เล็งนำเด็กดีร่วมอบรมเป็น “ยุวตำรวจ” หวังช่วยเป็นสายส่งข่าวการก่อเหตุวิวาท “ศักดา” ระบุ เตรียมถอดบทเรียน หลังพบ สพฐ.ทำแล้วได้ผล ขณะที่ บช.น.เตรียมประสาน กทม.ติดกล้องซีซีทีวี ใน 130 จุดเสี่ยงเพิ่ม ยันจากนี้ตำรวจสามารถรับทราบ และส่งเจ้าหน้าที่ระงับเหตุได้ทันทีไม่ต้องไปขอดูกล้องจาก กทม.หรือสำนักงานเขต
วันนี้ (31 ก.ค.) เมื่อเวลา 15.00 น.ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานการประชุมการเฝ้าระวัง และป้องกันและปราบปรามนักเรียน นักศึกษาทะเลาะวิวาท โดยมี พ.ต.อ.วิสูตร อัครชัยเดช รองผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.ปทุมธานี,พ.ต.ท.สาโรจน์ พรหมเจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รองผบช.น.) พร้อมด้วยผู้กำกับสถานีตำรวจ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหาร สอศ.ผู้แทนองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ร่วมประชุมเพื่อติดตามข้อมูลการก่อเหตุและทบทวนมาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหา
นายศักดา เปิดเผยภายหลังการประชุม ว่า ได้เน้นย้ำร่วมกันถึงมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียน และนักศึกษาในทุกระดับการศึกษา โดยให้นำมาตรการต่างๆ ที่กำหนดไว้มาบูรณาการทำงาน เช่น การคัดกรองนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ รวมถึงส่วนที่จบออกไปแล้ววิทยาลัยก็ต้องประสานให้เจ้าหน้าที่ตำรวจรู้ข้อมูลเพื่อเฝ้าระวังด้วย นอกจากนี้ ทางรองผบช.น. แจ้งว่าขณะนี้ทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้วางแผนที่จะติดกล้องวงจรปิด หรือ ซีซีทีวี อีก 20,000 จุด เพื่อป้องกันการก่อเหตุอาชญากรรม เพราะฉะนั้น ทาง บช.น.จะได้ประสานแจ้งไปยัง กทม.เพื่อขอให้ไปติดกล้องซีซีทีวี ใน 130 จุดเสี่ยงที่อาจมีการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักศึกษาได้ เพื่อที่จะได้ติดตามเฝ้าระวัง และระงับหากมีการก่อเหตุได้ทัน ส่วนกรณีที่จะติดกล้องซีซีทีวีบนรถโดยสารประจำของ ขสมก.นั้น เนื่องจากได้รับแจ้งว่าขณะนี้ทาง ขสมก.ยังไม่มีงบประมาณในการจัดซื้อกล้องแต่กำลังจะดำเนินการของบประมาณโดยมีเป้าหมายจะติดกล้องบนรถโดยสารประจำทางในเส้นทางที่เสี่ยงต่อการก่อเหตุ
“ได้มีการนำเสนอให้นำนักศึกษาที่มีความประพฤติดีเข้ามาร่วมอบรมเป็น “ยุวตำรวจ” ซึ่งเจ้าหน้าที่ของแต่ละสถานีจะเป็นผู้ดำเนินการอบรมเอง เพื่อที่จะให้นักศึกษาช่วยเป็นกระบอกเสียง หรือช่วยแจ้งข่าวหากทราบความเคลื่อนไหว ว่า เพื่อนนักศึกษาจะมีการก่อเหตุด้วย นอกจากนี้ มีข้อเสนอแนะให้จัดทำสารคดีเชิงจิตวิทยา สะท้อนชีวิตของนักเรียนที่หลงผิดก่อเหตุจนต้องติดคุกเพื่อนำตัวอย่างเหล่านั้นมาถ่ายทอดให้นักศึกษาที่กำลังคิดจะเดินเส้นทางเหล่านี้เกิดความกลัวต่อการทำผิด” รมช.ศึกษาธิการ กล่าว
ถามว่า การนำเด็กดีมาเป็นยุวตำรวจ ได้มีการเตรียมมาตรการที่ป้องกันเด็กที่จะมาร่วมหรือไม่ นายศักดา กล่าวว่า โครงการยุวตำรวจ นั้นมีบทเรียนที่ดีมาจากที่ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทำร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและดำเนินการมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว เพราฉะนั้น ทาง สอศ.และผู้เกี่ยวข้องจะถอดบทเรียนของการดำเนินงานที่ผ่านมา และวางแผนที่จะดำเนินการว่าควรจะใช้วิธีใดเพื่อที่ให้นักเรียน นักศึกษาที่จะมาร่วมเป็นยุวตำรวจนั้นไม่ได้รับผลกระทบ และไม่เกิดอันตราย
ด้านพ.ต.ท.สาโรจน์ กล่าวว่า ที่ผ่านมานั้น สถานีตำรวจไม่สามารถดูเหตุการณ์จากกล้องซีซีทีวีของ กทม.ได้หากจะดูต้องไปขอดูที่ศาลาว่าการ กทม.หรือสำนักงานเขตนั้นๆ แต่ขณะนี้ทาง กทม.ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการติดกล้องซีซีทีวี ที่สถานีตำรวจซึ่งทำให้ต่อไปนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้ติดตามเฝ้าระวังการก่อเหตุและสามารถรับทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และสั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุได้ทันท่วงที หากเกิดการทะเลาะวิวาท หรือเหตุอื่นๆ ขึ้น
วันนี้ (31 ก.ค.) เมื่อเวลา 15.00 น.ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานการประชุมการเฝ้าระวัง และป้องกันและปราบปรามนักเรียน นักศึกษาทะเลาะวิวาท โดยมี พ.ต.อ.วิสูตร อัครชัยเดช รองผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.ปทุมธานี,พ.ต.ท.สาโรจน์ พรหมเจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รองผบช.น.) พร้อมด้วยผู้กำกับสถานีตำรวจ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหาร สอศ.ผู้แทนองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ร่วมประชุมเพื่อติดตามข้อมูลการก่อเหตุและทบทวนมาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหา
นายศักดา เปิดเผยภายหลังการประชุม ว่า ได้เน้นย้ำร่วมกันถึงมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียน และนักศึกษาในทุกระดับการศึกษา โดยให้นำมาตรการต่างๆ ที่กำหนดไว้มาบูรณาการทำงาน เช่น การคัดกรองนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ รวมถึงส่วนที่จบออกไปแล้ววิทยาลัยก็ต้องประสานให้เจ้าหน้าที่ตำรวจรู้ข้อมูลเพื่อเฝ้าระวังด้วย นอกจากนี้ ทางรองผบช.น. แจ้งว่าขณะนี้ทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้วางแผนที่จะติดกล้องวงจรปิด หรือ ซีซีทีวี อีก 20,000 จุด เพื่อป้องกันการก่อเหตุอาชญากรรม เพราะฉะนั้น ทาง บช.น.จะได้ประสานแจ้งไปยัง กทม.เพื่อขอให้ไปติดกล้องซีซีทีวี ใน 130 จุดเสี่ยงที่อาจมีการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักศึกษาได้ เพื่อที่จะได้ติดตามเฝ้าระวัง และระงับหากมีการก่อเหตุได้ทัน ส่วนกรณีที่จะติดกล้องซีซีทีวีบนรถโดยสารประจำของ ขสมก.นั้น เนื่องจากได้รับแจ้งว่าขณะนี้ทาง ขสมก.ยังไม่มีงบประมาณในการจัดซื้อกล้องแต่กำลังจะดำเนินการของบประมาณโดยมีเป้าหมายจะติดกล้องบนรถโดยสารประจำทางในเส้นทางที่เสี่ยงต่อการก่อเหตุ
“ได้มีการนำเสนอให้นำนักศึกษาที่มีความประพฤติดีเข้ามาร่วมอบรมเป็น “ยุวตำรวจ” ซึ่งเจ้าหน้าที่ของแต่ละสถานีจะเป็นผู้ดำเนินการอบรมเอง เพื่อที่จะให้นักศึกษาช่วยเป็นกระบอกเสียง หรือช่วยแจ้งข่าวหากทราบความเคลื่อนไหว ว่า เพื่อนนักศึกษาจะมีการก่อเหตุด้วย นอกจากนี้ มีข้อเสนอแนะให้จัดทำสารคดีเชิงจิตวิทยา สะท้อนชีวิตของนักเรียนที่หลงผิดก่อเหตุจนต้องติดคุกเพื่อนำตัวอย่างเหล่านั้นมาถ่ายทอดให้นักศึกษาที่กำลังคิดจะเดินเส้นทางเหล่านี้เกิดความกลัวต่อการทำผิด” รมช.ศึกษาธิการ กล่าว
ถามว่า การนำเด็กดีมาเป็นยุวตำรวจ ได้มีการเตรียมมาตรการที่ป้องกันเด็กที่จะมาร่วมหรือไม่ นายศักดา กล่าวว่า โครงการยุวตำรวจ นั้นมีบทเรียนที่ดีมาจากที่ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทำร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและดำเนินการมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว เพราฉะนั้น ทาง สอศ.และผู้เกี่ยวข้องจะถอดบทเรียนของการดำเนินงานที่ผ่านมา และวางแผนที่จะดำเนินการว่าควรจะใช้วิธีใดเพื่อที่ให้นักเรียน นักศึกษาที่จะมาร่วมเป็นยุวตำรวจนั้นไม่ได้รับผลกระทบ และไม่เกิดอันตราย
ด้านพ.ต.ท.สาโรจน์ กล่าวว่า ที่ผ่านมานั้น สถานีตำรวจไม่สามารถดูเหตุการณ์จากกล้องซีซีทีวีของ กทม.ได้หากจะดูต้องไปขอดูที่ศาลาว่าการ กทม.หรือสำนักงานเขตนั้นๆ แต่ขณะนี้ทาง กทม.ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการติดกล้องซีซีทีวี ที่สถานีตำรวจซึ่งทำให้ต่อไปนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้ติดตามเฝ้าระวังการก่อเหตุและสามารถรับทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และสั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุได้ทันท่วงที หากเกิดการทะเลาะวิวาท หรือเหตุอื่นๆ ขึ้น