นโยบายขึ้นค่าแรง 300 บาท ของนายกฯปู ทำพิษ หลังสำรวจค่าครองชีพพบลูกจ้างอ่วม เจอค่าใช้จ่ายรายวันเพิ่ม 113.92 บาทต่อคน แถมหนี้พุ่งเฉลี่ย 30-40% คสรท.จี้ รัฐคุมราคาสินค้าอย่างจริงจัง พร้อมปรับค่าแรง 561 บาทต่อคน เชื่อเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้
วันนี้ (16 ส.ค.) นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยว่า คสรท.ได้สำรวจค่าครองชีพผู้ใช้แรงงานปี 2555 ภายหลังรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ประกาศใช้ค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยได้สำรวจผู้ใช้แรงงานใน 8 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ นครปฐม สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา และ อ่างทอง จำนวน 2,516 คน ทั้งกลุ่มลูกจ้างรายเดือน รายวันและเหมาช่วง ครอบคลุม 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ ไฟฟ้า ยานยนต์ สิ่งทอ ปิโตรเลียมเคมีภัณฑ์ และธนาคารการเงิน พบว่า แรงงานส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 76 นายจ้างปรับค่าจ้างหลังเดือนเมษายน 2555 ตามที่รัฐบาลประกาศไว้ ขณะที่ร้อยละ 18.3 มีการปรับค่าจ้างแบบมีเงื่อนไข และอีกร้อยละ 5.1 ไม่มีการปรับค่าจ้าง
นายชาลี กล่าวอีกว่า เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลค่าใช้จ่ายรายคน และรายครอบครัวในช่วงเดือน ส.ค.54 กับ เดือน พ.ค.55 พบว่า ค่าใช้จ่ายรายวัน ในปี 54 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 348.39 บาทต่อวัน ส่วนปี 55 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 462.31 บาทต่อวัน ส่วนรายครอบครัวในปี 54 เท่ากับ 561.79 บาทต่อวัน และในปี 55 เท่ากับ 740.26 บาทต่อวัน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทั้งสองปี พบว่า เพิ่มขึ้น 113.92 บาท หรือร้อยละ 32.7 ส่วนค่าใช้จ่ายรายเดือน ใน ปี 54 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 10,451.7 บาท ส่วนปี 55 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 13,869.3 บาท และรายครอบครัวปี 54 เท่ากับ 16,853.7 บาท ในปี 55 เท่ากับ 22,207.8 บาท เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทั้งสองปี พบว่า เพิ่มขึ้น 178.47 บาท หรือร้อยละ 31.77
นายชาลี กล่าวด้วยว่า เมื่อสำรวจลงไปถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ พบว่า ปีนี้ลูกจ้างมีค่าใช้จ่ายรายวันเพิ่มขึ้นจากปี 54 เช่น ค่าอาหารและค่าเดินทาง เดิมจ่ายคนละ 175 บาทต่อวัน เพิ่มเป็นคนละ 259.26 บาทต่อวัน, ค่าน้ำประปา เดิมจ่ายอยู่คนละ 6.7 บาทต่อวัน เพิ่มเป็นคนละ 6.86 บาทต่อวัน ค่าโทรศัพท์ เดิมต้องจ่ายคนละ 10 บาทต่อวัน เพิ่มเป็นคนละ 12 บาทต่อวัน ส่วนค่าเช่าบ้านเดิมจ่ายคนละ 58 บาทต่อวัน เพิ่มเป็น 91 บาทต่อวัน และค่าเสื้อผ้า รองเท้า เดิมจ่ายคนละ 19 บาทต่อวัน เพิ่มเป็นคนละ 34 บาทต่อวัน
นายชาลี กล่าวว่า ขณะเดียวกัน ยังพบว่า แรงงานมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม โดยเฉลี่ยประมาณ 30-40% โดยเป็นหนี้จากการกู้เงินนอกระบบมากที่สุด รองลงมาเป็นหนี้ธนาคาร หนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หนี้สหกรณ์ และหนี้บัตรเครดิต ทั้งนี้ แรงงานต่างคาดหวังว่า จะนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นนำมาชำระหนี้ให้ลดลง แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะต้องนำเงินมาจ่ายค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น
“หากจะให้แรงงาน 1 คน เลี้ยงตัวเองได้ในภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน ควรปรับค่าจ้างให้อยู่ที่วันละ 348 บาทต่อคน และต้องปรับขึ้นให้เท่ากันทั่วประเทศ และหากจะให้แรงงานเลี้ยงตัวเองและครอบครัวอีก 2 คน ตามหลักของไอแอลโอ จะต้องปรับขึ้นค่าจ้างวันละ 561 บาทต่อคน” ประธาน คสรท.กล่าว และว่า อยากให้รัฐบาลยกเลิกคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด เนื่องจากในอนาคตค่าจ้างขั้นต่ำจะปรับขึ้นเป็นวันละ 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน ค่าครองชีพทุกจังหวัดก็ไม่ได้ต่างกัน จึงควรให้คณะกรรมการค่าจ้างกลางเป็นผู้พิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพียงคณะเดียว รวมทั้งควรมีการจัดทำโครงสร้างค่าจ้างแรงงานฝีมือ โดยแยกตามกลุ่มอุตสาหกรรมให้ชัดเจน ส่วนค่าจ้างขั้นต่ำก็ใช้สำหรับแรงงานไร้ฝีมือ
ด้านนายยงยุทธ เม่นตะเภา เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการสำรวจค่าครองชีพครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ยังมีการปล่อยให้ภาคอุตสาหกรรมใช้แรงงานราคาถูกต่อไป โดยปล่อยให้การปรับขึ้นค่าจ้าง เป็นการตัดสินใจระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเท่านั้น จึงอยากให้รัฐบาลมีมาตรการบังคับใช้กฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ และแก้ไขปัญหา เช่น การนำสวัสดิการมารวมกับค่าจ้าง การเปลี่ยนสภาพการจ้างงาน และการไม่ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย และประเด็นสำคัญอยากให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ให้สูงขึ้นเกินความเป็นจริง
“ถ้ารัฐบาลยังไม่สามารถควบคุมราคาอุปโภคบริโภคให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ ก็จะทำให้ผู้ใช้แรงงานยิ่งมีความเป็นอยู่ยากลำบาก นอกจากนั้น บางจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกัน เช่น ชลบุรี ซึ่งได้รับค่าจ้างที่อยู่ 216 บาท ขณะที่สมุทรปราการได้ 300บาท แต่กลับพบว่าค่าครองชีพทั้งสองจังหวัดไม่แตกต่างกัน ทั้งๆ ที่เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.76% แต่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.57% เท่านั้น หลังจากปรับการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศแล้ว รัฐบาลก็ไม่ควรแช่แข็งการปรับขึ้นค่าจ้าง เห็นว่าควรปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปี" นายยงยุทธ กล่าว
นายยงยุทธ กล่าวอีกว่า ยังมีแรงงานนอกระบบอีกกว่า 24 ล้านคน ซึ่งถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่ไม่ได้รับอานิสงส์จากนโยบายการขึ้นค่าจ้าง 300 บาท แถมยังถูกซ้ำเติบจากผลกระทบจากภาวะค่าครองชีพ ราคาสินค้าที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลไม่มีมาตรการเยียวยาแรงงานกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม คสรท.ยังคงสนับสนุนการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ซึ่งมองว่ารัฐบาลเดินมาถูกทางแล้ว แต่รัฐบาลควรเข้ามาดูแลปัญหาที่เกิดขึ้นมากกว่านี้
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธาน คสรท.กล่าวว่า จากการพูดคุยกับแรงงานหญิงในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร ซึ่งมีแรงงานหญิงจำนวนมาก ต่างสะท้อนว่าราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมีการถีบตัวสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะนมเด็กที่ราคาเพิ่มขึ้นชัดเจน ทำให้รายได้ที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ช่วยแบ่งเบาภาระให้แรงงานได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายขายสินค้าราคาถูกแต่ก็ทำได้ไม่ทั่วถึง นอกจากนี้ พบว่าแรงงานส่วนใหญ่ยังต้องทำโอทีเหมือนเดิมเพื่อให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นเพียงพอกับค่าครองชีพ
น.ส.ธนพร วิจันทร์ เลขาธิการกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง กล่าวว่า ในพื้นที่สระบุรีและใกล้เคียงได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นใกล้เคียงกับ 7 จังหวัดนำร่องที่ได้รับค่าจ้างวันละ 300 บาท ซึ่งตัวแปรสำคัญที่ทำให้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นคือราคาพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมัน และก๊าซซึ่งในต่างจังหวัดราคาในปั๊มจะมีราคาสูงกว่าในกรุงเทพ จึงอยากให้รัฐควบคุมราคาสินค้า
“อยากให้รัฐบาลและกระทรวงแรงงานเข้าไปตรวจสอบธุรกิจเอสเอ็มอีในต่างจังหวัดที่อ้างว่าขาดทุนและไม่ยอมปรับขึ้นค่าจ้าง เนื่องจากบางเอสเอ็มอี เป็นบริษัทที่รับเหมาช่วงจากสถานประกอบการรายใหญ่หลายแห่ง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีอำนาจในการจ่ายค่าจ้าง อย่างไรก็ตาม หากพบว่าเอสเอ็มอีใดได้รับผลกระทบจริงก็ต้องเข้าไปช่วยเหลือ” น.ส.ธนพร กล่าว
วันนี้ (16 ส.ค.) นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยว่า คสรท.ได้สำรวจค่าครองชีพผู้ใช้แรงงานปี 2555 ภายหลังรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ประกาศใช้ค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยได้สำรวจผู้ใช้แรงงานใน 8 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ นครปฐม สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา และ อ่างทอง จำนวน 2,516 คน ทั้งกลุ่มลูกจ้างรายเดือน รายวันและเหมาช่วง ครอบคลุม 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ ไฟฟ้า ยานยนต์ สิ่งทอ ปิโตรเลียมเคมีภัณฑ์ และธนาคารการเงิน พบว่า แรงงานส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 76 นายจ้างปรับค่าจ้างหลังเดือนเมษายน 2555 ตามที่รัฐบาลประกาศไว้ ขณะที่ร้อยละ 18.3 มีการปรับค่าจ้างแบบมีเงื่อนไข และอีกร้อยละ 5.1 ไม่มีการปรับค่าจ้าง
นายชาลี กล่าวอีกว่า เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลค่าใช้จ่ายรายคน และรายครอบครัวในช่วงเดือน ส.ค.54 กับ เดือน พ.ค.55 พบว่า ค่าใช้จ่ายรายวัน ในปี 54 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 348.39 บาทต่อวัน ส่วนปี 55 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 462.31 บาทต่อวัน ส่วนรายครอบครัวในปี 54 เท่ากับ 561.79 บาทต่อวัน และในปี 55 เท่ากับ 740.26 บาทต่อวัน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทั้งสองปี พบว่า เพิ่มขึ้น 113.92 บาท หรือร้อยละ 32.7 ส่วนค่าใช้จ่ายรายเดือน ใน ปี 54 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 10,451.7 บาท ส่วนปี 55 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 13,869.3 บาท และรายครอบครัวปี 54 เท่ากับ 16,853.7 บาท ในปี 55 เท่ากับ 22,207.8 บาท เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทั้งสองปี พบว่า เพิ่มขึ้น 178.47 บาท หรือร้อยละ 31.77
นายชาลี กล่าวด้วยว่า เมื่อสำรวจลงไปถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ พบว่า ปีนี้ลูกจ้างมีค่าใช้จ่ายรายวันเพิ่มขึ้นจากปี 54 เช่น ค่าอาหารและค่าเดินทาง เดิมจ่ายคนละ 175 บาทต่อวัน เพิ่มเป็นคนละ 259.26 บาทต่อวัน, ค่าน้ำประปา เดิมจ่ายอยู่คนละ 6.7 บาทต่อวัน เพิ่มเป็นคนละ 6.86 บาทต่อวัน ค่าโทรศัพท์ เดิมต้องจ่ายคนละ 10 บาทต่อวัน เพิ่มเป็นคนละ 12 บาทต่อวัน ส่วนค่าเช่าบ้านเดิมจ่ายคนละ 58 บาทต่อวัน เพิ่มเป็น 91 บาทต่อวัน และค่าเสื้อผ้า รองเท้า เดิมจ่ายคนละ 19 บาทต่อวัน เพิ่มเป็นคนละ 34 บาทต่อวัน
นายชาลี กล่าวว่า ขณะเดียวกัน ยังพบว่า แรงงานมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม โดยเฉลี่ยประมาณ 30-40% โดยเป็นหนี้จากการกู้เงินนอกระบบมากที่สุด รองลงมาเป็นหนี้ธนาคาร หนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หนี้สหกรณ์ และหนี้บัตรเครดิต ทั้งนี้ แรงงานต่างคาดหวังว่า จะนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นนำมาชำระหนี้ให้ลดลง แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะต้องนำเงินมาจ่ายค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น
“หากจะให้แรงงาน 1 คน เลี้ยงตัวเองได้ในภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน ควรปรับค่าจ้างให้อยู่ที่วันละ 348 บาทต่อคน และต้องปรับขึ้นให้เท่ากันทั่วประเทศ และหากจะให้แรงงานเลี้ยงตัวเองและครอบครัวอีก 2 คน ตามหลักของไอแอลโอ จะต้องปรับขึ้นค่าจ้างวันละ 561 บาทต่อคน” ประธาน คสรท.กล่าว และว่า อยากให้รัฐบาลยกเลิกคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด เนื่องจากในอนาคตค่าจ้างขั้นต่ำจะปรับขึ้นเป็นวันละ 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน ค่าครองชีพทุกจังหวัดก็ไม่ได้ต่างกัน จึงควรให้คณะกรรมการค่าจ้างกลางเป็นผู้พิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพียงคณะเดียว รวมทั้งควรมีการจัดทำโครงสร้างค่าจ้างแรงงานฝีมือ โดยแยกตามกลุ่มอุตสาหกรรมให้ชัดเจน ส่วนค่าจ้างขั้นต่ำก็ใช้สำหรับแรงงานไร้ฝีมือ
ด้านนายยงยุทธ เม่นตะเภา เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการสำรวจค่าครองชีพครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ยังมีการปล่อยให้ภาคอุตสาหกรรมใช้แรงงานราคาถูกต่อไป โดยปล่อยให้การปรับขึ้นค่าจ้าง เป็นการตัดสินใจระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเท่านั้น จึงอยากให้รัฐบาลมีมาตรการบังคับใช้กฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ และแก้ไขปัญหา เช่น การนำสวัสดิการมารวมกับค่าจ้าง การเปลี่ยนสภาพการจ้างงาน และการไม่ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย และประเด็นสำคัญอยากให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ให้สูงขึ้นเกินความเป็นจริง
“ถ้ารัฐบาลยังไม่สามารถควบคุมราคาอุปโภคบริโภคให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ ก็จะทำให้ผู้ใช้แรงงานยิ่งมีความเป็นอยู่ยากลำบาก นอกจากนั้น บางจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกัน เช่น ชลบุรี ซึ่งได้รับค่าจ้างที่อยู่ 216 บาท ขณะที่สมุทรปราการได้ 300บาท แต่กลับพบว่าค่าครองชีพทั้งสองจังหวัดไม่แตกต่างกัน ทั้งๆ ที่เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.76% แต่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.57% เท่านั้น หลังจากปรับการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศแล้ว รัฐบาลก็ไม่ควรแช่แข็งการปรับขึ้นค่าจ้าง เห็นว่าควรปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปี" นายยงยุทธ กล่าว
นายยงยุทธ กล่าวอีกว่า ยังมีแรงงานนอกระบบอีกกว่า 24 ล้านคน ซึ่งถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่ไม่ได้รับอานิสงส์จากนโยบายการขึ้นค่าจ้าง 300 บาท แถมยังถูกซ้ำเติบจากผลกระทบจากภาวะค่าครองชีพ ราคาสินค้าที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลไม่มีมาตรการเยียวยาแรงงานกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม คสรท.ยังคงสนับสนุนการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ซึ่งมองว่ารัฐบาลเดินมาถูกทางแล้ว แต่รัฐบาลควรเข้ามาดูแลปัญหาที่เกิดขึ้นมากกว่านี้
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธาน คสรท.กล่าวว่า จากการพูดคุยกับแรงงานหญิงในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร ซึ่งมีแรงงานหญิงจำนวนมาก ต่างสะท้อนว่าราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมีการถีบตัวสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะนมเด็กที่ราคาเพิ่มขึ้นชัดเจน ทำให้รายได้ที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ช่วยแบ่งเบาภาระให้แรงงานได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายขายสินค้าราคาถูกแต่ก็ทำได้ไม่ทั่วถึง นอกจากนี้ พบว่าแรงงานส่วนใหญ่ยังต้องทำโอทีเหมือนเดิมเพื่อให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นเพียงพอกับค่าครองชีพ
น.ส.ธนพร วิจันทร์ เลขาธิการกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง กล่าวว่า ในพื้นที่สระบุรีและใกล้เคียงได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นใกล้เคียงกับ 7 จังหวัดนำร่องที่ได้รับค่าจ้างวันละ 300 บาท ซึ่งตัวแปรสำคัญที่ทำให้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นคือราคาพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมัน และก๊าซซึ่งในต่างจังหวัดราคาในปั๊มจะมีราคาสูงกว่าในกรุงเทพ จึงอยากให้รัฐควบคุมราคาสินค้า
“อยากให้รัฐบาลและกระทรวงแรงงานเข้าไปตรวจสอบธุรกิจเอสเอ็มอีในต่างจังหวัดที่อ้างว่าขาดทุนและไม่ยอมปรับขึ้นค่าจ้าง เนื่องจากบางเอสเอ็มอี เป็นบริษัทที่รับเหมาช่วงจากสถานประกอบการรายใหญ่หลายแห่ง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีอำนาจในการจ่ายค่าจ้าง อย่างไรก็ตาม หากพบว่าเอสเอ็มอีใดได้รับผลกระทบจริงก็ต้องเข้าไปช่วยเหลือ” น.ส.ธนพร กล่าว