เปิดตัวหนังสือ “ตามรอย...บ้านของพระราชา” ดับไฟใต้ โดยนักเขียน 5 จังหวัดชายแดนใต้ นำร่องที่นราธิวาส ให้เยาวชนเขียนถึงวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น หวังสำนึกรักบ้านเกิด-สามัคคี เตรียมต่อยอดพิมพ์เป็นภาษามลายู-อังกฤษ เผยแพร่นานาชาติ เตรียมคัดเรื่องดีๆ ทำหนังสั้น
กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับเครือข่ายเปิดตัวหนังสือ “ตามรอย...บ้านของพระราชา” และโครงการต้นแบบนักเขียนชุมชน “ตามรอยบ้านของพระราชา” ที่สถาบันคึกฤทธิ์ โดยมี นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธาน มีว่าที่ร้อยโท ดิลก ศิริวัลลภ ล่ามภาษามลายูประจำพระองค์ นายพระนาย สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายสามารถ วราดิศัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล ประธานกรรมการมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80ฯ และตัวแทนเยาวชนนักเขียนชายแดนใต้เข้าร่วม
ทั้งนี้ วธ.ตระหนักถึงความสำคัญในการใช้มิติทางศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา 5 จังหวัดชายแดนใต้ จึงร่วมกับเครือข่ายภาครัฐ เอกชน ตลอดจนประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ชายแดนใต้ จัดโครงการต้นแบบนักเขียนชุมชน ตามรอย “บ้านพระราชา” ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป มีทักษะและเข้าใจกระบวนการในงานเขียน ทั้งงานเขียนบันทึก งานเขียนเชิงสารคดี และการถ่ายภาพ โดยถ่ายทอดตามความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องราวในท้องถิ่นของตนเอง
ซึ่งโครงการดังกล่าว จะนำร่องในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เพื่อให้เยาวชนสื่อความหมายผ่านงานเขียนถึงวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นทุนทางสังคมที่มีคุณค่า กระตุ้นให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปหันมาสนใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จนเกิดความสำนึกในคุณค่าของบ้านเกิด นำมาซึ่งความสามัคคีต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดนราธิวาส เป็นที่ตั้งของพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ชาวบ้านในพื้นที่เรียกกันว่า “บ้านของพระราชา” ด้วยพระองค์ท่านได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับแรมทุกปี และได้เยี่ยมเยือนพสกนิกรตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ทุรกันดารเช่นไรก็ตาม ทรงส่งเสริมสนับสนุนทั้งศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต การศึกษา และอาชีพ อย่างจริงจังและต่อเนื่องมาโดยตลอด
นายสมชาย กล่าวว่า ได้คัดเลือกเยาวชนระดับมัธยมศึกษา อุดมศึกษา และประชาชนทั่วไปในเขตจังหวัดในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่น้อยกว่า 50 คน มาเข้าร่วมโครงการ โดยจัดค่ายกิจกรรม และเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านงานเขียน การถ่ายภาพ และการบรรณาธิการ มาบรรยายให้ความรู้ รวมทั้งลงพื้นที่เก็บข้อมูลในสถานที่จริงก่อนลงมือเขียน จากนั้นนำเสนอผลงานเพื่อให้คณะวิทยากรพิจารณาขัดเกลา เพื่อจัดพิมพ์ผลงานเป็นหนังสือ “ตามรอย...บ้านพระราชา” จำนวนกว่า 1,000 เล่ม จะเป็นหนังสือสารคดีแห่งวิถีบันดาลใจในรอยทางพอเพียงของพระราชา ผ่านสายตาเยาวชนนักเขียนชายแดนใต้ พร้อมกันนี้ วธ.จะต่อยอดโดยทำเป็นภาษามลายู และภาษาอังกฤษ เพื่อให้นานาชาติ รวมถึงกลุ่มประชาคมอาเซียนได้รับรู้ถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนใต้ และในอนาคตจะนำเรื่องเรื่องดีๆ ในหนังสือเล่มนี้ ทำเป็นหนังสั้นเพื่อเผยแพร่อีกด้วย
กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับเครือข่ายเปิดตัวหนังสือ “ตามรอย...บ้านของพระราชา” และโครงการต้นแบบนักเขียนชุมชน “ตามรอยบ้านของพระราชา” ที่สถาบันคึกฤทธิ์ โดยมี นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธาน มีว่าที่ร้อยโท ดิลก ศิริวัลลภ ล่ามภาษามลายูประจำพระองค์ นายพระนาย สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายสามารถ วราดิศัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล ประธานกรรมการมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80ฯ และตัวแทนเยาวชนนักเขียนชายแดนใต้เข้าร่วม
ทั้งนี้ วธ.ตระหนักถึงความสำคัญในการใช้มิติทางศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา 5 จังหวัดชายแดนใต้ จึงร่วมกับเครือข่ายภาครัฐ เอกชน ตลอดจนประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ชายแดนใต้ จัดโครงการต้นแบบนักเขียนชุมชน ตามรอย “บ้านพระราชา” ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป มีทักษะและเข้าใจกระบวนการในงานเขียน ทั้งงานเขียนบันทึก งานเขียนเชิงสารคดี และการถ่ายภาพ โดยถ่ายทอดตามความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องราวในท้องถิ่นของตนเอง
ซึ่งโครงการดังกล่าว จะนำร่องในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เพื่อให้เยาวชนสื่อความหมายผ่านงานเขียนถึงวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นทุนทางสังคมที่มีคุณค่า กระตุ้นให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปหันมาสนใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จนเกิดความสำนึกในคุณค่าของบ้านเกิด นำมาซึ่งความสามัคคีต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดนราธิวาส เป็นที่ตั้งของพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ชาวบ้านในพื้นที่เรียกกันว่า “บ้านของพระราชา” ด้วยพระองค์ท่านได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับแรมทุกปี และได้เยี่ยมเยือนพสกนิกรตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ทุรกันดารเช่นไรก็ตาม ทรงส่งเสริมสนับสนุนทั้งศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต การศึกษา และอาชีพ อย่างจริงจังและต่อเนื่องมาโดยตลอด
นายสมชาย กล่าวว่า ได้คัดเลือกเยาวชนระดับมัธยมศึกษา อุดมศึกษา และประชาชนทั่วไปในเขตจังหวัดในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่น้อยกว่า 50 คน มาเข้าร่วมโครงการ โดยจัดค่ายกิจกรรม และเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านงานเขียน การถ่ายภาพ และการบรรณาธิการ มาบรรยายให้ความรู้ รวมทั้งลงพื้นที่เก็บข้อมูลในสถานที่จริงก่อนลงมือเขียน จากนั้นนำเสนอผลงานเพื่อให้คณะวิทยากรพิจารณาขัดเกลา เพื่อจัดพิมพ์ผลงานเป็นหนังสือ “ตามรอย...บ้านพระราชา” จำนวนกว่า 1,000 เล่ม จะเป็นหนังสือสารคดีแห่งวิถีบันดาลใจในรอยทางพอเพียงของพระราชา ผ่านสายตาเยาวชนนักเขียนชายแดนใต้ พร้อมกันนี้ วธ.จะต่อยอดโดยทำเป็นภาษามลายู และภาษาอังกฤษ เพื่อให้นานาชาติ รวมถึงกลุ่มประชาคมอาเซียนได้รับรู้ถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนใต้ และในอนาคตจะนำเรื่องเรื่องดีๆ ในหนังสือเล่มนี้ ทำเป็นหนังสั้นเพื่อเผยแพร่อีกด้วย