ถกมาตรการป้องกันเด็กก่อเหตุวิวาท เล็งนำเด็กดีร่วมอบรมเป็น “ยุวตำรวจ” หวังช่วยเป็นสายส่งข่าวการก่อเหตุวิวาท ด้าน บช.น.เตรียมประสาน กทม.ติดกล้องซีซีทีวี ใน 130 จุดเสี่ยงเพิ่ม ยันจากนี้ตำรวจสามารถรับทราบและส่งเจ้าหน้าที่ระงับเหตุได้ทันทีไม่ต้องไปขอดูกล้องจาก กทม.หรือสำนักงานเขต
วานนี้ (31 ก.ค.) เมื่อเวลา 15.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานการประชุมการเฝ้าระวังและป้องกันและปราบปรามนักเรียน นักศึกษาทะเลาะวิวาท โดยมี พ.ต.อ.วิสูตร อัครชัยเดช รองผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.ปทุมธานี ,พ.ต.ท.สาโรจน์ พรหมเจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รองผบช.น.) พร้อมด้วยผู้กำกับสถานีตำรวจ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหาร สอศ. ผู้แทนองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ร่วมประชุมเพื่อติดตามข้อมูลการก่อเหตุและทบทวนมาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหา
นายศักดา เปิดเผยภายหลังการประชุม ว่า ได้เน้นย้ำร่วมกันถึงมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียน และนักศึกษาในทุกระดับการศึกษา โดยให้นำมาตรการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้มาบูรณาการทำงาน นอกจากนี้ ทางรองผบช.น. แจ้งว่าขณะนี้ทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้วางแผนที่จะติดกล้องวงจรปิด หรือ ซีซีทีวี อีก 20,000 จุดเพื่อป้องกันการก่อเหตุอาชญากรรม เพราะฉะนั้นทาง บช.น.จะได้ประสานแจ้งไปยัง กทม.เพื่อขอให้ไปติดกล้องซีซีทีวี ใน 130 จุดเสี่ยงที่อาจมีการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักศึกษาได้ เพื่อที่จะได้ติดตามเฝ้าระวังและระงับหากมีการก่อเหตุได้ทัน
“ได้มีการนำเสนอให้นำนักศึกษาที่มีความประพฤติดีเข้ามาร่วมอบรมเป็น “ยุวตำรวจ” ซึ่งเจ้าหน้าที่ของแต่ละสถานีจะเป็นผู้ดำเนินการอบรมเอง เพื่อที่จะให้นักศึกษาช่วยเป็นกระบอกเสียง หรือช่วยแจ้งข่าวหากทราบความเคลื่อนไหวว่าเพื่อนนักศึกษาจะมีการก่อเหตุด้วย นอกจากนี้ มีข้อเสนอแนะให้จัดทำสารคดีเชิงจิตวิทยา สะท้อนชีวิตของนักเรียนที่หลงผิดก่อเหตุจนต้องติดคุกเพื่อนำตัวอย่างเหล่านั้นมาถ่ายทอดให้นักศึกษาที่กำลังคิดจะเดินเส้นทางเหล่านี้เกิดความกลัวต่อการทำผิด”รมช.ศึกษาธิการ กล่าว
ถามว่า การนำเด็กดีมาเป็นยุวตำรวจ ได้มีการเตรียมมาตรการที่ป้องกันเด็กที่จะมาร่วมหรือไม่ นายศักดา กล่าวว่า โครงการยุวตำรวจ นั้นมีบทเรียนที่ดีมาจากที่ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทำร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและดำเนินการมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว เพราฉะนั้น ทาง สอศ.และผู้เกี่ยวข้องจะถอดบทเรียนของการดำเนินงานที่ผ่านมาและวางแผนที่จะดำเนินการว่าควรจะใช้วิธีใดเพื่อที่ให้นักเรียน นักศึกษาที่จะมาร่วมเป็นยุวตำรวจนั้นไม่ได้รับผลกระทบ และไม่เกิดอันตราย
ด้าน พ.ต.ท.สาโรจน์ กล่าวว่า ที่ผ่านมานั้นสถานีตำรวจไม่สามารถดูเหตุการณ์จากกล้องซีซีทีวีของ กทม.ได้หากจะดูต้องไปขอดูที่ศาลาว่าการ กทม.หรือสำนักงานเขตนั้น ๆ แต่ขณะนี้ทาง กทม.ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการติดกล้องซีซีทีวี ที่สถานีตำรวจซึ่งทำให้ต่อไปนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้ติดตามเฝ้าระวังการก่อเหตุและ สามารถรับทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุได้ทันท่วงที หากเกิดการทะเลาะวิวาท หรือเหตุอื่น ๆ ขึ้น
ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) พร้อมด้วย นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. ลงพื้นที่ตรวจจุดเสี่ยงการทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษา บริเวณพื้นที่เขตคลองเตย ภายหลังจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ได้แจ้งจุดที่นักเรียน นักศึกษา ก่อเหตุทะเลาะวิวาทกันบ่อยครั้ง จำนวน 123 จุด ซึ่งจากการลงพื้นที่ได้สั่งการให้สำนักการจราจรและขนส่ง เร่งรัดติดตั้งกล้อง CCTV ในจุดที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากปัจจุบันกล้อง CCTV ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องปรามและยังใช้ติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุ
นอกจากนี้กทม.ยังได้ร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) และมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย หรือ Intelligent Traffic Information Center (iTIC) ในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลกล้อง CCTV ในด้านการจราจร ซึ่งภายในเดือน ก.ย. 2555 กทม.จะลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ระบบข่าวสารการจราจรผ่านทาง Smart Phone กับ iTIC เพื่อให้บริการข้อมูลด้านการจราจรแก่ประชาชนชาวกรุงเทพฯต่อไป
วานนี้ (31 ก.ค.) เมื่อเวลา 15.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานการประชุมการเฝ้าระวังและป้องกันและปราบปรามนักเรียน นักศึกษาทะเลาะวิวาท โดยมี พ.ต.อ.วิสูตร อัครชัยเดช รองผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.ปทุมธานี ,พ.ต.ท.สาโรจน์ พรหมเจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รองผบช.น.) พร้อมด้วยผู้กำกับสถานีตำรวจ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหาร สอศ. ผู้แทนองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ร่วมประชุมเพื่อติดตามข้อมูลการก่อเหตุและทบทวนมาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหา
นายศักดา เปิดเผยภายหลังการประชุม ว่า ได้เน้นย้ำร่วมกันถึงมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียน และนักศึกษาในทุกระดับการศึกษา โดยให้นำมาตรการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้มาบูรณาการทำงาน นอกจากนี้ ทางรองผบช.น. แจ้งว่าขณะนี้ทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้วางแผนที่จะติดกล้องวงจรปิด หรือ ซีซีทีวี อีก 20,000 จุดเพื่อป้องกันการก่อเหตุอาชญากรรม เพราะฉะนั้นทาง บช.น.จะได้ประสานแจ้งไปยัง กทม.เพื่อขอให้ไปติดกล้องซีซีทีวี ใน 130 จุดเสี่ยงที่อาจมีการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักศึกษาได้ เพื่อที่จะได้ติดตามเฝ้าระวังและระงับหากมีการก่อเหตุได้ทัน
“ได้มีการนำเสนอให้นำนักศึกษาที่มีความประพฤติดีเข้ามาร่วมอบรมเป็น “ยุวตำรวจ” ซึ่งเจ้าหน้าที่ของแต่ละสถานีจะเป็นผู้ดำเนินการอบรมเอง เพื่อที่จะให้นักศึกษาช่วยเป็นกระบอกเสียง หรือช่วยแจ้งข่าวหากทราบความเคลื่อนไหวว่าเพื่อนนักศึกษาจะมีการก่อเหตุด้วย นอกจากนี้ มีข้อเสนอแนะให้จัดทำสารคดีเชิงจิตวิทยา สะท้อนชีวิตของนักเรียนที่หลงผิดก่อเหตุจนต้องติดคุกเพื่อนำตัวอย่างเหล่านั้นมาถ่ายทอดให้นักศึกษาที่กำลังคิดจะเดินเส้นทางเหล่านี้เกิดความกลัวต่อการทำผิด”รมช.ศึกษาธิการ กล่าว
ถามว่า การนำเด็กดีมาเป็นยุวตำรวจ ได้มีการเตรียมมาตรการที่ป้องกันเด็กที่จะมาร่วมหรือไม่ นายศักดา กล่าวว่า โครงการยุวตำรวจ นั้นมีบทเรียนที่ดีมาจากที่ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทำร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและดำเนินการมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว เพราฉะนั้น ทาง สอศ.และผู้เกี่ยวข้องจะถอดบทเรียนของการดำเนินงานที่ผ่านมาและวางแผนที่จะดำเนินการว่าควรจะใช้วิธีใดเพื่อที่ให้นักเรียน นักศึกษาที่จะมาร่วมเป็นยุวตำรวจนั้นไม่ได้รับผลกระทบ และไม่เกิดอันตราย
ด้าน พ.ต.ท.สาโรจน์ กล่าวว่า ที่ผ่านมานั้นสถานีตำรวจไม่สามารถดูเหตุการณ์จากกล้องซีซีทีวีของ กทม.ได้หากจะดูต้องไปขอดูที่ศาลาว่าการ กทม.หรือสำนักงานเขตนั้น ๆ แต่ขณะนี้ทาง กทม.ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการติดกล้องซีซีทีวี ที่สถานีตำรวจซึ่งทำให้ต่อไปนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้ติดตามเฝ้าระวังการก่อเหตุและ สามารถรับทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุได้ทันท่วงที หากเกิดการทะเลาะวิวาท หรือเหตุอื่น ๆ ขึ้น
ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) พร้อมด้วย นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. ลงพื้นที่ตรวจจุดเสี่ยงการทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษา บริเวณพื้นที่เขตคลองเตย ภายหลังจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ได้แจ้งจุดที่นักเรียน นักศึกษา ก่อเหตุทะเลาะวิวาทกันบ่อยครั้ง จำนวน 123 จุด ซึ่งจากการลงพื้นที่ได้สั่งการให้สำนักการจราจรและขนส่ง เร่งรัดติดตั้งกล้อง CCTV ในจุดที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากปัจจุบันกล้อง CCTV ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องปรามและยังใช้ติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุ
นอกจากนี้กทม.ยังได้ร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) และมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย หรือ Intelligent Traffic Information Center (iTIC) ในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลกล้อง CCTV ในด้านการจราจร ซึ่งภายในเดือน ก.ย. 2555 กทม.จะลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ระบบข่าวสารการจราจรผ่านทาง Smart Phone กับ iTIC เพื่อให้บริการข้อมูลด้านการจราจรแก่ประชาชนชาวกรุงเทพฯต่อไป