ASTVผู้จัดการรายวัน - คสรท.เผยผลสำรวจค่าครองชีพหลังปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ลูกจ้างอ่วม ค่าใช้จ่ายรายวันเพิ่มขึ้น 113.92 บาทต่อคน แถมหนี้พุ่งเฉลี่ย 30-40% ชี้ต้องปรับค่าจ้างเพิ่มเป็นวันละ 348 บาท/คน ทั่วประเทศ ถึงอยู่ได้ จี้รัฐคุมราคาสินค้าอย่างจริงจัง
วานนี้ (16 ส.ค.) นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยว่า ทางคสรท.ได้สำรวจค่าครองชีพผู้ใช้แรงงานปี 2555 ภายหลังรัฐบาลพรรคเพื่อไทยประกาศใช้ค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยได้สำรวจผู้ใช้แรงงานใน 8 จังหวัด ประกอบด้วย กทม. นครปฐม สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง จำนวน 2,516 คน ทั้งกลุ่มลูกจ้างรายเดือน รายวันและเหมาช่วง ครอบคลุม 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ ไฟฟ้า ยานยนต์ สิ่งทอ ปิโตรเลียมเคมีภัณฑ์ และธนาคารการเงิน พบว่า แรงงานส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 76 นายจ้างปรับค่าจ้างหลังเดือนแม.ย. 2555 ตามที่รัฐบาลประกาศไว้ ขณะที่ร้อยละ 18.3 มีการปรับค่าจ้างแบบมีเงื่อนไข และอีกร้อยละ 5.1 ไม่มีการปรับค่าจ้าง
เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลค่าใช้จ่ายรายคน และรายครอบครัวในช่วงเดือน ส.ค. 54 กับ เดือน พ.ค. 55 พบว่าค่าใช้จ่ายรายวัน ใน ปี 54 เท่ากับ 348.39 บาท/วัน/คน ส่วนปี 55 เท่ากับ 462.31 บาท/วัน/คน ส่วนรายครอบครัวในปี 54 เท่ากับ 561.79 บาทต่อวัน และในปี 55 เท่ากับ 740.26 บาทต่อวัน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทั้งสองปี พบว่าเพิ่มขึ้น 113.92 บาท หรือร้อยละ 32.7
ส่วนค่าใช้จ่ายรายเดือน ใน ปี 54 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 10,451.7 บาท ส่วนปี 55 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 13,869.3 บาท และรายครอบครัวปี 54 เท่ากับ 16,853.7 บาท ในปี 55 เท่ากับ 22,207.8 บาท เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ปี พบว่า เพิ่มขึ้น 178.47 บาท หรือร้อยละ 31.77
ทั้งนี้ ลูกจ้างมีค่าใช้จ่ายรายวันเพิ่มขึ้นจากปี 54 เช่น ค่าอาหารและค่าเดินทาง เดิมจ่ายคนละ 175 บาท/วัน เพิ่มเป็นคนละ 259.26 บาท/วัน , ค่าน้ำประปา เดิมจ่ายอยู่คนละ 6.7 บาท/วัน เพิ่มเป็นคนละ 6.86 บาท/วัน ค่าโทรศัพท์ เดิมต้องจ่ายคนละ 10 บาทต่อวัน เพิ่มเป็นคนละ 12 บาท/วัน ส่วนค่าเช่าบ้านเดิมจ่ายคนละ 58 บาทต่อวัน เพิ่มเป็น 91 บาท/วัน และค่าเสื้อผ้า รองเท้า เดิมจ่ายคนละ 19 บาท/วัน เพิ่มเป็นคนละ 34 บาท/วัน
ประธาน คสรท. กล่าวว่า ขณะเดียวกันยังพบว่า แรงงานมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม โดยเฉลี่ยประมาณ 30-40% โดยเป็นหนี้จากการกู้เงินนอกระบบมากที่สุด รองลงมาเป็นหนี้ธนาคาร หนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หนี้สหกรณ์ และหนี้บัตรเครดิต ทั้งนี้ แรงงานต่างคาดหวังว่า จะนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นนำมาชำระหนี้ให้ลดลง แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะต้องนำเงินมาจ่ายค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน ควรปรับค่าจ้างให้อยู่ที่วันละ 348 บาท/คน และต้องปรับขึ้นให้เท่ากันทั่วประเทศ และหากจะให้แรงงานเลี้ยงตัวเองและครอบครัวอีก 2 คน ตามหลักของไอแอลโอ จะต้องปรับขึ้นค่าจ้างวันละ 561 บาท/คน
ด้านนายยงยุทธ เม่นตะเภา เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการสำรวจค่าครองชีพครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่ายังมีการปล่อยให้ภาคอุตสาหกรรมใช้แรงงานราคาถูกต่อไป โดยปล่อยให้การปรับขึ้นค่าจ้าง เป็นการตัดสินใจระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเท่านั้น จึงอยากให้รัฐบาลมีมาตรการบังคับใช้กฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ และแก้ไขปัญหา และประเด็นสำคัญอยากให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ให้สูงขึ้นเกินความเป็นจริง
วานนี้ (16 ส.ค.) นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยว่า ทางคสรท.ได้สำรวจค่าครองชีพผู้ใช้แรงงานปี 2555 ภายหลังรัฐบาลพรรคเพื่อไทยประกาศใช้ค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยได้สำรวจผู้ใช้แรงงานใน 8 จังหวัด ประกอบด้วย กทม. นครปฐม สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง จำนวน 2,516 คน ทั้งกลุ่มลูกจ้างรายเดือน รายวันและเหมาช่วง ครอบคลุม 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ ไฟฟ้า ยานยนต์ สิ่งทอ ปิโตรเลียมเคมีภัณฑ์ และธนาคารการเงิน พบว่า แรงงานส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 76 นายจ้างปรับค่าจ้างหลังเดือนแม.ย. 2555 ตามที่รัฐบาลประกาศไว้ ขณะที่ร้อยละ 18.3 มีการปรับค่าจ้างแบบมีเงื่อนไข และอีกร้อยละ 5.1 ไม่มีการปรับค่าจ้าง
เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลค่าใช้จ่ายรายคน และรายครอบครัวในช่วงเดือน ส.ค. 54 กับ เดือน พ.ค. 55 พบว่าค่าใช้จ่ายรายวัน ใน ปี 54 เท่ากับ 348.39 บาท/วัน/คน ส่วนปี 55 เท่ากับ 462.31 บาท/วัน/คน ส่วนรายครอบครัวในปี 54 เท่ากับ 561.79 บาทต่อวัน และในปี 55 เท่ากับ 740.26 บาทต่อวัน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทั้งสองปี พบว่าเพิ่มขึ้น 113.92 บาท หรือร้อยละ 32.7
ส่วนค่าใช้จ่ายรายเดือน ใน ปี 54 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 10,451.7 บาท ส่วนปี 55 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 13,869.3 บาท และรายครอบครัวปี 54 เท่ากับ 16,853.7 บาท ในปี 55 เท่ากับ 22,207.8 บาท เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ปี พบว่า เพิ่มขึ้น 178.47 บาท หรือร้อยละ 31.77
ทั้งนี้ ลูกจ้างมีค่าใช้จ่ายรายวันเพิ่มขึ้นจากปี 54 เช่น ค่าอาหารและค่าเดินทาง เดิมจ่ายคนละ 175 บาท/วัน เพิ่มเป็นคนละ 259.26 บาท/วัน , ค่าน้ำประปา เดิมจ่ายอยู่คนละ 6.7 บาท/วัน เพิ่มเป็นคนละ 6.86 บาท/วัน ค่าโทรศัพท์ เดิมต้องจ่ายคนละ 10 บาทต่อวัน เพิ่มเป็นคนละ 12 บาท/วัน ส่วนค่าเช่าบ้านเดิมจ่ายคนละ 58 บาทต่อวัน เพิ่มเป็น 91 บาท/วัน และค่าเสื้อผ้า รองเท้า เดิมจ่ายคนละ 19 บาท/วัน เพิ่มเป็นคนละ 34 บาท/วัน
ประธาน คสรท. กล่าวว่า ขณะเดียวกันยังพบว่า แรงงานมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม โดยเฉลี่ยประมาณ 30-40% โดยเป็นหนี้จากการกู้เงินนอกระบบมากที่สุด รองลงมาเป็นหนี้ธนาคาร หนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หนี้สหกรณ์ และหนี้บัตรเครดิต ทั้งนี้ แรงงานต่างคาดหวังว่า จะนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นนำมาชำระหนี้ให้ลดลง แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะต้องนำเงินมาจ่ายค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน ควรปรับค่าจ้างให้อยู่ที่วันละ 348 บาท/คน และต้องปรับขึ้นให้เท่ากันทั่วประเทศ และหากจะให้แรงงานเลี้ยงตัวเองและครอบครัวอีก 2 คน ตามหลักของไอแอลโอ จะต้องปรับขึ้นค่าจ้างวันละ 561 บาท/คน
ด้านนายยงยุทธ เม่นตะเภา เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการสำรวจค่าครองชีพครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่ายังมีการปล่อยให้ภาคอุตสาหกรรมใช้แรงงานราคาถูกต่อไป โดยปล่อยให้การปรับขึ้นค่าจ้าง เป็นการตัดสินใจระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเท่านั้น จึงอยากให้รัฐบาลมีมาตรการบังคับใช้กฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ และแก้ไขปัญหา และประเด็นสำคัญอยากให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ให้สูงขึ้นเกินความเป็นจริง