โดย...สุกัญญา แสงงาม
จากสถานการณ์ความไม่สงบใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาน้อยเต็มที หลายวัดมีพระสงฆ์ไม่ถึง 5 รูป พระสงฆ์บางรูปกลัวไม่กล้าออกมาบิณฑบาตไม่กล้าออกมาปฏิบัติภารกิจของสงฆ์ เกรงว่าจะไม่ปลอดภัย ชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธไร้สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
นี่คือ สิ่งท้าทายพระธรรมทูต เมื่อมีปัญหาจะต้องหาทางแก้ไข ถ้าได้ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้ จะพบว่า พุทธศาสนามีปัญหาเยอะแยะ แต่พระเถระ พระอรหันต์ต่างก็ฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคเหมือนกัน เชื่อว่า ปัญหาชายแดนใต้จะกลับมาสงบเหมือนอดีต
พระมหาสุชาติ อนาลโย วัดราษฎร์บูรณะ หรือ วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี ในฐานะพระธรรมทูต เล่าว่า “ถ้ามีใครมาถามว่ากลัวหรือไม่ที่ต้องออกไปปฏิบัติภารกิจของสงฆ์ในพื้นที่เสี่ยง คำตอบก็คือ “กลัว” พระก็เป็นปุถุชนคนหนึ่ง ยังไม่บรรลุพระอรหันต์ แต่ไม่ใช่กลัวแล้วไม่ทำงาน ไม่ต้องทำอะไร อาตมา และพระธรรมทูตอีกหลายองค์ สลัดความกลัว แล้วปฏิบัติภารกิจของสงฆ์เหมือนสมัยก่อน แต่วิธีการปฏิบัติภารกิจสงฆ์ได้มีการพลิกแผลงจากเดิมจะบิณฑบาตองค์เดียว มาเป็นบิณฑบาตพร้อมกันหลายรูป เผื่อมีปัญหาอะไรจะได้ช่วยเหลือกัน และเวลาญาติโยม ทางวัด หรือสถานศึกษา นิมนต์ เราจะขอกำลังตำรวจหรือทหาร มาคุ้มกันความปลอดภัย จะใช้วิธีเดินทางกันเงียบๆ ขณะเดียวกันทางวัดจะแจ้งญาติโยมว่าพระธรรมทูตจะมาเทศน์วันไหน”
พระมหาสุชาติ เล่าต่อว่า หลายครั้งที่รับกิจนิมนต์ให้ไปในพื้นที่เสี่ยง ชาวบ้านซึ่งนับถือศาสนาอิสลามจะอาสาขับรถยนต์ไปส่งถึงจุดหมาย เมื่อญาติโยมเห็นพระสงฆ์จะมีความสุข รู้สึกอุ่นใจที่ได้เจอพระ เห็นรอยยิ้มเปื้อนใบหน้า แม้ว่าบางครั้งบางคราวไม่ได้นำธรรมไปเผยแพร่ก็ตามที อย่างไรก็ตาม เวลาออกไปจะมอบหลวงปู่ทวดให้แก่ญาติโยม เพื่อให้มีสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ ส่วนการเทศน์นอกจากคำสั่งสอนของพระพุทธแล้ว จะสอดแทรกให้รักผืนแผ่นดินไทย และไม่แบ่งศาสนา อยากให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขเหมือนคนรุ่นพ่อแม่ หรือในอดีต และทุกครั้งที่จะกลับ ญาติโยมมักจะบอกว่าให้พระธรรมทูตกลับมาอีกนะ
พระมหาสุชาติ บอกว่า ชาวปัตตานีส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง 2 ศาสนา มีไม่มากนัก แต่มีความเข้าใจกันดี เพราะทุกคนปรารถนามีความสุข ซึ่งก่อนเกิดปัญหาความไม่สงบ คนสองศาสนา จะทักทายปราศรัยกัน มีความเอื้อเฟื้อเพื่อแผ่ แบ่งปันซึ่งกันและกัน เพียงแต่ไม่ร่วมกิจกรรมทางศาสนาเท่านั้น ทว่าวันนี้ต่างกันต่างหวาดระแวงกัน
“อาตมาเป็นชาวนครศรีธรรมราช ย้ายมาอยู่ปัตตานี ตั้งแต่ปี 2536 เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ มีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ไปทางไหนเห็นแต่รอยยิ้ม ทักทายพูดคุยกัน อาตมาอยากให้ภาพเหล่านี้หวนคืนมาโดยเร็ว” พระมหาสุชาติ กล่าวว่า ทุกวันจันทร์จะได้รับกิจนิมนต์ เป็นครูพระสอนศีลธรรมตามสถานศึกษา โดยบางแห่งมีทั้งเด็กพุทธ เด็กอิสลาม เป็นเพื่อนกัน จะเทศน์เพื่อปลูกฝังให้ทุกคนรักกัน รักแผ่นดินไทย อย่าเอาศาสนามาเป็นเครื่องแบ่งแยก มั่นใจว่าแผ่นดินใต้จะกลับมาสันติสุขดั่งเดิม
ผลพวงที่ปฏิบัติภารกิจของสงฆ์มาอย่างต่อเนื่องของ “พระมหาสุชาติ” ส่งผลให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ ได้มอบโล่และประกาศเกียรติคุณ ในฐานะพระธรรมทูต ที่ปฏิบัติศาสนกิจ ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใน “โครงการส่งเสริมความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้” ที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ได้จัดส่งพระธรรมทูตลงพื้นที่เผยแผ่หลักธรรม และเพื่อให้พุทธศาสนิกชนในพื้นที่ชายแดน มีความรู้ความเข้าใจในแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา สามารถธำรงไว้ซึ่งศาสนธรรมในพระพุทธศาสนา และนำความรู้ที่ได้ไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง สร้างความมั่นคงแก่พระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน
จากสถานการณ์ความไม่สงบใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาน้อยเต็มที หลายวัดมีพระสงฆ์ไม่ถึง 5 รูป พระสงฆ์บางรูปกลัวไม่กล้าออกมาบิณฑบาตไม่กล้าออกมาปฏิบัติภารกิจของสงฆ์ เกรงว่าจะไม่ปลอดภัย ชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธไร้สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
นี่คือ สิ่งท้าทายพระธรรมทูต เมื่อมีปัญหาจะต้องหาทางแก้ไข ถ้าได้ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้ จะพบว่า พุทธศาสนามีปัญหาเยอะแยะ แต่พระเถระ พระอรหันต์ต่างก็ฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคเหมือนกัน เชื่อว่า ปัญหาชายแดนใต้จะกลับมาสงบเหมือนอดีต
พระมหาสุชาติ อนาลโย วัดราษฎร์บูรณะ หรือ วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี ในฐานะพระธรรมทูต เล่าว่า “ถ้ามีใครมาถามว่ากลัวหรือไม่ที่ต้องออกไปปฏิบัติภารกิจของสงฆ์ในพื้นที่เสี่ยง คำตอบก็คือ “กลัว” พระก็เป็นปุถุชนคนหนึ่ง ยังไม่บรรลุพระอรหันต์ แต่ไม่ใช่กลัวแล้วไม่ทำงาน ไม่ต้องทำอะไร อาตมา และพระธรรมทูตอีกหลายองค์ สลัดความกลัว แล้วปฏิบัติภารกิจของสงฆ์เหมือนสมัยก่อน แต่วิธีการปฏิบัติภารกิจสงฆ์ได้มีการพลิกแผลงจากเดิมจะบิณฑบาตองค์เดียว มาเป็นบิณฑบาตพร้อมกันหลายรูป เผื่อมีปัญหาอะไรจะได้ช่วยเหลือกัน และเวลาญาติโยม ทางวัด หรือสถานศึกษา นิมนต์ เราจะขอกำลังตำรวจหรือทหาร มาคุ้มกันความปลอดภัย จะใช้วิธีเดินทางกันเงียบๆ ขณะเดียวกันทางวัดจะแจ้งญาติโยมว่าพระธรรมทูตจะมาเทศน์วันไหน”
พระมหาสุชาติ เล่าต่อว่า หลายครั้งที่รับกิจนิมนต์ให้ไปในพื้นที่เสี่ยง ชาวบ้านซึ่งนับถือศาสนาอิสลามจะอาสาขับรถยนต์ไปส่งถึงจุดหมาย เมื่อญาติโยมเห็นพระสงฆ์จะมีความสุข รู้สึกอุ่นใจที่ได้เจอพระ เห็นรอยยิ้มเปื้อนใบหน้า แม้ว่าบางครั้งบางคราวไม่ได้นำธรรมไปเผยแพร่ก็ตามที อย่างไรก็ตาม เวลาออกไปจะมอบหลวงปู่ทวดให้แก่ญาติโยม เพื่อให้มีสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ ส่วนการเทศน์นอกจากคำสั่งสอนของพระพุทธแล้ว จะสอดแทรกให้รักผืนแผ่นดินไทย และไม่แบ่งศาสนา อยากให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขเหมือนคนรุ่นพ่อแม่ หรือในอดีต และทุกครั้งที่จะกลับ ญาติโยมมักจะบอกว่าให้พระธรรมทูตกลับมาอีกนะ
พระมหาสุชาติ บอกว่า ชาวปัตตานีส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง 2 ศาสนา มีไม่มากนัก แต่มีความเข้าใจกันดี เพราะทุกคนปรารถนามีความสุข ซึ่งก่อนเกิดปัญหาความไม่สงบ คนสองศาสนา จะทักทายปราศรัยกัน มีความเอื้อเฟื้อเพื่อแผ่ แบ่งปันซึ่งกันและกัน เพียงแต่ไม่ร่วมกิจกรรมทางศาสนาเท่านั้น ทว่าวันนี้ต่างกันต่างหวาดระแวงกัน
“อาตมาเป็นชาวนครศรีธรรมราช ย้ายมาอยู่ปัตตานี ตั้งแต่ปี 2536 เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ มีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ไปทางไหนเห็นแต่รอยยิ้ม ทักทายพูดคุยกัน อาตมาอยากให้ภาพเหล่านี้หวนคืนมาโดยเร็ว” พระมหาสุชาติ กล่าวว่า ทุกวันจันทร์จะได้รับกิจนิมนต์ เป็นครูพระสอนศีลธรรมตามสถานศึกษา โดยบางแห่งมีทั้งเด็กพุทธ เด็กอิสลาม เป็นเพื่อนกัน จะเทศน์เพื่อปลูกฝังให้ทุกคนรักกัน รักแผ่นดินไทย อย่าเอาศาสนามาเป็นเครื่องแบ่งแยก มั่นใจว่าแผ่นดินใต้จะกลับมาสันติสุขดั่งเดิม
ผลพวงที่ปฏิบัติภารกิจของสงฆ์มาอย่างต่อเนื่องของ “พระมหาสุชาติ” ส่งผลให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ ได้มอบโล่และประกาศเกียรติคุณ ในฐานะพระธรรมทูต ที่ปฏิบัติศาสนกิจ ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใน “โครงการส่งเสริมความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้” ที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ได้จัดส่งพระธรรมทูตลงพื้นที่เผยแผ่หลักธรรม และเพื่อให้พุทธศาสนิกชนในพื้นที่ชายแดน มีความรู้ความเข้าใจในแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา สามารถธำรงไว้ซึ่งศาสนธรรมในพระพุทธศาสนา และนำความรู้ที่ได้ไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง สร้างความมั่นคงแก่พระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน