4 เดือนค่าแรงขั้นต่ำ หลักฐานเริ่มฟ้อง ปิดบริษัทเพิ่ม-คนตกงานพุ่ง ธุรกิจบัณฑิตย์คาด SME ปิดตัวถึง 1.3 แสนราย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยเผยหลังใช้นายจ้างเอาเปรียบสารพัด ยอมรับแรงงานถูกต้มหลอกให้เลือก สุดท้ายปล่อยนายจ้างเชือด ด้านทีดีอาร์ไอชี้สุดท้ายเหลือรายใหญ่คุมตลาด ขณะที่ตัวเลขว่างงานเพิ่มขึ้น 4 เดือนติดต่อกัน
รัฐบาลเพื่อไทยยังคงเดินหน้าเปิดโครงการประชานิยมอย่างต่อเนื่อง ทั้งบัตรเครดิตชาวนา กองทุนพัฒนาสตรีและเปิดจุดให้บริการ Free Wi-fi ฟรีของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
ส่วนโครงการประชานิยมที่ได้ดำเนินการไปก่อนหน้าเริ่มออกอาการสร้างปัญหาให้กับรัฐบาลบ้างแล้ว ทั้งเรื่องโครงการรับจำนำข้าวที่ทำให้การส่งออกของไทยหลุดจากแชมป์ส่งออกข้าวลงมาอยู่ในอันดับ 3 รองจากอินเดียและเวียดนาม ตามมาด้วยภาระขาดทุนจากโครงการรับจำนำดังกล่าวเนื่องจากราคาที่รัฐบาลรับจำนำสูงกว่าราคาตลาด
สำหรับโครงการประชานิยมของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่เริ่มมีตัวเลขบ่งชี้ถึงผลกระทบที่ตามมา จากการบังคับใช้ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทใน 7 จังหวัดนำร่องเมื่อ 1 เมษายน 2555 และจะบังคับใช้ทั่วประเทศในวันที่ 1 มกราคม 2556 ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากฝ่ายนายจ้างที่เป็นการปรับครั้งเดียวสูงกว่า 40% จากค่าแรงขึ้นต่ำครั้งก่อน ขณะที่ฝ่ายผู้ใช้แรงงานต่างส่งเสียงเชียร์ให้บังคับใช้พร้อมกันทั้งประเทศ
ผลวิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่สำรวจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) หลังจากค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทมีผลบังคับใช้ใน 7 จังหวัด พบว่า ธุรกิจเอสเอ็มอี ส่วนใหญ่ยังรับมือได้ แต่รายเล็กมีแนวโน้มปิดกิจการกว่า 80,000-130,000 ราย และอีก 40,000-50,000 รายอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง
อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ส่งสัญญาณเตรียมย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านกลางปีหน้า หลังปรับขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ
ขณะเดียวกันด้านคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้แรงงาน 5,134 คน ใน 3 กรณีปัญหาหลัก ได้แก่ การไม่ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ การเปลี่ยนสภาพการจ้างงาน เช่น การปรับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่ง ลดสวัสดิการ ย้ายฐานการผลิต และการนำสวัสดิการมารวมกับค่าจ้าง
แรงงานถูกต้ม
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า หากประเมินผลของนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทของรัฐบาล ถือว่าไม่ประสบความสำเร็จเพราะไม่สามารถทำได้พร้อมกันทั้งประเทศ ทำได้เพียงแค่ 7 จังหวัด ที่เหลือต้องรอไปปีหน้า
ในส่วนของผู้ใช้แรงงานนั้นพอใจกับนโยบายดังกล่าว แต่เมื่อบังคับใช้แล้วรัฐไม่ได้เข้ามาดูแลว่ามีบริษัทใดปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ ทำให้เกิดปัญหาร้องเรียนตามมา
“เมื่อนโยบายนี้ออกมาสิ่งที่ได้ไปแล้วคือคะแนนเสียงจนมาเป็นรัฐบาล รัฐบาลลอยอยู่เหนือปัญหา ปล่อยให้เป็นเรื่องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างที่ต้องมาแก้ปัญหากันเอง พี่น้องแรงงานของเรามีความซื่อจึงเลือกเข้ามาให้เป็นรัฐบาล ถึงวันนี้ผู้ที่ใช้แรงงานโดนต้มไปแล้ว นี่เป็นเพียงแค่ 7 จังหวัด ในปีหน้าที่จะบังคับใช้อีก 70 จังหวัดก็จะเจอกับปัญหานี้เช่นเดียวกัน”
ประธาน คสรท.กล่าวต่อไปว่า นโยบายนี้ผิดพลาดมาตั้งแต่แรก ต้องประกาศออกไปเลยทั้งประเทศ ปัญหาทุกอย่างจะได้แก้ครั้งเดียว รัฐบาลมาแก้ที่ปลายเหตุมันได้ผลอะไร ที่ผ่านมาเหมือนไม่ได้มีการเตรียมการอย่างเป็นระบบ เพราะก่อนที่จะประกาศค่าแรงรัฐต้องวางแผนควบคุมราคาสินค้าไว้ก่อน จึงค่อยประกาศค่าจ้างขั้นต่ำ และต้องควบคุมนายจ้างไม่ให้บิดพลิ้ว
ตัวเลขที่สูงขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำดูดี แต่ค่าครองชีพที่พุ่งขึ้นทุกอย่าง อาจทำให้ค่าแรงที่ได้ไม่คุ้มกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ธุรกิจ SME ไปก่อน ปิดกิจการ ซึ่งเดิมธุรกิจประเภทนี้ก็ปิดๆ เปิดๆ ตามฤดูกาลอยู่แล้ว เมื่อมาเจอค่าแรง 300 บาทก็เป็นตัวเร่งให้ปิดกิจการง่ายขึ้น
ส่วนเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทนั้น รัฐไม่สามารถไปบังคับเอกชนได้ จึงนำไปใช้เฉพาะกับหน่วยงานราชการ ซึ่งก็ไม่สามารถทำได้เต็มที่ มีการเพิ่มค่าครองชีพให้เพื่อบวกรวมแล้วมีเงินเดือน 15,000 บาท ก็ไม่ต่างกับสิ่งที่นายจ้างภาคเอกชนกำลังทำอยู่กับเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท
SME ตาย รายใหญ่คุม
เช่นเดียวกับ ดร.ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า นโยบาย 300 บาท เป็นลบกับแรงงานไทย เพราะค่าครองชีพกับค่าแรง เมื่อหักลบกันแล้วอาจไม่ได้ประโยชน์เมื่อเทียบกับราคาสินค้าที่ปรับตัวขึ้นไป
ค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้นโดยไม่มีการเพิ่มทักษะในการทำงานให้กับผู้ใช้แรงงาน ย่อมไปเบียดกำไรของบริษัทให้ลดลง ในระยะยาวแล้วธุรกิจ SME จะหายไปเยอะ เจอนายจ้างกดค่าแรง จะเหลือแต่รายใหญ่ที่กลายมาเป็นคนคุมตลาดเองทั้งหมด
หนีซบเกษตร
สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
สำหรับจำนวนผู้มีงานทำเดือนมิถุนายน 2555 มีทั้งสิ้น 39.53 ล้านคน เพิ่มจาก 38.88 ล้านคน (มิ.ย. 54) ประกอบด้วยผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรม 16.35 ล้านคน และนอกภาคเกษตรกรรม 23.18 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2554 พบว่า มีจำนวนผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 5.2 แสนคน ส่วนนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 1.3 แสนคน
เมื่อแยกลงไปตามสาขาพบว่า สาขาโรงแรมและบริการด้านอาหารมีจำนวนแรงงานลดลงมากที่สุดคือ 4.5 แสนคน รองลงมาเป็นสาขาการศึกษา 1.1 แสนคน สาขากิจกรรมด้านการเงินและการประกันภัย 9 หมื่นคน และสาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ และรถจักรยานยนต์ 5 หมื่นคน
ว่างงานเพิ่ม 4 เดือนติด
สำหรับจำนวนของผู้ว่างงานในเดือนมิถุนายน 2555 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.67 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน 0.7% และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2554 มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 1.04 แสนคน จาก 1.63 แสนคน เป็น 2.67 แสนคน และเป็นการว่างงานที่เพิ่มขึ้นในช่วง 4 เดือนติดต่อกันในช่วงเวลาเดียวกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2555 จำนวนผู้ว่างงานลดลง 9.2 หมื่นคน จาก 3.59 แสนคน เป็น 2.67 แสนคน
ระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงานในเดือนมิถุนายน 2555 พบว่า ผู้ว่างงานที่สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีจำนวนมากที่สุด 1.09 แสนคน รองลงมาเป็น ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 6.5 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4.5 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 2.5 หมื่นคน และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 2.3 หมื่นคน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2554 พบว่าจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับอุดมศึกษา 5.7 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2.7 หมื่นคน ผู้ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 1.6 หมื่นคน และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 1.1 หมื่นคน ส่วนระดับประถมศึกษาลดลง 7 พันคน
ลดชั่วโมงทำงาน
เมื่อพิจารณาถึงชั่วโมงทำงานของผู้มีงานทำต่อสัปดาห์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 พบว่า ส่วนใหญ่ทำงานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ทำงานเต็มที่ในเรื่องชั่วโมงทำงาน มีจำนวน 33.10 ล้านคน หรือร้อยละ 83.7 ของผู้มีงานทำทั้งหมด และผู้ที่ทำงาน 1-34 ชั่วโมงมีจำนวน 6.15 ล้านคน หรือร้อยละ 15.6 สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์สำรวจ แต่เป็นผู้มีงานประจำซึ่งถือว่าในสัปดาห์สำรวจไม่มีชั่วโมงทำงาน มีจำนวน 2.84 แสนคน หรือร้อยละ 0.7
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าจำนวนผู้ที่ทำงานตั้งแต่ 1-34 ชั่วโมงเพิ่มขึ้น 8.0 แสนคน และผู้ที่ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์การสำรวจ เพิ่มขึ้น 1.0 แสนคน ส่วนผู้ที่ทำงานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไปลดลง 2.5 แสนคน
ปล่อยนายจ้างเชือด
นักวิชาการด้านแรงงานอีกรายกล่าวว่า ผลจากการปรับค่าแรงขึ้นต่ำ 300 บาท ทำให้โครงสร้างทางด้านแรงงานเปลี่ยนไป เห็นได้จากแรงงานภาคเกษตรเพิ่มขึ้นถึง 5.2 แสนคน ขณะที่แรงงานในภาคบริการอย่างโรงแรมหายไป 4.5 แสนคน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับตัวของนายจ้างเมื่อเปลี่ยนเงื่อนไขใหม่แล้วลูกจ้างไม่สามารถรับเงื่อนไขได้ก็ต้องย้ายกลับไปสู่ภาคเกษตร ซึ่งส่วนนี้จะไม่ได้ค่าแรง 300 บาท
อีกทั้งจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 4 เดือน ตั้งแต่มีนาคม-มิถุนายน 2555 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554
ที่น่าสนใจคือผู้ที่ทำงานมากกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เดือนมิถุนายน 2555 ลดลง 2.5 แสนคน และผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงเพิ่มขึ้นถึง 8 แสนคน สะท้อนถึงการปรับเปลี่ยนหรือลดการจ้างงานของนายจ้างลง
ปิดบริษัทพุ่ง
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ที่แสดงสถิติการจัดตั้งบริษัทใหม่ในช่วงที่นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทมีผลบังคับใช้ โดยในสิ้นเดือนเมษายนมีบริษัทตั้งใหม่ลดลง 21% เดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 1% และสิ้นเดือนมิถุนายนลดลง 11% ขณะที่บริษัทที่เลิกกิจการเดือนเมษายนเพิ่มขึ้น 41.81% เดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 39.31% แต่เดือนมิถุนายนลดลง 3.15%
เป็นที่น่าสังเกตว่าจำนวนบริษัทที่เลิกกิจการในเดือนมีนาคมก่อนที่จะบังคับใช้ค่าแรง 300 บาท มีบริษัทจดทะเบียนปิดกิจการไปเพิ่มจากเดือนเดียวกันของปี 2554 สูงถึง 104.66% และบริษัทที่ตั้งใหม่ก็ลดลงไป 5%
ขอแค่ชนะเลือกตั้ง
สำหรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ถือว่าเป็นนโยบายทางการเมืองที่พรรคเพื่อไทยนำออกมาใช้เพื่อเรียกคะแนนเสียงช่วงก่อนการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา เพราะก่อนหน้านี้พรรคคู่แข่งสำคัญอย่างประชาธิปัตย์ ได้ออกนโยบายด้านค่าแรงมาก่อน โดยชูการขึ้นค่าแรง 25% ภายใน 2 ปี แบ่งตามภาคของประเทศ จากนั้นทางเพื่อไทยจึงออกนโยบาย 300 บาทเพื่อมาสกัดคู่แข่ง
อย่างกรุงเทพมหานคร ทางประชาธิปัตย์จะเพิ่มค่าแรงจาก 215 บาทต่อวัน เป็น 267 บาท หรือเพิ่ม 52 บาทใน 2 ปี ส่วนในภาคเหนือและอีสานจาก 166-167 บาท เป็น 205-206 บาท เพิ่มขึ้น 39 บาท
แต่ของเพื่อไทยใช้ 300 บาทเหมือนกันทั้งประเทศ โดยเฉพาะฐานเสียงสำคัญของเพื่อไทยอยู่ที่ภาคเหนือและอีสาน เพราะค่าแรงดังกล่าวทำให้เป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่า 70-80% ขณะที่กรุงเทพฯ ปรับขึ้นแค่ 39.53% เท่านั้น ดังส่งผลให้พรรคเพื่อไทยได้รับการเลือกกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง
รัฐบาลเพื่อไทยยังคงเดินหน้าเปิดโครงการประชานิยมอย่างต่อเนื่อง ทั้งบัตรเครดิตชาวนา กองทุนพัฒนาสตรีและเปิดจุดให้บริการ Free Wi-fi ฟรีของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
ส่วนโครงการประชานิยมที่ได้ดำเนินการไปก่อนหน้าเริ่มออกอาการสร้างปัญหาให้กับรัฐบาลบ้างแล้ว ทั้งเรื่องโครงการรับจำนำข้าวที่ทำให้การส่งออกของไทยหลุดจากแชมป์ส่งออกข้าวลงมาอยู่ในอันดับ 3 รองจากอินเดียและเวียดนาม ตามมาด้วยภาระขาดทุนจากโครงการรับจำนำดังกล่าวเนื่องจากราคาที่รัฐบาลรับจำนำสูงกว่าราคาตลาด
สำหรับโครงการประชานิยมของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่เริ่มมีตัวเลขบ่งชี้ถึงผลกระทบที่ตามมา จากการบังคับใช้ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทใน 7 จังหวัดนำร่องเมื่อ 1 เมษายน 2555 และจะบังคับใช้ทั่วประเทศในวันที่ 1 มกราคม 2556 ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากฝ่ายนายจ้างที่เป็นการปรับครั้งเดียวสูงกว่า 40% จากค่าแรงขึ้นต่ำครั้งก่อน ขณะที่ฝ่ายผู้ใช้แรงงานต่างส่งเสียงเชียร์ให้บังคับใช้พร้อมกันทั้งประเทศ
ผลวิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่สำรวจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) หลังจากค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทมีผลบังคับใช้ใน 7 จังหวัด พบว่า ธุรกิจเอสเอ็มอี ส่วนใหญ่ยังรับมือได้ แต่รายเล็กมีแนวโน้มปิดกิจการกว่า 80,000-130,000 ราย และอีก 40,000-50,000 รายอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง
อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ส่งสัญญาณเตรียมย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านกลางปีหน้า หลังปรับขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ
ขณะเดียวกันด้านคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้แรงงาน 5,134 คน ใน 3 กรณีปัญหาหลัก ได้แก่ การไม่ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ การเปลี่ยนสภาพการจ้างงาน เช่น การปรับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่ง ลดสวัสดิการ ย้ายฐานการผลิต และการนำสวัสดิการมารวมกับค่าจ้าง
แรงงานถูกต้ม
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า หากประเมินผลของนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทของรัฐบาล ถือว่าไม่ประสบความสำเร็จเพราะไม่สามารถทำได้พร้อมกันทั้งประเทศ ทำได้เพียงแค่ 7 จังหวัด ที่เหลือต้องรอไปปีหน้า
ในส่วนของผู้ใช้แรงงานนั้นพอใจกับนโยบายดังกล่าว แต่เมื่อบังคับใช้แล้วรัฐไม่ได้เข้ามาดูแลว่ามีบริษัทใดปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ ทำให้เกิดปัญหาร้องเรียนตามมา
“เมื่อนโยบายนี้ออกมาสิ่งที่ได้ไปแล้วคือคะแนนเสียงจนมาเป็นรัฐบาล รัฐบาลลอยอยู่เหนือปัญหา ปล่อยให้เป็นเรื่องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างที่ต้องมาแก้ปัญหากันเอง พี่น้องแรงงานของเรามีความซื่อจึงเลือกเข้ามาให้เป็นรัฐบาล ถึงวันนี้ผู้ที่ใช้แรงงานโดนต้มไปแล้ว นี่เป็นเพียงแค่ 7 จังหวัด ในปีหน้าที่จะบังคับใช้อีก 70 จังหวัดก็จะเจอกับปัญหานี้เช่นเดียวกัน”
ประธาน คสรท.กล่าวต่อไปว่า นโยบายนี้ผิดพลาดมาตั้งแต่แรก ต้องประกาศออกไปเลยทั้งประเทศ ปัญหาทุกอย่างจะได้แก้ครั้งเดียว รัฐบาลมาแก้ที่ปลายเหตุมันได้ผลอะไร ที่ผ่านมาเหมือนไม่ได้มีการเตรียมการอย่างเป็นระบบ เพราะก่อนที่จะประกาศค่าแรงรัฐต้องวางแผนควบคุมราคาสินค้าไว้ก่อน จึงค่อยประกาศค่าจ้างขั้นต่ำ และต้องควบคุมนายจ้างไม่ให้บิดพลิ้ว
ตัวเลขที่สูงขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำดูดี แต่ค่าครองชีพที่พุ่งขึ้นทุกอย่าง อาจทำให้ค่าแรงที่ได้ไม่คุ้มกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ธุรกิจ SME ไปก่อน ปิดกิจการ ซึ่งเดิมธุรกิจประเภทนี้ก็ปิดๆ เปิดๆ ตามฤดูกาลอยู่แล้ว เมื่อมาเจอค่าแรง 300 บาทก็เป็นตัวเร่งให้ปิดกิจการง่ายขึ้น
ส่วนเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทนั้น รัฐไม่สามารถไปบังคับเอกชนได้ จึงนำไปใช้เฉพาะกับหน่วยงานราชการ ซึ่งก็ไม่สามารถทำได้เต็มที่ มีการเพิ่มค่าครองชีพให้เพื่อบวกรวมแล้วมีเงินเดือน 15,000 บาท ก็ไม่ต่างกับสิ่งที่นายจ้างภาคเอกชนกำลังทำอยู่กับเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท
SME ตาย รายใหญ่คุม
เช่นเดียวกับ ดร.ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า นโยบาย 300 บาท เป็นลบกับแรงงานไทย เพราะค่าครองชีพกับค่าแรง เมื่อหักลบกันแล้วอาจไม่ได้ประโยชน์เมื่อเทียบกับราคาสินค้าที่ปรับตัวขึ้นไป
ค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้นโดยไม่มีการเพิ่มทักษะในการทำงานให้กับผู้ใช้แรงงาน ย่อมไปเบียดกำไรของบริษัทให้ลดลง ในระยะยาวแล้วธุรกิจ SME จะหายไปเยอะ เจอนายจ้างกดค่าแรง จะเหลือแต่รายใหญ่ที่กลายมาเป็นคนคุมตลาดเองทั้งหมด
หนีซบเกษตร
สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
สำหรับจำนวนผู้มีงานทำเดือนมิถุนายน 2555 มีทั้งสิ้น 39.53 ล้านคน เพิ่มจาก 38.88 ล้านคน (มิ.ย. 54) ประกอบด้วยผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรม 16.35 ล้านคน และนอกภาคเกษตรกรรม 23.18 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2554 พบว่า มีจำนวนผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 5.2 แสนคน ส่วนนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 1.3 แสนคน
เมื่อแยกลงไปตามสาขาพบว่า สาขาโรงแรมและบริการด้านอาหารมีจำนวนแรงงานลดลงมากที่สุดคือ 4.5 แสนคน รองลงมาเป็นสาขาการศึกษา 1.1 แสนคน สาขากิจกรรมด้านการเงินและการประกันภัย 9 หมื่นคน และสาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ และรถจักรยานยนต์ 5 หมื่นคน
ว่างงานเพิ่ม 4 เดือนติด
สำหรับจำนวนของผู้ว่างงานในเดือนมิถุนายน 2555 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.67 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน 0.7% และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2554 มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 1.04 แสนคน จาก 1.63 แสนคน เป็น 2.67 แสนคน และเป็นการว่างงานที่เพิ่มขึ้นในช่วง 4 เดือนติดต่อกันในช่วงเวลาเดียวกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2555 จำนวนผู้ว่างงานลดลง 9.2 หมื่นคน จาก 3.59 แสนคน เป็น 2.67 แสนคน
ระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงานในเดือนมิถุนายน 2555 พบว่า ผู้ว่างงานที่สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีจำนวนมากที่สุด 1.09 แสนคน รองลงมาเป็น ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 6.5 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4.5 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 2.5 หมื่นคน และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 2.3 หมื่นคน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2554 พบว่าจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับอุดมศึกษา 5.7 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2.7 หมื่นคน ผู้ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 1.6 หมื่นคน และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 1.1 หมื่นคน ส่วนระดับประถมศึกษาลดลง 7 พันคน
ลดชั่วโมงทำงาน
เมื่อพิจารณาถึงชั่วโมงทำงานของผู้มีงานทำต่อสัปดาห์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 พบว่า ส่วนใหญ่ทำงานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ทำงานเต็มที่ในเรื่องชั่วโมงทำงาน มีจำนวน 33.10 ล้านคน หรือร้อยละ 83.7 ของผู้มีงานทำทั้งหมด และผู้ที่ทำงาน 1-34 ชั่วโมงมีจำนวน 6.15 ล้านคน หรือร้อยละ 15.6 สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์สำรวจ แต่เป็นผู้มีงานประจำซึ่งถือว่าในสัปดาห์สำรวจไม่มีชั่วโมงทำงาน มีจำนวน 2.84 แสนคน หรือร้อยละ 0.7
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าจำนวนผู้ที่ทำงานตั้งแต่ 1-34 ชั่วโมงเพิ่มขึ้น 8.0 แสนคน และผู้ที่ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์การสำรวจ เพิ่มขึ้น 1.0 แสนคน ส่วนผู้ที่ทำงานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไปลดลง 2.5 แสนคน
ปล่อยนายจ้างเชือด
นักวิชาการด้านแรงงานอีกรายกล่าวว่า ผลจากการปรับค่าแรงขึ้นต่ำ 300 บาท ทำให้โครงสร้างทางด้านแรงงานเปลี่ยนไป เห็นได้จากแรงงานภาคเกษตรเพิ่มขึ้นถึง 5.2 แสนคน ขณะที่แรงงานในภาคบริการอย่างโรงแรมหายไป 4.5 แสนคน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับตัวของนายจ้างเมื่อเปลี่ยนเงื่อนไขใหม่แล้วลูกจ้างไม่สามารถรับเงื่อนไขได้ก็ต้องย้ายกลับไปสู่ภาคเกษตร ซึ่งส่วนนี้จะไม่ได้ค่าแรง 300 บาท
อีกทั้งจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 4 เดือน ตั้งแต่มีนาคม-มิถุนายน 2555 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554
ที่น่าสนใจคือผู้ที่ทำงานมากกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เดือนมิถุนายน 2555 ลดลง 2.5 แสนคน และผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงเพิ่มขึ้นถึง 8 แสนคน สะท้อนถึงการปรับเปลี่ยนหรือลดการจ้างงานของนายจ้างลง
ปิดบริษัทพุ่ง
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ที่แสดงสถิติการจัดตั้งบริษัทใหม่ในช่วงที่นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทมีผลบังคับใช้ โดยในสิ้นเดือนเมษายนมีบริษัทตั้งใหม่ลดลง 21% เดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 1% และสิ้นเดือนมิถุนายนลดลง 11% ขณะที่บริษัทที่เลิกกิจการเดือนเมษายนเพิ่มขึ้น 41.81% เดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 39.31% แต่เดือนมิถุนายนลดลง 3.15%
เป็นที่น่าสังเกตว่าจำนวนบริษัทที่เลิกกิจการในเดือนมีนาคมก่อนที่จะบังคับใช้ค่าแรง 300 บาท มีบริษัทจดทะเบียนปิดกิจการไปเพิ่มจากเดือนเดียวกันของปี 2554 สูงถึง 104.66% และบริษัทที่ตั้งใหม่ก็ลดลงไป 5%
ขอแค่ชนะเลือกตั้ง
สำหรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ถือว่าเป็นนโยบายทางการเมืองที่พรรคเพื่อไทยนำออกมาใช้เพื่อเรียกคะแนนเสียงช่วงก่อนการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา เพราะก่อนหน้านี้พรรคคู่แข่งสำคัญอย่างประชาธิปัตย์ ได้ออกนโยบายด้านค่าแรงมาก่อน โดยชูการขึ้นค่าแรง 25% ภายใน 2 ปี แบ่งตามภาคของประเทศ จากนั้นทางเพื่อไทยจึงออกนโยบาย 300 บาทเพื่อมาสกัดคู่แข่ง
อย่างกรุงเทพมหานคร ทางประชาธิปัตย์จะเพิ่มค่าแรงจาก 215 บาทต่อวัน เป็น 267 บาท หรือเพิ่ม 52 บาทใน 2 ปี ส่วนในภาคเหนือและอีสานจาก 166-167 บาท เป็น 205-206 บาท เพิ่มขึ้น 39 บาท
แต่ของเพื่อไทยใช้ 300 บาทเหมือนกันทั้งประเทศ โดยเฉพาะฐานเสียงสำคัญของเพื่อไทยอยู่ที่ภาคเหนือและอีสาน เพราะค่าแรงดังกล่าวทำให้เป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่า 70-80% ขณะที่กรุงเทพฯ ปรับขึ้นแค่ 39.53% เท่านั้น ดังส่งผลให้พรรคเพื่อไทยได้รับการเลือกกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง