xs
xsm
sm
md
lg

ศ.ศ.ป.จัด “เทศกาลหัตถศิลป์ไทยฯ” ดันผลงานสู่ตลาดสากล

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ศ.ศ.ป.จัดงานเฉลิมพระเกียรติแม่แห่งศิลปาชีพ ผลักดันงานศิลปหัตกรรมไทยสู่ตลาดสากล เตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พร้อมมอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ 40 ครูช่าง จากทั่วประเทศ

วันนี้ (9 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นประธานเปิดงาน “เทศกาลหัตถศิลป์ไทย เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาราชินี” ซึ่งศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-13 สิงหาคม 2555 ระหว่างเวลา 10.00-18.00 น.ณ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555 ซึ่งพระองค์เปรียบดั่ง “แม่แห่งศิลปาชีพ” ควบคู่ไปกับการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวมุ่งสร้างความครึกครื้นให้กับ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีกทั้งจะเป็นการผลักดันและเพิ่มมูลค่าให้งานหัตศิลป์ไทย ส่งเสริมงานศิลปหัตกรรมไทย และต่อยอดสู่ผู้ประกอบการ ให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เจรจาธุรกิจ และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ ให้สมาชิกศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ รวมไปถึงการแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ไทย และความคิดสร้างสรรค์ภูมิปัญญาชาวบ้าน

โอกาสเดียวกันนี้ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี มอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติครูช่าง จำนวน 40 คน ประกอบด้วย 1.ครูสมคิด ด้วงเงิน เครื่องทองลงหิน กรุงเทพฯ 2.ครูอุทัย เจียรศิริ เครื่องถมเงิน-ถมทอง จ.นนทบุรี 3.ครูวิรัตน์ ปิ่นสุวรรณ เขียนลายเบญจรงค์ จ.สมุทรสงคราม 4.ครูบานเย็น สอนดี จักสานใบลาน จ.สระบุรี 5.ครูภารดี วงค์ศรีจันทร์ ผ้าด้นมือ จ.สุพรรณบุรี 6.ครูอำพัน ฉัตรเฉลิมวุฒิ จักสานเชือกกล้วย จ.ชุมพร 7.ครูศรี ลืมเนตร เครื่องปั้นดินเผา (เตาลุงศรี) จ.เชียงราย 8.ครูสมเดช พ่วงแผน ถ้วยชามสังคโลก จ.สุโขทัย 9.ครูอมลวรรณ เอี่ยมสำอางค์ ทอฝ้าย 100% จ.ประจวบคีรีขันธ์ 10.ครูประภาพรรณ ศรีตรัย ผ้าหม้อห้อม จ.แพร่

11.ครูสมจิตร บุรีนอก ผ้าไหม จ.มหาสารคาม 12.ครูตีพะลี อะตะบูกริช จ.ยะลา 13.ครูอุไร แตงเอี่ยม เครื่องเบญจรงค์ จ.สมุทรสาคร 14.ครูนฤมล ทองสิริอนันต์ จักสานเชือกมัดฟาง,จักสานกก, รังไหม จ.สระบุรี 15.ครูสลัด สุขขี จักสานเถาวัลย์แดง จ.ราชบุรี 16.ครูสมชัย ชำพาลี เครื่องดนตรีไทย กรุงเทพฯ 17.ครูบุปผา ล้วนวิลัย หัวโขน กรุงเทพฯ 18.ครูประนอม ทองประศาสน์ ผ้าไหม จ.ขอนแก่น 19.ครูจรวยพร เกิดเสม จักสานผักตบชวา จ.ชัยนาท 20.ครูบุญสม ศรีสุข มีดอรัญญิก จ.พระนครศรีอยุธยา

21.ครูพิทยา ศิลปศร เครื่องกระดาษ จ.เพชรบุรี 22.ครูณิศาชณ บุปผาสังข์ ออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่และผ้าลายขิด จ.หนองคาย 23.ครูลำดวน นันทะสุธา ผ้าขิด จ.หนองบัวลำภู 24.ครูยุทธ แสงหิ่งห้อย กลอง จ.อ่างทอง 25.ครูทิวารุ่ง กำหนดแน่ ผ้า จ.อุดรธานี 26.ครูนิพนธ์ ยอดคำปัน เครื่องทองโบราณ กรุงเทพฯ 27.ครูประคอง จันทะมาตย์ ผ้าไหมแพรวา จ.กาฬสินธุ์ 28.ครูมงคล ตั้งมงคลกิจการ เครื่องเงิน จ.กำแพงเพชร 29.ครูณิชาภัทร อัครอมรธรรม จักสานทองเหลือง จ.ฉะเชิงเทรา 30.ครูศศิธร มงคลเรืองฤทธิ์ เครื่องเขิน จ.เชียงใหม่

31.ครูพงษ์ลักษณ์ สุวรรณมาลี เครื่องเบญจรงค์ จ.นครปฐม 32.ครูวิเชียร เถาพันธุ์ ปิดทองประดับกระจก จ.เพชรบุรี 33.ครูศดานันท์ เนตรทิพย์ ผ้า จ.น่าน 34.ครูจรรยา เวชวินิส จักสานปอเฮ จ.พิจิตร 35.ครูธานินทร์ ชื่นใจ เครื่องรัก, จิตรกรรมไทย จ.เพชรบุรี 36.ครูพิสิษฐ์ เทพทอง ผ้าบาติก จ.ภูเก็ต 37.ครูละมัย โพธิ์ภาษิต ผ้าไหมมัดหมี่, ผ้าไหมยกดอก จ.ยโสธร 38.ครูสำรวย กลับทอง จักสานละเอียด จ.สิงห์บุรี 39.ครูขวัญ พลเหิม เครื่องเงินลายโบราณ จ.สุโขทัย และ 40.ครูนราภรณ์ เกิดผล ผ้าทอ จ.สุโขทัย

โดยในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน ณ หอเกียรติยศ (ห้องฉายภาพยนตร์) ภายในหอศิลปาชีพ ชั้น 1 อาคารศาลาพระมิ่งมงคล ศ.ศ.ป.ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การออกแบบนวัตศิลป์” โดย คุณไพโรจน์ ธีระประภา และคุณไพโรจน์ พิทยเมธี เรื่อง “การผลิตนวัตศิลป์” โดย คุณกรกต อารมณ์ดี และ เรื่อง “การตลาดสำหรับหัตถศิลป์ไทย” โดย อ.นริศ ธรรมเกื้อกูล นอกจากนี้ ภายในงานยังได้จัดประชุมนวัตศิลป์นานาชาติ ครั้งที่ 1 เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในงานนวัตศิลป์ทั้งในด้านวิชาการและด้านธุรกิจการค้า รวมถึงบทบาทการส่งเสริมงานศิลป์ของหน่วยงานส่งเสริมหลักของประเทศไทย กับประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียน+4 (อาเซียน ญี่ปุน เกาหลี จีน อินเดีย) เพื่อสนับสนุนการสร้างเครือข่ายและพันธมิตรทางการค้า และเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อันเป็นการแสดงถึงศักยภาพของ ศ.ศ.ป.ในการเป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศ หรือศูนย์กลางด้านองค์ความรู้ รวมถึงการจัดแสดงผลงานผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ของครูช่างทั้ง 40 ท่านจากทั่วประเทศ เพื่อนำเสนองานหัตถกรรมที่ได้ดำเนินการพัฒนาในปีที่มา ซึ่งจะเป็นการช่วยต่อยอดให้เกิดความนิยมทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ อันจะเป็นการช่วยสืบสานงานศิลปหัตถกรรมไทยให้คงอยู่สืบไป
กำลังโหลดความคิดเห็น