเบิกยา เพื่ออำนวยความสะดวกหน่วยบริการให้มีระบบเดียวกัน เป้าหมายหลักคือผู้ป่วยต้องไม่ขาดยา ผู้ป่วยต้องไม่ขาดการรักษา เนื่องจากการเปลี่ยนสิทธิ ให้ผู้ป่วยรับยาในที่เดียว” นายวิทยา กล่าว
ทั้งนี้ จะมีการสรุปแนวทางการจัดระบบให้บริการในวันอังคารที่ 18 กันยายน นี้ เวลา 13.30 น.ที่กระทรวงสาธารณสุข