“หมอวินัย” ชี้ เตรียมเสนอนายกฯ ข้อมูลชงขยายสิทธิไต และการให้ยาต้านไวรัส เอชไอวี มิ.ย.นี้
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวถึงกรณีเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ประกาศสานต่อนโยบายลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุน ทั้งหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ โดยเตรียมขยายไปยังกลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย และกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีภายในเดือน มิ.ย.ว่า จากการประชุมนโยบายลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุน กรณีครอบคลุมไปยังกลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย และกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยมีตัวแทนจากแต่ละกองทุนเข้าร่วม ปรากฏว่า ส่วนใหญ่ยังเป็นเพียงข้อเสนอ แต่ยังไม่ได้สรุป เนื่องจากต้องมีการประชุมย่อยในการรวบรวมข้อมูลอีกครั้ง เพื่อสรุปเป็นแนวทางให้นายกรัฐมนตรีในการประชุมใหญ่เกี่ยวกับนโยบายลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุน ในวันที่ 11 มิ.ย.อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อเสนอในที่ประชุมนั้น โดยหลักๆ คือ จะต้องให้กลุ่มผู้ป่วยโรคไต และ เอชไอวี ได้รับการบริการ และการรักษาที่เท่าเทียมทั้งหมด อย่างกรณีผู้ติดเชื้อเอชไอวีนั้น ประเด็นสำคัญอยู่ที่การได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี โดยต้องดูว่าปัจจุบันมีเกณฑ์กำหนดการรับยาต้านไวรัส ซึ่งพิจารณาจากค่า CD4 หรือปริมาณเชื้อไวรัสที่จำนวนเท่าใด ซึ่งในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กำหนดให้สามารถรับยาต้านไวรัสเอชไอวีได้ เมื่อมีค่า CD4 ที่ระดับ 200 แต่กองทุนประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ไม่ทราบว่ามีการกำหนดเกณฑ์อย่างไรบ้าง
นพ.วินัย กล่าวด้วยว่า เรื่องของเกณฑ์การกำหนดค่า CD4 ขณะนี้ได้เชิญ นพ.ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย มาศึกษาเรื่องนี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งจะต้องมีการสรุปว่าตกลงจะใช้ค่า CD4 เท่าใด เพื่อเป็นค่ามาตรฐานกลางให้ทั้ง 3 กองทุนใช้เหมือนกัน รวมทั้งการให้ยาต้านไวรัสก็จะมีการใช้สูตรพื้นฐานเหมือนกัน รวมทั้งสูตรสำรองกรณีดื้อยาเหมือนกันด้วย ส่วนประเด็นไตอยู่ระหว่างรวบรวมแนวทางเช่นกัน
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวถึงกรณีเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ประกาศสานต่อนโยบายลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุน ทั้งหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ โดยเตรียมขยายไปยังกลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย และกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีภายในเดือน มิ.ย.ว่า จากการประชุมนโยบายลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุน กรณีครอบคลุมไปยังกลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย และกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยมีตัวแทนจากแต่ละกองทุนเข้าร่วม ปรากฏว่า ส่วนใหญ่ยังเป็นเพียงข้อเสนอ แต่ยังไม่ได้สรุป เนื่องจากต้องมีการประชุมย่อยในการรวบรวมข้อมูลอีกครั้ง เพื่อสรุปเป็นแนวทางให้นายกรัฐมนตรีในการประชุมใหญ่เกี่ยวกับนโยบายลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุน ในวันที่ 11 มิ.ย.อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อเสนอในที่ประชุมนั้น โดยหลักๆ คือ จะต้องให้กลุ่มผู้ป่วยโรคไต และ เอชไอวี ได้รับการบริการ และการรักษาที่เท่าเทียมทั้งหมด อย่างกรณีผู้ติดเชื้อเอชไอวีนั้น ประเด็นสำคัญอยู่ที่การได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี โดยต้องดูว่าปัจจุบันมีเกณฑ์กำหนดการรับยาต้านไวรัส ซึ่งพิจารณาจากค่า CD4 หรือปริมาณเชื้อไวรัสที่จำนวนเท่าใด ซึ่งในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กำหนดให้สามารถรับยาต้านไวรัสเอชไอวีได้ เมื่อมีค่า CD4 ที่ระดับ 200 แต่กองทุนประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ไม่ทราบว่ามีการกำหนดเกณฑ์อย่างไรบ้าง
นพ.วินัย กล่าวด้วยว่า เรื่องของเกณฑ์การกำหนดค่า CD4 ขณะนี้ได้เชิญ นพ.ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย มาศึกษาเรื่องนี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งจะต้องมีการสรุปว่าตกลงจะใช้ค่า CD4 เท่าใด เพื่อเป็นค่ามาตรฐานกลางให้ทั้ง 3 กองทุนใช้เหมือนกัน รวมทั้งการให้ยาต้านไวรัสก็จะมีการใช้สูตรพื้นฐานเหมือนกัน รวมทั้งสูตรสำรองกรณีดื้อยาเหมือนกันด้วย ส่วนประเด็นไตอยู่ระหว่างรวบรวมแนวทางเช่นกัน