กทม.ทำหนังสือแจงสัญญาจ้างบีทีเอสให้ มท.อีกรอบ หลังดีเอสไอเปลี่ยนถามระบบรางแทน แฉ “รฟม.” ใช้เงินสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงสูงกว่าราคากลางหมื่นล้าน จี้ “จิรายุ” ร้องดีเอสไอ และ ป.ป.ช.ตรวจสอบ
วันนี้ (16 ก.ค.) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายอัศวัชร์ อภัยวงศ์ ที่ปรึกษา นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า กทม.ทราบมาว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ได้ทำหนังสือไปยังกระทรวงมหาดไทยอีกครั้ง เพื่อสอบถามเกี่ยวกับอำนาจในการประกอบกิจการรถรางของ กทม.ซึ่งเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ได้ทำหนังสือตอบกลับไปยังกระทรวงมหาดไทย เพื่อชี้แจงและยืนยันอีกครั้ง ว่า กทม.มีอำนาจตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และ พ.ร.บ.บริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 พร้อมทั้งได้ยื่นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาอีก 3 ฉบับ ประกอบการชี้แจงว่า กทม.มีอำนาจในการดำเนินกิจการแน่นอน เพื่อตอบคำถามให้กระทรวงมหาดไทยล่วงหน้าไปแล้ว
นายอัศวัชร์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ตนทราบมาว่าราคาในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงเส้นทางบางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดูแล สูงกว่าราคากลางที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) กำหนดไว้ กว่า 1 หมื่นล้านบาท ขณะที่ราคาการทำสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าของ กทม.กับบริษัทขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด มหาชน หรือ บีทีเอสซี ต่ำกว่า 9,400 ล้าน จึงอยากเรียกร้องให้ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กทม.พรรคเพื่อไทย ตรวจสอบกรณีนี้ด้วย โดยยื่นให้ดีเอสไอ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งในฐานะที่เป็น ส.ส.ก็ควรตรวจสอบทุกหน่วยงาน ไม่ใช่แค่คิดตรวจสอบพรรคการเมืองคู่แข่งเพียงอย่างเดียว
วันนี้ (16 ก.ค.) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายอัศวัชร์ อภัยวงศ์ ที่ปรึกษา นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า กทม.ทราบมาว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ได้ทำหนังสือไปยังกระทรวงมหาดไทยอีกครั้ง เพื่อสอบถามเกี่ยวกับอำนาจในการประกอบกิจการรถรางของ กทม.ซึ่งเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ได้ทำหนังสือตอบกลับไปยังกระทรวงมหาดไทย เพื่อชี้แจงและยืนยันอีกครั้ง ว่า กทม.มีอำนาจตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และ พ.ร.บ.บริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 พร้อมทั้งได้ยื่นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาอีก 3 ฉบับ ประกอบการชี้แจงว่า กทม.มีอำนาจในการดำเนินกิจการแน่นอน เพื่อตอบคำถามให้กระทรวงมหาดไทยล่วงหน้าไปแล้ว
นายอัศวัชร์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ตนทราบมาว่าราคาในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงเส้นทางบางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดูแล สูงกว่าราคากลางที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) กำหนดไว้ กว่า 1 หมื่นล้านบาท ขณะที่ราคาการทำสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าของ กทม.กับบริษัทขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด มหาชน หรือ บีทีเอสซี ต่ำกว่า 9,400 ล้าน จึงอยากเรียกร้องให้ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กทม.พรรคเพื่อไทย ตรวจสอบกรณีนี้ด้วย โดยยื่นให้ดีเอสไอ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งในฐานะที่เป็น ส.ส.ก็ควรตรวจสอบทุกหน่วยงาน ไม่ใช่แค่คิดตรวจสอบพรรคการเมืองคู่แข่งเพียงอย่างเดียว